คอลัมน์ Biz Insight: เข้ม นายหน้า ค้าอสังหาฯ
วันที่ : 24 ตุลาคม 2561
บทความพิเศษ ที่เขียนโดย วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เรื่อง "ก้าวต่อไปของตลาดอสังหาริมทรัพย์ : ตลาดบ้านมือสอง และกฎหมายนายหน้า" สะท้อนให้เห็นถึงขนาดตลาดบ้านมือสองที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพฯ และพื้นที่เชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ เป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านที่ดินในการพัฒนา
บทความพิเศษ ที่เขียนโดย วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เรื่อง "ก้าวต่อไปของตลาดอสังหาริมทรัพย์ : ตลาดบ้านมือสอง และกฎหมายนายหน้า" สะท้อนให้เห็นถึงขนาดตลาดบ้านมือสองที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างๆของกรุงเทพฯ และพื้นที่เชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ เป็นผลมาจากข้อจำกัดด้านที่ดินในการพัฒนา
ตามบทความฯ ระบุว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย มีสัดส่วนประมาณ 6.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยในแต่ละปีจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยถึง 320,000 -370,000 หน่วย มูลค่าสูงถึง 650,000-750,000 ล้าบาท ในจำนวนนี้มีสัดส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย มือสองประมาณ 45%-50%
ดังนั้นจึงอาจประมาณได้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ถึง 150,000-180,000 หน่วย เป็นมูลค่าสูงถึง 250,000-300,000 ล้านบาท
เมื่อขนาดตลาดใหญ่ขึ้น เกิดการซื้อขายบ้านมือสอง ทำให้เกิดอาชีพ "ตัวแทนนายหน้าอสังหาฯ" ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลอาชีพตัวแทน นายหน้าฯ เป็นการเฉพาะ ทำให้นายหน้า บางรายขาดความรู้ มาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพนี้ ทำให้เกิดผลเสียแก่ผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขายอสังหาฯตามมา และยังทำให้รัฐสูญเสีย รายได้จากการที่ตัวแทนนายหน้าอิสระ ที่ไม่แสดงรายได้เพื่อเสียภาษี รวมทั้งเกิดช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน เนื่องจากพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กำกับดูแลเฉพาะการประกอบกิจการของ นายหน้าฯ นิติบุคคล เท่านั้น
บทความฯ ชิ้นนี้ ระบุว่า ธุรกิจอสังหาฯของไทยกำลังจะไปสู่ยุคที่มีตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมากขึ้นนี้ ทำให้บทบาทของตัวแทนนายหน้า มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการจัดหาโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้พบกัน
ดังนั้น กฎหมายกำกับดูแลอาชีพตัวแทนนายหน้าเป็นสิ่งที่ไม่ได้น่ากลัว และจะเป็นเครื่องมือในการควบคุมให้ตัวแทนนายหน้าได้ทำหน้าที่ของตนอย่างมีความรู้และมีจริยธรรมตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ตามบทความฯ ระบุว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย มีสัดส่วนประมาณ 6.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยในแต่ละปีจะมีการโอน กรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยถึง 320,000 -370,000 หน่วย มูลค่าสูงถึง 650,000-750,000 ล้าบาท ในจำนวนนี้มีสัดส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย มือสองประมาณ 45%-50%
ดังนั้นจึงอาจประมาณได้ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ถึง 150,000-180,000 หน่วย เป็นมูลค่าสูงถึง 250,000-300,000 ล้านบาท
เมื่อขนาดตลาดใหญ่ขึ้น เกิดการซื้อขายบ้านมือสอง ทำให้เกิดอาชีพ "ตัวแทนนายหน้าอสังหาฯ" ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลอาชีพตัวแทน นายหน้าฯ เป็นการเฉพาะ ทำให้นายหน้า บางรายขาดความรู้ มาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพนี้ ทำให้เกิดผลเสียแก่ผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขายอสังหาฯตามมา และยังทำให้รัฐสูญเสีย รายได้จากการที่ตัวแทนนายหน้าอิสระ ที่ไม่แสดงรายได้เพื่อเสียภาษี รวมทั้งเกิดช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน เนื่องจากพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 กำกับดูแลเฉพาะการประกอบกิจการของ นายหน้าฯ นิติบุคคล เท่านั้น
บทความฯ ชิ้นนี้ ระบุว่า ธุรกิจอสังหาฯของไทยกำลังจะไปสู่ยุคที่มีตลาดที่อยู่อาศัยมือสองมากขึ้นนี้ ทำให้บทบาทของตัวแทนนายหน้า มีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการจัดหาโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้พบกัน
ดังนั้น กฎหมายกำกับดูแลอาชีพตัวแทนนายหน้าเป็นสิ่งที่ไม่ได้น่ากลัว และจะเป็นเครื่องมือในการควบคุมให้ตัวแทนนายหน้าได้ทำหน้าที่ของตนอย่างมีความรู้และมีจริยธรรมตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น เพื่อให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