แนะแบงก์ชาติ ซื้อบอนด์ อสังหาฯ
วันที่ : 2 เมษายน 2568
เอกชนแนะแบงก์ชาติทำ QE รับซื้อบอนด์อสังหาฯชั่วคราวเสริมสภาพคล่องทางการเงิน สกัดปัญหาก่อนลามเข้าตลาดเงิน ตลาดทุนเตือนรับมือไม่ดีอาจก่อวิกฤตอสังหาริมทรัพย์จับประชุมกนง. 30 เม.ย.
ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินและตลาดทุนที่ยังอยู่ในระดับสูง นอกเหนือจากความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์และแนวโน้มที่จะเผชิญกับความไม่แน่นอนจากนโยบายของสหรัฐอเมริกา (Trump's Uncertainty) แล้ว เหตุการณ์แผ่นดินไหว ยังกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงใหม่ล่าสุดที่เข้ามาซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ตลาดประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพื่อลดแรงกดดันต่อเศรษฐกิจ ด้วยการเดินหน้า ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (R/P) ในการประชุมครั้งที่ 2 ของปีวันที่ 30 เมษายนนี้
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ส่วนตัวมองว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจน้อย ไม่ถึง 0.2% เพราะเหตุเกิดเฉพาะบางจุด ขณะที่ความความเสียหายในเชิงตัวเลขไม่น่าจะสูงมาก (ถ้าไม่นับตึกสตง.) แต่ Sentiment ที่หายไปจะมีผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม
โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแต่ละช่วงเวลา ภาคอสังหาฯ จะมีปัญหาที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว พอเกิดเหตุแผ่นดินไหวอสังหาฯ จึงเป็นภาคธุรกิจที่มุมมองของตลาดเปลี่ยนพร้อมกัน เช่น ตอนน้ำท่วมคนจะซื้อคอนโดฯ แทนที่จะซื้อบ้านเดี่ยว รอบนี้พอเกิดเหตุแผ่นดินไหวคนจะไปซื้ออย่างอื่น โดยจะชะลอซื้อหรือเช่าคอนโดฯ
"ตอนนี้ผู้ประกอบการแนวสูง มีปัญหาสภาพคล่อง แนวโน้มต้องออกบอนด์ แต่ส่วนตัวกังวลว่า ถ้าไม่มีคนซื้อ แม้บริษัทรายเดียวที่ออกบอนด์แล้วขายไม่ได้ ทำให้แนวโน้มกลุ่มอสังหาฯ จะออกบอนด์ไม่ได้ แม้ผลตอบแทนจะสูงก็ตาม ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัญหาสำคัญของตลาดเงินตลาดทุน ซึ่งต้องหาวิธีรับมือความเสี่ยงนี้ให้ถูกต้อง เพราะถ้ารับมือไม่ดี จะกลายเป็นวิกฤตอสังหาได้"
ถามว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยอะไร ในหลักการคงไม่ช่วย เพราะผู้ประกอบการแนวสูงยังกู้ไม่ได้ เพราะปัญหาอยู่ที่ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการ ซึ่งตลาดมองเป็นศูนย์ แต่กนง.สามารถใช้ปัจจัยนี้เป็นเหตุผลในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ แม้ผลกระทบเศรษฐกิจไม่มาก แต่การลดดอกเบี้ยจะช่วยด้านจิตวิทยา ประเด็นอยู่ที่จะปรับลดในอัตรา 0.25% หรือ 0.50% เพราะแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีความรุนแรงกว่าครั้งที่แล้ว ที่กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25%
