พิชัยเซ็นรื้อเกณฑ์บ้านบีโอไอ รบ.ใช้2แสนล.ซื้อรถไฟฟ้าคืน
วันที่ : 17 กุมภาพันธ์ 2568
'พิชัย' เซ็นรื้อเกณฑ์ 'บ้านบีโอไอ' รับ 'บ้านเพื่อคนไทย' เปิดช่องให้เช่าได้ด้วย ภาคอสังหาฯหนุน ช่วยผุดบ้านราคาถูกในเมือง
'สุริยะ' ชี้พย.นี้พระราม2เสร็จ
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ว่า ปัจจุบันถนนพระราม 2 โครงการก่อสร้างมีความคืบหน้า อย่างต่อเนื่อง โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เป็นโครงการภายใต้ความรับผิดชอบโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ล่าสุดความก้าวหน้าภาพรวมโครงการอยู่ที่ 87.06% ทุกสัญญางานด้านโยธาจะแล้วเสร็จภายในช่วงพฤศจิกายน 2568 และจะพิจารณาแนวทางการเปิดให้ประชาชนใช้บริการต่อไป สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว (M82) ระยะทาง 25 กม. ขณะนี้ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย 3 สัญญา คืบหน้าแล้ว 98.42% ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว 10 สัญญา คืบหน้าแล้ว 70.60% งานโยธาคาดแล้วเสร็จช่วงพฤศจิกายน 2568 ส่วนงานระบบปัจจุบันอยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดได้ข้อสรุปภายในปี 2568-2569 เริ่มก่อสร้าง รวมถึงดำเนินการงานด้านระบบปี 2569 คาดแล้วเสร็จปี 2571 ระหว่างดำเนินการงานระบบจะเปิดให้ประชาชนวิ่งโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมผ่านทาง
ทล.แจงความคืบหน้าM82
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 ว่า โครงการก่อสร้างบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 คืบหน้าดังนี้ แยกต่างระดับ บางขุนเทียน-เอกชัย สัญญา 1 คืบหน้า 98.13% คาดเสร็จมีนาคม 2568 สัญญา 2 คืบหน้า 98.41% คาดเสร็จกุมภาพันธ์ 2568 สัญญา 3 คืบหน้า 98.73% คาดเสร็จกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 เอกชัยบ้านแพ้ว สัญญา 1 คืบหน้า 78.66% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 2 คืบหน้า 73.44% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 3 คืบหน้า 77.21% คาดเสร็จ สิงหาคม 2568 สัญญา 4 คืบหน้า 55.53% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 5 คืบหน้า 82.96% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 6 คืบหน้า 54.84% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 7 คืบหน้า 45.94% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 8 คืบหน้า 77.98% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 9 คืบหน้า 87.78% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 10 คืบหน้า 71.65% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 และโครงการบ้านแพ้ว คืบหน้า 80.93% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568
สคร.แจง2แสนล.ซื้อรถไฟฟ้า
นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะร่วมกันตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทำหน้าที่พิจารณาว่าจะใช้รายได้โครงการรถไฟฟ้าสายสีใดบ้างมาสำรองเงินของกองทุน โครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล กรณีบริษัทเอกชนได้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯตกลงขายสัญญาสัมปทานทั้งหมดให้รัฐบาล จะทำให้การทำโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทง่ายขึ้น รัฐจะใช้โครงการรถไฟฟ้าเป็นสินทรัพย์ แปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ เพื่อใช้เงินทุนจากนักลงทุนเข้าลงลงทุนในตราสารทางการเงินฉบับนี้ ประเมินว่าจะต้องมีเงินทุนราว 2 แสนล้านบาท เพื่อมาจ่ายค่าซื้อสัมปทานให้เอกชนเจ้าของสัมปทานเดิม แต่กรณีเอกชนเจ้าของสัมปทานไม่ยอมขายสัมปทานคืนให้กับรัฐ อาจต้องเจรจาเพื่อขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน เพื่อให้รัฐสามารถทำโครงการ 20 บาทตลอดสายได้ ต้องคำนวณว่าจะต้องจ่ายชดเชยให้เอกชนเจ้าของสัมปทานเดือนละเท่าไหร่ ต้องจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในโครงการนี้ คาดว่าจะใช้เงินทุนไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท
"การเจรจาเพื่อขอซื้อสัมปทานจากเอกชนไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเอกชนและรัฐอาจมีมุมมองในแง่การไหลเวียนของเงินในแต่ละโครงการแตกต่างกัน เอกชนอาจมองการไหลเวียนของเงินสูง ขณะภาครัฐอาจมองต่ำกว่า" นายธิบดีกล่าว
ค่าไฟพ.ค.-ส.ค.จับตาทรัมป์-ค่าเงิน
นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และโฆษก กกพ. เปิดเผยถึงกรณีนาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุแนวทางการลดค่าไฟลง 17 สตางค์ต่อหน่วย เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เสี่ยงถูกผู้ผลิตไฟฟ้าฟ้องร้อง และเลือกการบริหารจัดการเชื้อเพลิงผลิตไฟแทนคาดค่าไฟจะลดลงได้เกือบ 40 สตางค์ ว่า ข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการปรับลดค่าไฟ 17 สตางค์ต่อหน่วยของ กกพ.เป็นเรื่องนโยบาย ต้องหารือ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนการปรับลดค่าไฟลง 40 สตางค์ต่อหน่วย เป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต้องดูข้อมูลทั้งหมดว่าจะลดในส่วนใดได้บ้าง กกพ.พร้อมร่วมสนับสนุน สำหรับแนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2568 ต้องรอดูต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแต่ละประเภท โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ราคาเริ่มสูงขึ้น ประกอบกับผลจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทว่าเป็นอย่างไร เพื่อประกอบการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย กกพ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 7 มีนาคมนี้ เบื้องต้นจะมี 3 ทางเลือกเหมือนเดิม ก่อนประกาศอัตราค่าไฟอย่างเป็นทางการเพื่อเริ่มบังคับใช้เดือนพฤษภาคม 2568
ธนารักษ์อัพเกรดประเมินที่ดิน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมเตรียมนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ยกระดับการจัดการทรัพย์สินของกรม ทั้งที่ราชพัสดุ เหรียญกษาปณ์ รวมทั้งการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศ จะช่วยในมิติเศรษฐกิจและสังคม การประเมินที่ดินนั้นจะใช้เทคโนโลยี อาทิ ดาวเทียม ใช้สำรวจที่ดินโดยละเอียดในระดับแปลง ตัวอย่างเช่น เจ้าของที่ดินบางรายอาจมีปัญหา ทำไมที่ดินตาบอดราคาแพง หรือปัญหามีที่ดินทำเลดี แต่ขายได้ราคาต่ำกว่าตลาด การยกระดับนี้จะทำให้ราคาประเมินที่ดินใกล้เคียงราคาตลาดมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการประเมินราคาที่ดิน เช่น เวลาประเมินที่ดินเพื่อค้ำประกันเงินกู้ปกติ สถาบันการเงินจะใช้วิธีจ้างบริษัทประเมินราคา 3 ราย แล้วนำราคามาเทียบกัน ให้ได้ราคาเหมาะสมที่สุด ฉะนั้นถ้าราคาประเมินของธนารักษ์ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้นจะทำให้ประชาชนและสถาบันการเงินนำไปใช้อ้างอิงได้จริง
"ที่ผ่านราคาประเมินที่ดินของธนารักษ์ค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาด ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่นำไปอ้างอิง เวลาขายหรือใช้เป็นราคาหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมทั้งราคาที่ดินใหม่จะทำเป็นรายแปลงทั้งหมด รวมทั้งอนาคตจะเชื่อมข้อมูลกับกรมที่ดินต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลการแบ่งแปลงที่ดินเรียลไทม์มากขึ้น" นายเอกนิติกล่าว
ใช้เทคโนโลยีช่วยประเมินราคา
นายเอกนิติกล่าวว่า การปรับราคาประเมินของกรมธนารักษ์จะทำทุก 4 ปี รอบถัดไปจะเป็นปี 2570 คาดว่าจะนำราคาประเมินใหม่ใช้เทคโนโลยีช่วยเก็บรายละเอียด จะได้ราคาตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กรมธนารักษ์จะทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาที่ราชพัสดุ นำที่ดินมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม สัปดาห์นี้จะเตรียมประชุมจัดทำมาสเตอร์แพลน แผนบริหารจัดการทรัพย์สินของกรมธนารักษ์ทั่วประเทศเพื่อยกระดับทรัพย์สินของรัฐ จากที่ราชพัสดุ 12.5 ล้านไร่ เช่น ทำพิพิธภัณฑ์ หรือให้เช่าเชิงพาณิชย์ จะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพย์ได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงยกระดับเหรียญกษาปณ์ให้เป็นเหรียญที่ระลึก เหรียญกษาปณ์บางรุ่นเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักสะสมทั้งในและต่างประเทศและมีมูลค่าสูง รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2568 กรมมีเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ ตามเอกสารงบประมาณกรมมีเป้า 1.06 หมื่นล้านบาทขยายตัวจากปีที่แล้วเล็กน้อย การใช้เทคโนโลยียกระดับทรัพย์สินนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มเรื่องรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เชื่อว่ากรมจัดเก็บรายได้ เข้าเป้าหมายแน่นอน
