ธนารักษ์ยกเครื่องที่ราชพัสดุ ปรับค่าเช่า/ลุยโปรเจ็กต์ โกยรายได้ทะลุ8พันล้าน
วันที่ : 18 กันยายน 2561
"ธนารักษ์" ตั้งธงปีงบ 2562 ยกเครื่องแผนบริหารที่ราชพัสดุ 10.45 ล้านไร่ หวังหารายได้เข้าคลังเพิ่ม เล็งทบทวนค่าเช่าที่รัฐวิสาหกิจบิ๊กเอกชน พร้อมจี้ส่วนราชการไม่ใช้ประโยชน์จากที่ดินส่งคืนพื้นที่
น.ส.อมรรัตน์ กล่ำพลบ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2562 กรมมีแผนพิจารณาการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์จำนวน 10.45 ล้านไร่ทั่วประเทศใหม่ เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ที่ 8 พันล้านบาท โดยส่วนแรกที่ราชพัสดุที่เปิดให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนเช่าอยู่ขนาด 3.96 แสนไร่ สัดส่วน 4% ของพื้นที่ทั้งหมด หากดูว่าสัญญาเดิมไม่เข้าฐานค่าเช่าที่เป็นจริงจะมีการเจรจาขอทบทวนค่าเช่าให้เหมาะสม และส่วนที่สองที่ราชพัสดุที่ใช้ส่วนราชการอีก 96% หรือประมาณ 10 ล้านไร่ หากพบว่านำที่ไปแล้วแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็เจรจาขอให้ยอมคืนพื้นที่กลับมายังกรมเพื่อนำไปจัดประโยชน์ใหม่
ทั้งนี้ กรมยืนยันว่าการพิจารณาจัดประโยชน์ครั้งนี้ จะเน้น เข้าไปเจรจาเฉพาะหน่วยงานรัฐ วิสาหกิจและเอกชนรายใหญ่ ซึ่งมีทั้ง พื้นที่ที่มีสัญญาอยู่ และกำลังหมด สัญญาเท่านั้น ส่วนพื้นที่ใช้ประ โยชน์สำหรับให้ประชาชนอยู่อาศัย หรือเป็นที่สำหรับทำการเกษตร กรมจะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อชาวบ้าน ส่วนแนวทางการขอคืนพื้นที่ราชพัสดุจากราชการ กรมกำลังพิจารณารูปแบบการนำส่งคืน รวมถึงการชดเชยสิทธิประโยชน์ หรือผลตอบแทนคืนให้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่
"โครงการนำที่ราชพัสดุมา สนับสนุนพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ขณะนี้มีความคืบหน้า โดยในปีหน้าจะมีการนำที่ราชพัสดุในจังหวัดนครพนม มุกดาหาร และหนองคายออกมาประมูลใหม่ จากก่อนหน้านี้เปิดไปแล้วแต่ไม่มีใครเข้าร่วมประมูล พร้อมกับมีการปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินใหม่จากรายบล็อก เป็นรายแปลง ซึ่งจะทำให้ค่าเช่าที่ปรับลดลงจากเดิมไร่ล่ะ 2.4 พันบาทต่อปี เหลือเพียง 1.8-2.1 พันบาทต่อปี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บริษัทเอกชนเข้ามาตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำหนดไว้ สำหรับรายได้ของกรมธนารักษ์ปี 2561 ทำได้ 1.13 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 7.4 พันล้านบาท เนื่องจากมีรายได้พิเศษจากค่าเช่าที่ดินจาก บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เกือบ 3 พันล้านบาท" น.ส.อมรรัตน์กล่าว
ขณะที่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ส่งพื้นที่ราชพัสดุให้กับสำนักงานอีอีซีไปบริหาร 7 พันไร่ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 6.5 พันไร่ และเขตนวัตกรรม 759 ไร่ ซึ่งเป็นการมอบเอกสิทธิ์บริหารจัดการทั้งหมด