นอกจากปรับลดดอกเบี้ยแล้ว ยังไม่จบ นโยบายที่ถูกต้อง ยังมองว่าแบงก์ชาติช่วยผู้ประกอบการอสังหา โดยสามารถทำเหมือน QE เพื่อซื้อบอนด์อสังหาฯเหล่านั้นไปชั่วคราว ซึ่งผู้ประกอบการแนวสูงมีไม่กี่ราย แต่เป็นการสกัดปัญหาที่จะเกิดตามมาในอนาคตคือแม้ในรายที่ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวก็เปิดให้ อย่างน้อยออกบอนด์พิเศษอายุ 5ปีและแบงก์ชาติรับซื้อไว้ชั่วคราว แต่ผู้ประกอบการก็ต้องรับต้นทุน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิด 100 ปีต่อครั้ง แต่กว่าคนจะลืมยังต้องใช้เวลา
"หากไม่ทำอะไรเลย น่าจะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 เป็นต้นไป โดยเศรษฐกิจอาจจะซึม ปัญหาเมียนมาเกิดจากแผ่นดินไหว แต่ปัญหาของไทยอยู่ที่อาฟเตอร์ช็อก เป็นความกลัว เป็นเศรษฐกิจอาฟเตอร์ช็อก"
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยกล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวไม่น่าจะเป็นปัจจัยช็อกทางเศรษฐกิจที่รุนแรงพอที่จะทำให้กนง.ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 30 เมษายน เพราะมองว่า ผลกระทบไม่รุนแรงและเป็นผลกระทบระยะสั้น ยกเว้นถ้าเห็นผลกระทบรุนแรงจริง ไม่ต้องรอ 30 เม.ย.สามารถประชุมฉุกเฉิน เพื่อลดดอกเบี้ย หรือขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยได้ แต่สิ่งที่ธปท.เลือกทำและทำได้ดีมากและเร็วมากคือ การดูแลธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบเฉพาะกลุ่มแล้ว
"ตอนนี้เราอยู่ในขั้นแก้ปัญหา เฉพาะกลุ่มก่อน แล้วมาประเมินสถานการณ์ว่า ขยายวงกว้าง/ขยายความรุนแรง? โดยประเมินผลกระทบทั้งการท่องเที่ยว อสังหาฯ และความเชื่อมั่น ซึ่งวันนี้สิ่งที่เราดูสถานการณ์ไม่น่าจะเกิดอาฟเตอร์ช็อก กระทบทางเศรษฐกิจรุนแรงระยะสั้น โดยภาพรวมจะฟื้นตัวด้วยตัวเอง อย่างภาคท่องเที่ยวอาจจะใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ความเชื่อมั่นที่จะกลับมา ส่วนตลาดอสังหาฯนั้น ไม่มีดีอยู่แล้ว ซึ่งผลกระทบทางเศรษฐกิจผมให้น้ำหนักผลกระทบเทรดวอร์มากกว่าแผ่นดินไหว"
ทั้งนี้ หากมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลทรัมป์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย ภาคการผลิต การจ้างงาน การบริโภค น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ซึ่งต้องรอประเมินผลก่อน เพราะยังไม่ประกาศหรืออาจจะเลื่อนหรืออาจจะขึ้นภาษีในบางสินค้า อาจจะไม่มีความรุนแรงอย่างที่คาด แต่เชื่อว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยต่อ น่าจะหลังประเมินผลกระทบจากเทรดวอร์ ซึ่งอยู่ในช่วงไตรมาส2 และตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกที่สภาพัฒน์จะรายงานวันที่ 19 พฤษภาคม 2568
ทั้งนี้ ซีไอเอ็มบีไทยประเมินเศรษฐกิจไตรมาสแรก จะเติบโตประมาณ 3.1%YoY แต่หลังจากฟังธปท.รายงานเศรษฐกิจรายเดือนก็เริ่มไม่มั่นใจแล้ว เพราะเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวที่แผ่วไป ดังนั้นอาจจะเกิดการลดดอกเบี้ยเดือนมิ.ย.มากกว่า แต่ช่วงนี้ใช้มาตรการที่จะใช้แก้ให้ตรงจุด ซึ่งทางการการเงินดำเนินการไปแล้ว โดยการยืดหนี้ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ
ส่วนมาตรกรทงการคลังถ้าภาคก่อสร้างมีปัญหาต้องเติมเต็มในการลงทุนภาครัฐ ซึ่งมีงบประมาณอยู่แล้ว/จัดสรรงบประมาณเน้นการลงทุนสร้างความเชื่อมั่น (ไม่ใช่แจกเงินอย่างเดียว) ซึ่งน่าจะเห็นมาตรการดังกล่าว
ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟินันเซียไซรัส จำกัด (มหาชน)เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ส่วนตัวมองว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวกระทบต่อตัวเลขเศรษฐกิจน้อย ไม่ถึง 0.2% เพราะเหตุเกิดเฉพาะบางจุด ขณะที่ความความเสียหายในเชิงตัวเลขไม่น่าจะสูงมาก (ถ้าไม่นับตึกสตง.) แต่ Sentiment ที่หายไปจะมีผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม
โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแต่ละช่วงเวลา ภาคอสังหาฯ จะมีปัญหาที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว พอเกิดเหตุแผ่นดินไหวอสังหาฯ จึงเป็นภาคธุรกิจที่มุมมองของตลาดเปลี่ยนพร้อมกัน เช่น ตอนน้ำท่วมคนจะซื้อคอนโดฯ แทนที่จะซื้อบ้านเดี่ยว รอบนี้พอเกิดเหตุแผ่นดินไหวคนจะไปซื้ออย่างอื่น โดยจะชะลอซื้อหรือเช่าคอนโดฯ
"ตอนนี้ผู้ประกอบการแนวสูง มีปัญหาสภาพคล่อง แนวโน้มต้องออกบอนด์ แต่ส่วนตัวกังวลว่า ถ้าไม่มีคนซื้อ แม้บริษัทรายเดียวที่ออกบอนด์แล้วขายไม่ได้ ทำให้แนวโน้มกลุ่มอสังหาฯ จะออกบอนด์ไม่ได้ แม้ผลตอบแทนจะสูงก็ตาม ซึ่งตรงนี้จะเป็นปัญหาสำคัญของตลาดเงินตลาดทุน ซึ่งต้องหาวิธีรับมือความเสี่ยงนี้ให้ถูกต้อง เพราะถ้ารับมือไม่ดี จะกลายเป็นวิกฤตอสังหาได้"
ถามว่าการลดดอกเบี้ยนโยบายจะช่วยอะไร ในหลักการคงไม่ช่วย เพราะผู้ประกอบการแนวสูงยังกู้ไม่ได้ เพราะปัญหาอยู่ที่ความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการ ซึ่งตลาดมองเป็นศูนย์ แต่กนง.สามารถใช้ปัจจัยนี้เป็นเหตุผลในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ แม้ผลกระทบเศรษฐกิจไม่มาก แต่การลดดอกเบี้ยจะช่วยด้านจิตวิทยา ประเด็นอยู่ที่จะปรับลดในอัตรา 0.25% หรือ 0.50% เพราะแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีความรุนแรงกว่าครั้งที่แล้ว ที่กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25%
นอกจากปรับลดดอกเบี้ยแล้ว ยังไม่จบ นโยบายที่ถูกต้อง ยังมองว่าแบงก์ชาติช่วยผู้ประกอบการอสังหา โดยสามารถทำเหมือน QE เพื่อซื้อบอนด์อสังหาฯเหล่านั้นไปชั่วคราว ซึ่งผู้ประกอบการแนวสูงมีไม่กี่ราย แต่เป็นการสกัดปัญหาที่จะเกิดตามมาในอนาคตคือแม้ในรายที่ไม่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวก็เปิดให้ อย่างน้อยออกบอนด์พิเศษอายุ 5ปีและแบงก์ชาติรับซื้อไว้ชั่วคราว แต่ผู้ประกอบการก็ต้องรับต้นทุน ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิด 100 ปีต่อครั้ง แต่กว่าคนจะลืมยังต้องใช้เวลา