ชงครม.ปรับโครงสร้าง9อุต
นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้เดินหน้ายกร่างมาตรการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย มาตรการสนับสนุนในระยะสั้น กลาง ยาว รวมถึงโครงการเร่งด่วนให้เกิดผลเร็ว (Quick Win) และทิศทางโครงสร้างอุตสาหกรรม 9 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะการ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่านายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2568
"การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจะช่วยพลิกฟ้นภาคอุตสาหกรรมไทยให้เป็นเครื่องยนต์สำคัญจะเพิ่มแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ตั้งเป้าให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนผลักดันจีดีพีของประเทศเติบโตไม่น้อยกว่า 1% โดยไม่ใช้งบประมาณ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งเน้นปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่โปร่งใส" นายภาสกรกล่าว
บูมโปรดักต์แชมเปี้ยนไทย
นายภาสกรกล่าวว่า รายละเอียดแต่ละสาขาอุตสาหกรรมได้กำหนดทิศทางการพัฒนาและผลิตภัณฑ์เป้าหมายการปรับโครงสร้าง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นฐานการผลิต หรือ โปรดักต์ แชมเปี้ยน (Product Champion) เช่น รถยนต์นั่ง รถกระบะ 1 ตัน กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ประกอบด้วย รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plugin Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ล้วน (Battery Electric Vehicle: BEV) รวมทั้งกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก เน้นผลิตภัณฑ์พลาสติกมีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิลในสัดส่วนสูง รองรับการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ จะมุ่งผลิตเครื่องมือแพทย์ใช้กับโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีค่าใช้จ่ายการรักษาสูง โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ 1.โรคหัวใจและหลอดเลือด 2.โรคเบาหวาน 3.โรคมะเร็ง 4.โรคความดันโลหิตสูง 5.โรคไตเรื้อรัง ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะการ จะสร้างความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล็กไทย มุ่งสู่การผลิตเหล็กเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ เหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กท่อ เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างสำเร็จรูป
หนุนหุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติ
นายภาสกรกล่าวว่า ขณะที่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ส่งเสริมให้มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงส่งเสริมกิจการออกแบบ สร้างนวัตกรรม และพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เน้นดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำและเทคโนโลยีขั้นสูง ยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเดิมให้มี High Value/ High Technology รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาต่อยอด อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพลาสติกชีวภาพ เคมีชีวภาพ และโอลิโอเคมีคอล ขณะที่อุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มสินค้าอาหารพื้นฐานที่เป็นความมั่นคงทางอาหาร และกลุ่มสินค้าอนาคต (Future Food) มุ่งเน้นสร้างรายได้ เพื่อยกระดับประเทศไปสู่ประเทศรายได้สูง และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เช่น Technical Fiber, Technical Textile และ Fashion Brand นอกจากนี้ ยังพัฒนาปัจจัยแวดล้อมธุรกิจที่เป็นส่วนสนับสนุนให้การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในภาพรวมดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนากำลังคน การวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิต การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ตลท.แจ้งทอท.ชี้แจงหุ้นวูบ
นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงกรณีราคาหุ้น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงกว่า 13.76% เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ว่า จากกรณีราคาหุ้น ทอท.ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงกว่า 13.76% เบื้องต้นทางตลาดหลักทรัพย์ฯได้ขอให้ทางบริษัทออกมาชี้แจงถึงกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลอย่างชัดเจนถึงกรณีที่เกิดขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า หุ้น ทอท.ปิดตลาดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ปรับตัวลดลง 13.76% หรือลดลง 7.50 บาท อยู่ที่ 47.00 บาท มูลค่าซื้อขาย 8,720.08 ล้านบาท เมื่อเทียบจากราคาวันก่อนหน้า
ตลท.จ่อถกคลังฟื้นตลาดหุ้น
นายอัสสเดชกล่าวว่า สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยขณะนี้ยอมรับว่ามีความผันผวนมากกว่าช่วงปกติ โดย ตลท.หารือร่วมกับกระทรวงการคลังเบื้องต้น เพื่อหามาตรการสร้างความเชื่อมั่นตลาดหุ้นไทย อาทิ การเพิ่มเม็ดเงินใหม่ในตลาด ผ่านกองทุนแอลทีเอฟ ว่าจะนำเม็ดเงินส่วนนี้ขยายไปยังกองทุนไทย อีเอสจีได้ด้วยหรือไม่ อาทิ การพิจารณากลไกว่าจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิผลที่สุด มองทั้งมุมการสนับสนุนความยั่งยืน (อีเอสจี) รวมถึงการใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนทางภาษีจะได้ทั้งหมดเหมือนแอลทีเอฟหรือไม่ ต้องรอให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ประกาศรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้ง
นายอัสสเดชกล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯจากนี้วางไว้ 3 ระยะ เป็นระยะสั้น กลาง ยาว โดยระยะสั้นจะเริ่มดำเนินมาตรการ Co-location ในไตรมาส 2/2568 ปรับให้เป็นบริการพื้นฐานเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับผู้ลงทุนทุกกลุ่ม เป็นบริการพื้นฐานที่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สามารถใช้บริการฟรี มีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าสาธารณูปโภค อาทิ ค่าไฟฟ้า ซึ่งผู้ลงทุนที่เป็นลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้สามารถได้ประโยชน์จากบริการนี้ คาดว่าหลังไตรมาส 2 ปีนี้น่าจะมีบริษัทหลักทรัพย์ใช้บริการมากกว่าครึ่งหนึ่ง
เล็งเปิดตัวจัมพ์พลัสเพิ่มมูลค่า
นายอัสสเดชกล่าวต่อว่า ส่วนระยะกลาง เป็นโครงการจัมพ์พลัส (Jump+) จะเปิดตัวภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นโครงการที่มุ่งเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจในระยะ 3 ปีข้างหน้า หัวใจหลักของโครงการ 4 ด้าน คือ 1.Growth 2.Visibility 3.Incentive และ 4.Trust & Confidence โดยจะมีสิทธิประโยชน์ให้กับบริษัทที่ร่วมโครงการและบริษัทที่สามารถพัฒนาได้ตามแผนที่วางไว้ อาทิ การสนับสนุนค่าที่ปรึกษา หรือ FA การโรดโชว์ทั้งในและต่างประเทศ หรือการหารือแนวทางสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกำไรที่ทำได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ การสนับสนุนการทำ M&A หรือการควบรวมกิจการ เป็นกลไกที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งขึ้น แข่งขันได้ทั่วโลก
นายอัสสเดชกล่าวว่า รวมทั้งหารือภาครัฐว่าจะสนับสนุนได้อย่างไร รวมถึง Treasury Stock กลไกช่วยให้มูลค่าของกิจการสะท้อนได้อย่างเหมาะสม ตลาดหลักทรัพย์ฯหารือร่วมกับ ก.ล.ต. และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อปรับกฎเกณฑ์ของระยะเวลาการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนให้สะดวก คล่องตัว และเหมาะสม โดยศึกษาจากกฎเกณฑ์ของต่างประเทศเพื่อนำมาปรับใช้
นายอัสสเดชกล่าวว่า ส่วนระยะยาว เป็นการสนับสนุนให้ไทยเป็น Listing hub แหล่งระดมทุนของบริษัทในภูมิภาคและทั่วโลก เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย สร้างความง่ายในการประกอบธุรกิจ
