สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2561 และแนวโน้มปี 2562
วันที่ : 6 มีนาคม 2562
ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2561 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัด EEC (จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ด้านอุปสงค์และอุปทานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560 ในด้านอุปสงค์เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 6 ไตรมาสต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2560 ส่วนด้านอุปทานเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน แต่การออกใบอนุญาตก่อสร้างปรับลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560
สำหรับภาพรวมในปี 2561 ทั้งปี สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเป็นผลจากการกระตุ้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและเอกชนวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท คลอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยตั้งเป้าให้จังหวัดเชิงเทราเป็นเมืองน่าอยู่รองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์กลางการศึกษาและพัฒนาทักษะนานาชาติ “ศรีราชา-แหลมฉบัง” เป็นเมืองอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่เชื่อมสู่การผลิตภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน “พัทยา-สัตหีบ-อู่ตะเภา” เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ครอบครัว สุขภาพและสันทนาการระดับโลก รวมถึงศูนย์ธุรกิจการบินและโลจิสติกส์แห่งอาเซียน และยกระดับ “มาบตาพุด-ระยอง” เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในอาเซียน และอุตสาหกรรมพลังงานเคมี ชีวภาพ วิจัยอาหารและไบโออีโคโนมี
สำหรับแนวโน้มในปี 2562 ผลกระทบจากมาตรการควบคุมสินเชื่อคาดว่าจะส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยของ EEC ในไตรมาส 1 ปี 2562 ยังคงมีการเร่งโอนต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2561 ก่อนที่จะมีมาตรการ แต่ในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 4 ของปี 2562 จะชะลอตัวลงในด้านอุปสงค์ คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า เมื่อเทียบกับปี 2561 ส่วนในด้านอุปทานที่อยู่อาศัยจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC ของภาครัฐ โดยมีข้อสังเกตว่าเนื่องจากราคาที่ดินที่สูงขึ้นส่งผลให้อุปทานบ้านแนวราบมีแน้วโน้มที่จะมีการขยายตัวของทาวน์เฮ้าส์ และบ้านแฝดมากขึ้น และอาคารชุดจะยังเป็นอุปทานที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สำหรับภาพรวมในปี 2561 ทั้งปี สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทานปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2560 โดยเป็นผลจากการกระตุ้นการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐและเอกชนวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท คลอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา โดยตั้งเป้าให้จังหวัดเชิงเทราเป็นเมืองน่าอยู่รองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออก จังหวัดชลบุรี เป็นศูนย์กลางการศึกษาและพัฒนาทักษะนานาชาติ “ศรีราชา-แหลมฉบัง” เป็นเมืองอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่เชื่อมสู่การผลิตภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน “พัทยา-สัตหีบ-อู่ตะเภา” เป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ครอบครัว สุขภาพและสันทนาการระดับโลก รวมถึงศูนย์ธุรกิจการบินและโลจิสติกส์แห่งอาเซียน และยกระดับ “มาบตาพุด-ระยอง” เป็นเมืองน่าอยู่ที่สุดในอาเซียน และอุตสาหกรรมพลังงานเคมี ชีวภาพ วิจัยอาหารและไบโออีโคโนมี
สำหรับแนวโน้มในปี 2562 ผลกระทบจากมาตรการควบคุมสินเชื่อคาดว่าจะส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยของ EEC ในไตรมาส 1 ปี 2562 ยังคงมีการเร่งโอนต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2561 ก่อนที่จะมีมาตรการ แต่ในช่วงไตรมาส 2 ถึง ไตรมาส 4 ของปี 2562 จะชะลอตัวลงในด้านอุปสงค์ คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า เมื่อเทียบกับปี 2561 ส่วนในด้านอุปทานที่อยู่อาศัยจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ EEC ของภาครัฐ โดยมีข้อสังเกตว่าเนื่องจากราคาที่ดินที่สูงขึ้นส่งผลให้อุปทานบ้านแนวราบมีแน้วโน้มที่จะมีการขยายตัวของทาวน์เฮ้าส์ และบ้านแฝดมากขึ้น และอาคารชุดจะยังเป็นอุปทานที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีการพัฒนาเพิ่มขึ้น
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ใน EEC อื่นๆ