"หากไม่ทำอะไรเลย น่าจะเห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 เป็นต้นไป โดยเศรษฐกิจอาจจะซึม ปัญหาเมียนมาเกิดจากแผ่นดินไหว แต่ปัญหาของไทยอยู่ที่อาฟเตอร์ช็อก เป็นความกลัว เป็นเศรษฐกิจอาฟเตอร์ช็อก"
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยกล่าวว่า เหตุแผ่นดินไหวไม่น่าจะเป็นปัจจัยช็อกทางเศรษฐกิจที่รุนแรงพอที่จะทำให้กนง.ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมวันที่ 30 เมษายน เพราะมองว่า ผลกระทบไม่รุนแรงและเป็นผลกระทบระยะสั้น ยกเว้นถ้าเห็นผลกระทบรุนแรงจริง ไม่ต้องรอ 30 เม.ย.สามารถประชุมฉุกเฉิน เพื่อลดดอกเบี้ย หรือขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยได้ แต่สิ่งที่ธปท.เลือกทำและทำได้ดีมากและเร็วมากคือ การดูแลธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบเฉพาะกลุ่มแล้ว
"ตอนนี้เราอยู่ในขั้นแก้ปัญหา เฉพาะกลุ่มก่อน แล้วมาประเมินสถานการณ์ว่า ขยายวงกว้าง/ขยายความรุนแรง? โดยประเมินผลกระทบทั้งการท่องเที่ยว อสังหาฯ และความเชื่อมั่น ซึ่งวันนี้สิ่งที่เราดูสถานการณ์ไม่น่าจะเกิดอาฟเตอร์ช็อก กระทบทางเศรษฐกิจรุนแรงระยะสั้น โดยภาพรวมจะฟื้นตัวด้วยตัวเอง อย่างภาคท่องเที่ยวอาจจะใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ความเชื่อมั่นที่จะกลับมา ส่วนตลาดอสังหาฯนั้น ไม่มีดีอยู่แล้ว ซึ่งผลกระทบทางเศรษฐกิจผมให้น้ำหนักผลกระทบเทรดวอร์มากกว่าแผ่นดินไหว"
ทั้งนี้ หากมาตรการขึ้นภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ภายใต้รัฐบาลทรัมป์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย ภาคการผลิต การจ้างงาน การบริโภค น่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจไทยค่อนข้างมาก ซึ่งต้องรอประเมินผลก่อน เพราะยังไม่ประกาศหรืออาจจะเลื่อนหรืออาจจะขึ้นภาษีในบางสินค้า อาจจะไม่มีความรุนแรงอย่างที่คาด แต่เชื่อว่า กนง.จะลดดอกเบี้ยต่อ น่าจะหลังประเมินผลกระทบจากเทรดวอร์ ซึ่งอยู่ในช่วงไตรมาส2 และตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกที่สภาพัฒน์จะรายงานวันที่ 19 พฤษภาคม 2568
ทั้งนี้ ซีไอเอ็มบีไทยประเมินเศรษฐกิจไตรมาสแรก จะเติบโตประมาณ 3.1%YoY แต่หลังจากฟังธปท.รายงานเศรษฐกิจรายเดือนก็เริ่มไม่มั่นใจแล้ว เพราะเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายตัวที่แผ่วไป ดังนั้นอาจจะเกิดการลดดอกเบี้ยเดือนมิ.ย.มากกว่า แต่ช่วงนี้ใช้มาตรการที่จะใช้แก้ให้ตรงจุด ซึ่งทางการการเงินดำเนินการไปแล้ว โดยการยืดหนี้ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบ
ส่วนมาตรกรทงการคลังถ้าภาคก่อสร้างมีปัญหาต้องเติมเต็มในการลงทุนภาครัฐ ซึ่งมีงบประมาณอยู่แล้ว/จัดสรรงบประมาณเน้นการลงทุนสร้างความเชื่อมั่น (ไม่ใช่แจกเงินอย่างเดียว) ซึ่งน่าจะเห็นมาตรการดังกล่าว
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