"ตลท.จะไม่คิดภาษีย้อนหลังกับบริษัทที่อยู่นอกตลาดหุ้น 3 ปี ซึ่งบริษัทจดทะเบียน (บจ.) เข้าไปควบรวมกิจการด้วย เป็นหนึ่งในมาตรการจัมพ์พลัส แต่ต้องเป็น บจ.ที่ประพฤติดีเท่านั้น เนื่องจากจะช่วยให้เกิดการเติบโตมากขึ้นได้ และหากบริษัทเหล่านี้เติบโต ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาวได้ จากการหารือร่วมกับทางกระทรวงการคลังก็มีท่าทีเห็นด้วยกับนโยบายที่ไม่ทำให้รายได้ของรัฐบาลลดลง" นายอัสสเดชกล่าว
คิงเพาเวอร์เลื่อนจ่ายตอบแทน
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้ อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.เมื่อเดือนมกราคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจัดเก็บกับคู่สัญญากลุ่มคิง เพาเวอร์ ในการบริหารพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) จากกรณีผู้รับสัมปทานที่เช่าพื้นที่ของ ทอท.เริ่มขาดสภาพคล่องและจ่ายเงินล่าช้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 และปริมาณผู้โดยสารยังไม่กลับมาฟ้นตัวอย่างคาดการณ์ไว้ ขณะนี้ ทอท.มียอดค้างชำระจ่ายจากทุกคู่สัญญากว่า 5,000 ล้านบาท เพราะยังจ่ายเบี้ยปรับอย่างต่อเนื่อง มีหนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร (Bank Guarantee) อยู่ด้วย ในจำนวนนี้เป็นของกลุ่ม คิง เพาเวอร์ ประมาณ 4,000 ล้านบาท เริ่มปรับมาตั้งแต่สิงหาคม 2567 เอกชนได้เจรจาขอให้ลดค่าปรับลง ทอท.อาจปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจาก 18% ต่อปี เป็น MLR+2 อยู่ที่ประมาณกว่า 9% ต่อปี เพื่อช่วยเหลือและเป็นส่วนหนึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่ยืนยันจะไม่ปรับแก้ไขสัญญาแน่นอน และไม่กระทบต่อผลประกอบการของ ทอท. เพราะบริษัทคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ยังคงจ่าย แต่จ่ายช้า ทอท.ยังรับรายได้เท่าเดิม อาจมากขึ้นจากการเรียกเก็บค่าปรับเป็นดอกเบี้ยตามสัญญาประมาณ 18% ของยอดเงินผิดนัดชำระ
สอท.แนะใช้เมดอินไทยแลนด์
นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงข้อเสนอแนะสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2568 ว่า ข้อเสนอแนะจากภาคอุตสาหกรรม คือ ต้องแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะถ้าสถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดีขึ้น ผู้ค้าวัสดุก่อสร้างก็ฟ้นตัวดีขึ้นตามเช่นกัน การส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเน้นใช้สินค้าผลิตจากประเทศไทย หรือเมดอินไทยแลนด์ เป็นอีกหนึ่งข้อเสนอแนะที่สำคัญ ปัจจุบันรัฐบาลทำได้ดีคือใช้เฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ถือว่าเป็นกำลังสำคัญ แต่ถ้าขยายผลมาถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการภายในประเทศในภาคเอกชนด้วยกันเอง เช่น โรงงานในไทยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เวลาจะใช้วัสดุก่อสร้าง อยากให้เน้นการใช้วัสดุจากผู้ค้าไทย หรือผลิตโดยประเทศไทยเป็นหลัก รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ ก็ควรขยายมาถึงเอกชนเช่นเดียวกัน อาทิ การลดหย่อนภาษี สิ่งเหล่านี้คิดว่าจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น
รื้อบ้านบีโอไอรับบ้านเพื่อคนไทย
รายงานข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ส.1/2568 เรื่อง การปรับปรุงประเภทกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขในการให้การส่งเสริมกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนวัยทำงานกำลังเริ่มสร้างครอบครัว และกลุ่มผู้สูงอายุสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงออกประกาศ ให้ปรับปรุงเงื่อนไขในประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ส.1/2567 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2567 เรื่อง การให้การส่งเสริมกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
เพิ่มรายได้5หมื่น-เช่าได้ด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า
1.ที่อยู่อาศัยที่ขอรับการส่งเสริมกรณีก่อสร้างอาคารชุด ต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 24 ตร.ม. กรณีก่อสร้างบ้านแถวหรือบ้านเดี่ยว ต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 70 ตร.ม.
