ที่ดินแนวรถไฟฟ้าขยับสูง สัญญาณฟื้นตัวอสังหาฯ
วันที่ : 17 มกราคม 2568
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยผลสำรวจดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 2.9% เทียบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้แนวรถไฟฟ้าและสถานีที่เชื่อมต่อหลายสาย ราคาที่ดินขยับสูง!
บุษกร ภู่แส
กรุงเทพธุรกิจ
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยผลสำรวจดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 2.9% เทียบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้แนวรถไฟฟ้าและสถานีที่เชื่อมต่อหลายสาย ราคาที่ดินขยับสูง!
แม้ภาวะเศรษฐกิจยังไม่กลับสู่ระดับก่อนวิกฤติโควิด-19 แต่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินในพื้นที่เหล่านี้เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะที่ดินพื้นที่ใกล้เคียงระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วเติบโตสูงสุด จากศักยภาพของทำเล ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ "นครปฐม" ราคาที่ดินเพิ่มมากถึง 22.7% ตามด้วย ปทุมธานี 18.3% ทำให้เห็นชัดว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีทำให้ความต้องการที่ดินเพิ่มสูงขึ้น
โดยแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) ราคาที่ดินขยับสูงสุด 7% ในเขตบางแคและหนองแขม ตามมาด้วย สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) และ สายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก) เติบโต 6.4% เทียบปีที่ผ่านมา สายสีส้ม และสายสีแดงเข้ม พื้นที่ภาษีเจริญ สาทร และบางกอกใหญ่ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นในระดับใกล้เคียงกัน
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ คาดการณ์ราคาที่ดินในพื้นที่ เหล่านี้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2568 โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการใหม่ หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังจะเปิดให้บริการ นอกจากนั้น เศรษฐกิจที่คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 3% ในปีนี้ และมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์จากรัฐบาล เช่น การลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง จะยิ่งเสริมความต้องการที่ดินในทำเลเหล่านี้มีการเติบโตต่อเนื่อง
สำหรับดีเวลลอปเปอร์กำลังมองหาทำเลใหม่ๆ เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นหรือขยายการลงทุนในพื้นที่ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะบริเวณที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยสูงและราคาที่ดินยังไม่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไป เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า อสังหาริมทรัพย์กำลังกลับมาฟื้นตัว และตลาดรถไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้การเติบโตของราคาที่ดินยังคงต่อเนื่องไปอีกหลายปีข้างหน้า
กรุงเทพธุรกิจ
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เผยผลสำรวจดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้น 2.9% เทียบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้แนวรถไฟฟ้าและสถานีที่เชื่อมต่อหลายสาย ราคาที่ดินขยับสูง!
แม้ภาวะเศรษฐกิจยังไม่กลับสู่ระดับก่อนวิกฤติโควิด-19 แต่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาที่ดินในพื้นที่เหล่านี้เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะที่ดินพื้นที่ใกล้เคียงระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าที่เปิดบริการแล้วเติบโตสูงสุด จากศักยภาพของทำเล ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ "นครปฐม" ราคาที่ดินเพิ่มมากถึง 22.7% ตามด้วย ปทุมธานี 18.3% ทำให้เห็นชัดว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีทำให้ความต้องการที่ดินเพิ่มสูงขึ้น
โดยแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) ราคาที่ดินขยับสูงสุด 7% ในเขตบางแคและหนองแขม ตามมาด้วย สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) และ สายสีทอง (ธนบุรี-ประชาธิปก) เติบโต 6.4% เทียบปีที่ผ่านมา สายสีส้ม และสายสีแดงเข้ม พื้นที่ภาษีเจริญ สาทร และบางกอกใหญ่ ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นในระดับใกล้เคียงกัน
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ คาดการณ์ราคาที่ดินในพื้นที่ เหล่านี้ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 2568 โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการพัฒนาโครงการใหม่ หรืออยู่ระหว่างการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น รถไฟฟ้าสายใหม่ที่กำลังจะเปิดให้บริการ นอกจากนั้น เศรษฐกิจที่คาดว่าจะเติบโตมากกว่า 3% ในปีนี้ และมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์จากรัฐบาล เช่น การลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง จะยิ่งเสริมความต้องการที่ดินในทำเลเหล่านี้มีการเติบโตต่อเนื่อง
สำหรับดีเวลลอปเปอร์กำลังมองหาทำเลใหม่ๆ เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต นี่คือช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นหรือขยายการลงทุนในพื้นที่ที่มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชน โดยเฉพาะบริเวณที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยสูงและราคาที่ดินยังไม่เพิ่มขึ้นมากจนเกินไป เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า อสังหาริมทรัพย์กำลังกลับมาฟื้นตัว และตลาดรถไฟฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก ที่ทำให้การเติบโตของราคาที่ดินยังคงต่อเนื่องไปอีกหลายปีข้างหน้า
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