บ้าน 10 ล้านวางดาวน์ 20%
วันที่ : 5 ตุลาคม 2561
ธปท.คุมแบงก์ปล่อยกู้ใหม่ นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เตรียมเปิดรับฟังความเห็นแนวนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (แมคโครพรูเด็นเชี่ยล) ตั้งแต่วันที่ 4-22 ต.ค. 61 และประชุมกับสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ในวันที่ 11 ต.ค. 61 ก่อนออกประกาศเดือน พ.ย. และมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 62
ธปท.คุมแบงก์ปล่อยกู้ใหม่
นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เตรียมเปิดรับฟังความเห็นแนวนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (แมคโครพรูเด็นเชี่ยล) ตั้งแต่วันที่ 4-22 ต.ค. 61 และประชุมกับสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ในวันที่ 11 ต.ค. 61 ก่อนออกประกาศเดือน พ.ย. และมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 62 โดยเกณฑ์ใหม่จะใช้กับการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป และกู้สัญญาที่ 2 ขึ้นไป จะต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อย 20% ของมูลค่าหลักประกัน และเกณฑ์ปล่อยกู้ต้องไม่เกิน 80% ของมูลค่าหลักประกันนับรวมเงินกู้เพิ่มเติม (แอลทีวี)
ทั้งนี้จากปัจจุบันปล่อยกู้ที่อยู่อาศัยราคาเกิน 10 ล้านบาท และในสัญญาที่ 2 ขึ้นไปจะคิดตามประเภท เช่น คอนโดมิเนียม ปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 90% ของมูลค่าหลักประกัน ประเภทบ้าน ทาวน์เฮาส์ ปล่อยกู้ไม่เกิน 95% ของมูลค่าหลักประกันโดยไม่รวมเงินกู้เพิ่มเติม แต่ที่ผ่านมาได้พบการปล่อยกู้เกินจริงจำนวนมาก และมีการเก็งกำไรกับบ้านหลังที่ 2 หากไม่มีการดูแลอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการเงินได้ อย่างไรก็ตามเกณฑ์ใหม่จะไม่รวมที่อยู่อาศัยสัญญาที่ 1 และมูลค่าหลักประกันไม่ถึง 10 ล้านบาท จะยังคงใช้เกณฑ์ปัจจุบันได้ ซึ่ง ผู้กู้รายย่อย ผู้กู้เดิมและผู้มีรายได้น้อยจะไม่ได้รับผลกระทบ
สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในระบบธนาคารพาณิชย์มีคงค้าง 3 ล้านล้านบาท มีการปล่อยกู้เฉลี่ย 3 แสนล้านบาทต่อปี ในจำนวนนี้มี 15% เป็นที่อยู่อาศัยสัญญาที่ 2 และมีราคาเกิน 10 ล้านบาท โดยปล่อยกู้เกินแอลทีวี 80% อยู่ 10,000 ล้านบาท
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธอส. ไม่ได้รับผลกระทบจากการออกเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ของ ธปท. เพราะธนาคารเน้นปล่อยกู้บ้านที่เป็นที่อยู่อาศัยจริง ไม่ใช่เป็นการซื้อไปเพื่อเก็งกำไร อีกทั้ง ธอส.ปล่อยกู้ตามสัดส่วนความสามารถชำระหนี้
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ยอมรับว่าหากมาตรการออกมาใช้จะมีผลกระทบธุรกิจอสังหาฯ ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง เพราะต้องใช้เวลาเตรียมเงินดาวน์ รวมถึงกันเงินไว้ซื้อเฟอร์นิเจอร์เพิ่มด้วย
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง กล่าวว่า การส่งสัญญาณของ ธปท. ถือเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ตลาดตื่นตัวและระมัดระวังมากขึ้น แต่รายงานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังไม่มีความน่ากังวล และไม่จำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะปริมาณอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ มีน้อยกว่าปี 60 ขณะที่ยอดการโอนที่อยู่อาศัยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนยอดการจองยังไม่พบความผิดปกติ แม้แนวโน้มการเก็งกำไรจะมีสัดส่วนเฉลี่ย 10% ยังเป็นตัวเลขที่พอรับได้
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า การใช้มาตรการลดแอลทีวี อาจทำให้กำลังซื้อในตลาดที่อยู่อาศัยลดลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงถึง 9% รวมทั้งเวลาการออกมาตรการควรบอกล่วงหน้าอย่างน้อยครึ่งปี เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนเตรียมตัว
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินโดยเฉพาะขนาดใหญ่ เพราะมีมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่รัดกุมอยู่แล้ว มองว่าปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณของฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์
นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เตรียมเปิดรับฟังความเห็นแนวนโยบายกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (แมคโครพรูเด็นเชี่ยล) ตั้งแต่วันที่ 4-22 ต.ค. 61 และประชุมกับสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการและผู้บริโภค ในวันที่ 11 ต.ค. 61 ก่อนออกประกาศเดือน พ.ย. และมีผลบังคับใช้ 1 ม.ค. 62 โดยเกณฑ์ใหม่จะใช้กับการปล่อยสินเชื่อใหม่สำหรับการกู้ซื้อที่อยู่อาศัยราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป และกู้สัญญาที่ 2 ขึ้นไป จะต้องวางเงินดาวน์อย่างน้อย 20% ของมูลค่าหลักประกัน และเกณฑ์ปล่อยกู้ต้องไม่เกิน 80% ของมูลค่าหลักประกันนับรวมเงินกู้เพิ่มเติม (แอลทีวี)
ทั้งนี้จากปัจจุบันปล่อยกู้ที่อยู่อาศัยราคาเกิน 10 ล้านบาท และในสัญญาที่ 2 ขึ้นไปจะคิดตามประเภท เช่น คอนโดมิเนียม ปล่อยกู้ได้ไม่เกิน 90% ของมูลค่าหลักประกัน ประเภทบ้าน ทาวน์เฮาส์ ปล่อยกู้ไม่เกิน 95% ของมูลค่าหลักประกันโดยไม่รวมเงินกู้เพิ่มเติม แต่ที่ผ่านมาได้พบการปล่อยกู้เกินจริงจำนวนมาก และมีการเก็งกำไรกับบ้านหลังที่ 2 หากไม่มีการดูแลอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบการเงินได้ อย่างไรก็ตามเกณฑ์ใหม่จะไม่รวมที่อยู่อาศัยสัญญาที่ 1 และมูลค่าหลักประกันไม่ถึง 10 ล้านบาท จะยังคงใช้เกณฑ์ปัจจุบันได้ ซึ่ง ผู้กู้รายย่อย ผู้กู้เดิมและผู้มีรายได้น้อยจะไม่ได้รับผลกระทบ
สำหรับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในระบบธนาคารพาณิชย์มีคงค้าง 3 ล้านล้านบาท มีการปล่อยกู้เฉลี่ย 3 แสนล้านบาทต่อปี ในจำนวนนี้มี 15% เป็นที่อยู่อาศัยสัญญาที่ 2 และมีราคาเกิน 10 ล้านบาท โดยปล่อยกู้เกินแอลทีวี 80% อยู่ 10,000 ล้านบาท
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวว่า ธอส. ไม่ได้รับผลกระทบจากการออกเกณฑ์ปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย ของ ธปท. เพราะธนาคารเน้นปล่อยกู้บ้านที่เป็นที่อยู่อาศัยจริง ไม่ใช่เป็นการซื้อไปเพื่อเก็งกำไร อีกทั้ง ธอส.ปล่อยกู้ตามสัดส่วนความสามารถชำระหนี้
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า ยอมรับว่าหากมาตรการออกมาใช้จะมีผลกระทบธุรกิจอสังหาฯ ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อลดลง เพราะต้องใช้เวลาเตรียมเงินดาวน์ รวมถึงกันเงินไว้ซื้อเฟอร์นิเจอร์เพิ่มด้วย
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง กล่าวว่า การส่งสัญญาณของ ธปท. ถือเป็นสิ่งที่ดี ทำให้ตลาดตื่นตัวและระมัดระวังมากขึ้น แต่รายงานข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เชื่อว่าการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังไม่มีความน่ากังวล และไม่จำเป็นต้องออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม โดยเฉพาะปริมาณอสังหาริมทรัพย์ปีนี้ มีน้อยกว่าปี 60 ขณะที่ยอดการโอนที่อยู่อาศัยก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนยอดการจองยังไม่พบความผิดปกติ แม้แนวโน้มการเก็งกำไรจะมีสัดส่วนเฉลี่ย 10% ยังเป็นตัวเลขที่พอรับได้
นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า การใช้มาตรการลดแอลทีวี อาจทำให้กำลังซื้อในตลาดที่อยู่อาศัยลดลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศชะลอตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์มีสัดส่วนต่อจีดีพีสูงถึง 9% รวมทั้งเวลาการออกมาตรการควรบอกล่วงหน้าอย่างน้อยครึ่งปี เพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนเตรียมตัว
นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า เชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินโดยเฉพาะขนาดใหญ่ เพราะมีมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่รัดกุมอยู่แล้ว มองว่าปัจจุบันยังไม่มีสัญญาณของฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