ด้านการบริหารจัดการทรัพย์ สินที่ราชพัสดุแปลงใหญ่หลายโครง การ ในสัปดาห์หน้าจะมีการเสนอโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุขนส่งหมอชิตให้ ครม.พิจารณา หลังจากมีการเจรจากับภาคเอกชนเสร็จแล้ว โดยปรับรูปแบบการลงทุนจาก 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 2.6 หมื่นล้านบาท พื้นที่พัฒนา 7 แสนตารางเมตร ในจำนวนนี้ชดเชยพื้นที่ให้กับรัฐ 1.2 แสนตารางเมตร พร้อมมอบผลตอบแทนเป็นเงินสด 600 ล้านบาท และทรัพย์สินอีก 2.4 พันล้านบาท รวมเป็น 3 พันล้านบาท โดยใช้เวลาก่อสร้างใช้เวลา 5 ปี พัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า โรงแรม ที่จอดรถรองรับการเดินทางรถไฟฟ้าบีทีเอส อพาร์ตเมนต์
ขณะที่การพัฒนาหอชมเมือง 4.6 พันล้านบาท ความสูง 459 เมตร ได้ทำสัญญาไปแล้ว ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี บริหารโครงการ 30 ปี เพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญใจกลางเมือง โครงการร้อยชักสามติดแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้ตำรวจดับเพลิงส่งมอบที่ราชพัสดุแล้ว ได้ปรับสัญญาการลงทุนกับภาคเอกชน ปรับเวลาก่อสร้าง 6 ปี บวกกับสัญญาบริหารโครงการ 30 ปี ทำเป็นโรงแรมที่พักริมแม่น้ำเจ้าพระยาระดับหรู เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว ขณะที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์เจรจาจบแล้ว จะทำสัญญา ได้ปีหน้า โดยมีการเปลี่ยนสัญญาจากลงทุนโรงแรมเป็นปรับปรุงพื้น ที่มูลค่า 6 พันล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโครงการศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะโซนซีพื้นที่ 5.1 แสนตารางเมตร ซึ่งมีส่วนราชการ 13 หน่วยงานแสดงความจำนงเช่าพื้นที่ด้วยวง เงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
น.ส.อมรรัตน์ กล่ำพลบ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2562 กรมมีแผนพิจารณาการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์จำนวน 10.45 ล้านไร่ทั่วประเทศใหม่ เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ที่ 8 พันล้านบาท โดยส่วนแรกที่ราชพัสดุที่เปิดให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนเช่าอยู่ขนาด 3.96 แสนไร่ สัดส่วน 4% ของพื้นที่ทั้งหมด หากดูว่าสัญญาเดิมไม่เข้าฐานค่าเช่าที่เป็นจริงจะมีการเจรจาขอทบทวนค่าเช่าให้เหมาะสม และส่วนที่สองที่ราชพัสดุที่ใช้ส่วนราชการอีก 96% หรือประมาณ 10 ล้านไร่ หากพบว่านำที่ไปแล้วแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็เจรจาขอให้ยอมคืนพื้นที่กลับมายังกรมเพื่อนำไปจัดประโยชน์ใหม่
ทั้งนี้ กรมยืนยันว่าการพิจารณาจัดประโยชน์ครั้งนี้ จะเน้น เข้าไปเจรจาเฉพาะหน่วยงานรัฐ วิสาหกิจและเอกชนรายใหญ่ ซึ่งมีทั้ง พื้นที่ที่มีสัญญาอยู่ และกำลังหมด สัญญาเท่านั้น ส่วนพื้นที่ใช้ประ โยชน์สำหรับให้ประชาชนอยู่อาศัย หรือเป็นที่สำหรับทำการเกษตร กรมจะไม่เข้าไปยุ่ง เพราะไม่ต้องการให้กระทบต่อชาวบ้าน ส่วนแนวทางการขอคืนพื้นที่ราชพัสดุจากราชการ กรมกำลังพิจารณารูปแบบการนำส่งคืน รวมถึงการชดเชยสิทธิประโยชน์ หรือผลตอบแทนคืนให้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่
