คอลัมน์ กระจกไร้เงา: ความโปร่งใสในอสังหาฯไทย
ศรยุทธ เทียนสี
ปัจจุบันโลกยุคสื่อออนไลน์ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อการซื้อ ขายอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นทุกขณะ จากที่เคยเป็นแค่ สื่อทางเลือกเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้บริษัทดูไม่ตกกระแส แต่วันนี้สื่อออนไลน์กลายเป็นเครื่องมือที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ จะขาดเสียไม่ได้ เมื่อเทคโนโลยีด้านการสื่อสารทั้งระบบสัญญาณ และเครื่องรับที่ทันสมัย เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการรับส่งข้อมูล ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้สื่อออนไลน์ในการค้นหาข้อมูลมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่า จะเป็นเพื่อค้นหาข้อมูลโครงการเพื่อประกอบการตัดสินใจ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือเพื่อดูข้อมูลบริษัท จึงเป็นเรื่องจำ เป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต่างๆ จะต้องนำเสนอข้อมูลที่มีความโปร่งใส เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อทั้งผู้บริโภคและนักลงทุน ซึ่งบริษัท โจนส์ แลง ลาซาลส์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือเจแอลแอล ได้จัดทำรายงานดัชนีความโปร่งใสตลาดอสังหาริมทรัพย์โลกประจำปี 2561
และจากรายงานดัชนีความโปร่งใส ระบุว่า ประเทศไทยได้รับการจัดให้เป็นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีความโปร่งใสอยู่ในอันดับที่ 34 ของโลกในปี 2561 นี้ โดยปรับขึ้นจากอันดับที่ 38 จากในรายงานฉบับปี 2559 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียนอีก 6 ประเทศที่รายงานฉบับเดียวกันนี้ครอบคลุม พบว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของไทยมีดัชนีความโปร่งใสอยู่ในอันดับที่ 3
ซึ่งตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของ ไทยมีดัชนีความโปร่งใสปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สาเหตุหลักมา จากการมีข้อมูลเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้เข้าถึงได้ มากขึ้นและง่ายขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายจำนวน เพิ่มขึ้นของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ในอดีต และกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ซึ่งถูกกำหนดด้วยกฎหมายให้ต้องเปิดเผยข้อมูลผลประกอบการ
สำหรับรายงานดัชนีความโปร่งใสตลาดอสังหาริมทรัพย์ โลกประจำปี 2561 เป็นรายงานฉบับที่ 10 ที่บริษัทจัดทำขึ้น โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรด้านต่างๆ ที่มีผลต่อ โดยตรงหรือโดยอ้อมต่อระดับความโปร่งใสของตลาดอสังหาริมทรัพย์ อาทิ ปริมาณข้อมูลที่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับตลาดอสังหาริมทรัพย์ บรรษัทภิบาล กระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับการประ กอบธุรกรรมด้านอสังหาริมทรัพย์ สิทธิการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ กฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
นอกจากนี้ ภายในรายงานยังได้กล่าวถึงครอบคลุมตลาดอสังหาริมทรัพย์ใน 158 เมือง ของ 100 ประเทศทั่ว โลก และแบ่งกลุ่มประเทศออกเป็นห้ากลุ่มตามระดับความ โปร่งใสของตลาดอสังหาริมทรัพย์ คือ 1.โปร่งใสมาก 2.โปร่ง ใส 3.โปร่งใสปานกลาง 4.โปร่งใสต่ำ และ 5.ไร้ความโปร่งใส โดยประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีความโปร่งใสในระดับปานกลาง ส่วนตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่โปร่งใสที่สุดคือสหรัฐราชอาณาจักร และตลาดที่ไร้ความโปร่งใสที่สุดคือเวเนซุเอลา
ในส่วนของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ได้ระบุถึงดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจ พัฒนาที่อยู่อาศัย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าเท่ากับ 62.8 จุด สูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด และเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 4 ปี 2560 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 59.1 จุด ทั้งนี้ดัชนีที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากความเชื่อมั่นด้านผลประ กอบการ ด้านยอดขาย การลงทุน การจ้างงาน และการเปิดโครงการใหม่ ส่วนต้นทุนผู้ประกอบการต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด เป็นผลมาจากการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
อย่างไรก็ตาม เมื่อโดยตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยภาพ รวมมีความโปร่งใส เป็นที่แน่นอนว่าการลงทุนก็ยังคงมีต่อ เนื่อง ซึ่งในครึ่งแรกของปี 2561 ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ก็สะท้อนให้เห็นแล้วว่าผู้ประกอบการมีความมั่นใจกับสถานการณ์ในปัจจุบัน และเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังฟื้นตัวขึ้นได้ในทิศทางที่ดีนั่น เอง