"โครงการนำที่ราชพัสดุมา สนับสนุนพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ขณะนี้มีความคืบหน้า โดยในปีหน้าจะมีการนำที่ราชพัสดุในจังหวัดนครพนม มุกดาหาร และหนองคายออกมาประมูลใหม่ จากก่อนหน้านี้เปิดไปแล้วแต่ไม่มีใครเข้าร่วมประมูล พร้อมกับมีการปรับเปลี่ยนวิธีการประเมินใหม่จากรายบล็อก เป็นรายแปลง ซึ่งจะทำให้ค่าเช่าที่ปรับลดลงจากเดิมไร่ล่ะ 2.4 พันบาทต่อปี เหลือเพียง 1.8-2.1 พันบาทต่อปี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บริษัทเอกชนเข้ามาตั้งโรงงานในเขตเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำหนดไว้ สำหรับรายได้ของกรมธนารักษ์ปี 2561 ทำได้ 1.13 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 7.4 พันล้านบาท เนื่องจากมีรายได้พิเศษจากค่าเช่าที่ดินจาก บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เกือบ 3 พันล้านบาท" น.ส.อมรรัตน์กล่าว
ขณะที่การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ส่งพื้นที่ราชพัสดุให้กับสำนักงานอีอีซีไปบริหาร 7 พันไร่ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 6.5 พันไร่ และเขตนวัตกรรม 759 ไร่ ซึ่งเป็นการมอบเอกสิทธิ์บริหารจัดการทั้งหมด
ด้านการบริหารจัดการทรัพย์ สินที่ราชพัสดุแปลงใหญ่หลายโครง การ ในสัปดาห์หน้าจะมีการเสนอโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุขนส่งหมอชิตให้ ครม.พิจารณา หลังจากมีการเจรจากับภาคเอกชนเสร็จแล้ว โดยปรับรูปแบบการลงทุนจาก 1.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 2.6 หมื่นล้านบาท พื้นที่พัฒนา 7 แสนตารางเมตร ในจำนวนนี้ชดเชยพื้นที่ให้กับรัฐ 1.2 แสนตารางเมตร พร้อมมอบผลตอบแทนเป็นเงินสด 600 ล้านบาท และทรัพย์สินอีก 2.4 พันล้านบาท รวมเป็น 3 พันล้านบาท โดยใช้เวลาก่อสร้างใช้เวลา 5 ปี พัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ศูนย์การค้า โรงแรม ที่จอดรถรองรับการเดินทางรถไฟฟ้าบีทีเอส อพาร์ตเมนต์
ขณะที่การพัฒนาหอชมเมือง 4.6 พันล้านบาท ความสูง 459 เมตร ได้ทำสัญญาไปแล้ว ใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี บริหารโครงการ 30 ปี เพื่อใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญใจกลางเมือง โครงการร้อยชักสามติดแม่น้ำเจ้าพระยา ขณะนี้ตำรวจดับเพลิงส่งมอบที่ราชพัสดุแล้ว ได้ปรับสัญญาการลงทุนกับภาคเอกชน ปรับเวลาก่อสร้าง 6 ปี บวกกับสัญญาบริหารโครงการ 30 ปี ทำเป็นโรงแรมที่พักริมแม่น้ำเจ้าพระยาระดับหรู เพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว ขณะที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์เจรจาจบแล้ว จะทำสัญญา ได้ปีหน้า โดยมีการเปลี่ยนสัญญาจากลงทุนโรงแรมเป็นปรับปรุงพื้น ที่มูลค่า 6 พันล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาโครงการศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะโซนซีพื้นที่ 5.1 แสนตารางเมตร ซึ่งมีส่วนราชการ 13 หน่วยงานแสดงความจำนงเช่าพื้นที่ด้วยวง เงินลงทุน 3 หมื่นล้านบาท
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