2.ที่อยู่อาศัยขอรับการส่งเสริมต้องจำหน่ายให้แก่บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย มีรายได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน
3.ต้องจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ 1 คนต่อ 1 หน่วย
4.ต้องจำหน่ายในราคารวมค่าที่ดิน หน่วยละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
5.ต้องมีที่พักอาศัยตามเงื่อนไขที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนที่พักอาศัยทั้งโครงการ
6.ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ ได้แก่ ที่จอดรถ กล้องวงจรปิดทั้งโครงการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง พนักงานทำความสะอาด พื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ในสัดส่วนเหมาะสม
7.แผนผังและแบบแปลนอาคารต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
8.ต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
9.ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริม
10.เงินลงทุนนำมาคำนวณเพื่อประโยชน์ ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะนับเฉพาะค่าก่อสร้างถนน สาธารณูปโภค หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ใช้เป็นส่วนกลางสำหรับสาธารณประโยชน์ของโครงการเท่านั้น ไม่รวมค่าก่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้าน อาคาร หรืออาคารพาณิชย์ไม่ว่าเพื่อเช่าหรือจำหน่าย คำนวณมูลค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามสัดส่วนพื้นที่ของที่พักอาศัยตามเงื่อนไขที่สำนักงานกำหนด
11.ไม่สามารถขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการอื่นๆ ได้
12.สามารถแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มขนาดกิจการได้ภายในระยะเวลาที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ 13.ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2568 ให้ใช้บังคับกับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป
อสังหาฯหนุนช่วยคนมีบ้านในเมือง
นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบ และก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ดูจากประกาศเงื่อนไขบ้าน บีโอไอฉบับล่าสุด แตกต่างจากฉบับเดิมที่ 7 องค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ เคยยื่นขอให้รัฐบาลสมัยนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีและออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 คือ เรื่องเกณฑ์ผู้ซื้อต้องมีรายได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน และมีทั้งการขายและการเช่าได้ด้วย ดังนั้น จึงหมายความว่าต่อไปผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาคอนโดมิเนียมราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ในทำเลใจกลางเมือง เช่น สีลม เป็นต้น และได้เช่าที่ดินระยะยาวจากเจ้าของที่ดินที่ไม่ประสงค์จะขาย ก็สามารถขอพัฒนาเป็นบ้านบีโอไอได้ เนื่องจากจะไม่มีต้นทุนค่าที่ดินสูงเหมือนเมื่อก่อน และยังสามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย แต่ต้องพัฒนาในรูปแบบการเช่าระยะยาวซึ่งกฎหมายปัจจุบันให้อยู่ที่ 30 ปี ต่อได้ 30 ปี ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์เสนอให้ขยายระยะเวลาการเช่าได้ถึง 60 ปี ส่วนการขยายสัญญาเช่ากฎหมายทรัพย์อิงสิทธิจาก 30 ปี เป็น 99 ปี เป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการคงต้องใช้เวลา
"ถือว่าเป็นผลดีที่มีปรับเงื่อนไขใหม่ เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะบ้านเพื่อคนไทยที่ได้ดำเนินการไปแล้ว อีกทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อเอกชนด้วย ในการพัฒนาที่ดินในทำเลที่ดี แต่เจ้าของที่ดินไม่ประสงค์จะขาย ให้ดำเนินการแบบสิทธิการเช่า เช่นเดียวกับที่ดินของภาครัฐได้ ถ้าเอกชนดำเนินการจะสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลงได้ ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท เพราะไม่มีต้นทุนเรื่องของที่ดิน รองรับกำลังซื้อผู้มีรายได้น้อย ที่ต้องการอยู่ในทำเลในเมือง ใกล้ที่ทำงาน แต่ที่ผ่านมาด้วยต้นทุนและราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้า ทำให้เอกชนไม่สามารถพัฒนาบ้านหรือคอนโดราคาถูกออกสู่ตลาดได้ หากจะทำในราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ต้องไปในทำเลอยู่นอกเมืองไปแล้ว ดังนั้นเมื่อมีเงื่อนไขนี้จะเป็นการจูงใจเอกชนให้ดำเนินการได้มากขึ้น" นายอิสระกล่าว
เสนาชงเช่ายาว99ปีดึงต่างชาติ
น.ส.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการบ้านเพื่อคนไทยให้เช่าเริ่มต้น 4,000 บาทต่อเดือน เป็นการช่วยผู้มีรายได้น้อย ให้มีที่อยู่อาศัย หลังจากไม่สามารถซื้อได้ รวมถึงยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย เพราะทำให้มีการก่อสร้างและจ้างงานเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูรูปแบบการพัฒนาโครงการ ทั้งในแง่ทำเลและราคา นอกจาก 4 ทำเลนำร่องที่ประกาศออกมาแล้ว โครงการบ้านเพื่อคนไทยถือว่าไม่ส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัยในระดับราคาต่ำ 3 ล้านบาท เนื่องจากพัฒนาบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นการให้เช่าระยะยาวและอยู่คนละทำเล
"ส่วนการที่รัฐบาลจะขยายเวลาการเช่า 99 ปี ถือว่าส่งผลดีในหลายเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยอย่างเดียว แต่ถ้ามองทั้งในแง่ของที่อยู่อาศัยแล้วจะส่งผลดีต่อตลาดลูกค้าต่างชาติที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่สองอยู่ในประเทศไทย เช่น ภูเก็ต เป็นต้น จึงน่าจะถึงเวลาที่มีการเช่าเกิน 30 ปีได้แล้ว เพราะดอกเบี้ยก็ยังสูง การคืนทุนก็ช้า ทำให้การพัฒนายังได้แค่ 30 ปี ทำให้ไม่เป็นที่สนใจต่อการลงทุนพัฒนาโครงการ" น.ส.เกษรากล่าว
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างบนทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) ว่า ปัจจุบันถนนพระราม 2 โครงการก่อสร้างมีความคืบหน้า อย่างต่อเนื่อง โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก เป็นโครงการภายใต้ความรับผิดชอบโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ล่าสุดความก้าวหน้าภาพรวมโครงการอยู่ที่ 87.06% ทุกสัญญางานด้านโยธาจะแล้วเสร็จภายในช่วงพฤศจิกายน 2568 และจะพิจารณาแนวทางการเปิดให้ประชาชนใช้บริการต่อไป สำหรับโครงการมอเตอร์เวย์ หมายเลข 82 สายบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว (M82) ระยะทาง 25 กม. ขณะนี้ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย 3 สัญญา คืบหน้าแล้ว 98.42% ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว 10 สัญญา คืบหน้าแล้ว 70.60% งานโยธาคาดแล้วเสร็จช่วงพฤศจิกายน 2568 ส่วนงานระบบปัจจุบันอยู่ระหว่างคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน คาดได้ข้อสรุปภายในปี 2568-2569 เริ่มก่อสร้าง รวมถึงดำเนินการงานด้านระบบปี 2569 คาดแล้วเสร็จปี 2571 ระหว่างดำเนินการงานระบบจะเปิดให้ประชาชนวิ่งโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมผ่านทาง
ทล.แจงความคืบหน้าM82
นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 ว่า โครงการก่อสร้างบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 คืบหน้าดังนี้ แยกต่างระดับ บางขุนเทียน-เอกชัย สัญญา 1 คืบหน้า 98.13% คาดเสร็จมีนาคม 2568 สัญญา 2 คืบหน้า 98.41% คาดเสร็จกุมภาพันธ์ 2568 สัญญา 3 คืบหน้า 98.73% คาดเสร็จกุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 เอกชัยบ้านแพ้ว สัญญา 1 คืบหน้า 78.66% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 2 คืบหน้า 73.44% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 3 คืบหน้า 77.21% คาดเสร็จ สิงหาคม 2568 สัญญา 4 คืบหน้า 55.53% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 5 คืบหน้า 82.96% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 6 คืบหน้า 54.84% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 7 คืบหน้า 45.94% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 สัญญา 8 คืบหน้า 77.98% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 9 คืบหน้า 87.78% คาดเสร็จสิงหาคม 2568 สัญญา 10 คืบหน้า 71.65% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568 และโครงการบ้านแพ้ว คืบหน้า 80.93% คาดเสร็จพฤศจิกายน 2568
สคร.แจง2แสนล.ซื้อรถไฟฟ้า
นายธิบดี วัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคมจะร่วมกันตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ทำหน้าที่พิจารณาว่าจะใช้รายได้โครงการรถไฟฟ้าสายสีใดบ้างมาสำรองเงินของกองทุน โครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายของรัฐบาล กรณีบริษัทเอกชนได้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯตกลงขายสัญญาสัมปทานทั้งหมดให้รัฐบาล จะทำให้การทำโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทง่ายขึ้น รัฐจะใช้โครงการรถไฟฟ้าเป็นสินทรัพย์ แปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ เพื่อใช้เงินทุนจากนักลงทุนเข้าลงลงทุนในตราสารทางการเงินฉบับนี้ ประเมินว่าจะต้องมีเงินทุนราว 2 แสนล้านบาท เพื่อมาจ่ายค่าซื้อสัมปทานให้เอกชนเจ้าของสัมปทานเดิม แต่กรณีเอกชนเจ้าของสัมปทานไม่ยอมขายสัมปทานคืนให้กับรัฐ อาจต้องเจรจาเพื่อขอแก้ไขสัญญาสัมปทาน เพื่อให้รัฐสามารถทำโครงการ 20 บาทตลอดสายได้ ต้องคำนวณว่าจะต้องจ่ายชดเชยให้เอกชนเจ้าของสัมปทานเดือนละเท่าไหร่ ต้องจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในโครงการนี้ คาดว่าจะใช้เงินทุนไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท
"การเจรจาเพื่อขอซื้อสัมปทานจากเอกชนไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเอกชนและรัฐอาจมีมุมมองในแง่การไหลเวียนของเงินในแต่ละโครงการแตกต่างกัน เอกชนอาจมองการไหลเวียนของเงินสูง ขณะภาครัฐอาจมองต่ำกว่า" นายธิบดีกล่าว
ค่าไฟพ.ค.-ส.ค.จับตาทรัมป์-ค่าเงิน
นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และโฆษก กกพ. เปิดเผยถึงกรณีนาย พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ระบุแนวทางการลดค่าไฟลง 17 สตางค์ต่อหน่วย เหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เสี่ยงถูกผู้ผลิตไฟฟ้าฟ้องร้อง และเลือกการบริหารจัดการเชื้อเพลิงผลิตไฟแทนคาดค่าไฟจะลดลงได้เกือบ 40 สตางค์ ว่า ข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการปรับลดค่าไฟ 17 สตางค์ต่อหน่วยของ กกพ.เป็นเรื่องนโยบาย ต้องหารือ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนการปรับลดค่าไฟลง 40 สตางค์ต่อหน่วย เป็นนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต้องดูข้อมูลทั้งหมดว่าจะลดในส่วนใดได้บ้าง กกพ.พร้อมร่วมสนับสนุน สำหรับแนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2568 ต้องรอดูต้นทุนค่าเชื้อเพลิงแต่ละประเภท โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ราคาเริ่มสูงขึ้น ประกอบกับผลจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทว่าเป็นอย่างไร เพื่อประกอบการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้าย กกพ.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นวันที่ 7 มีนาคมนี้ เบื้องต้นจะมี 3 ทางเลือกเหมือนเดิม ก่อนประกาศอัตราค่าไฟอย่างเป็นทางการเพื่อเริ่มบังคับใช้เดือนพฤษภาคม 2568
ธนารักษ์อัพเกรดประเมินที่ดิน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า กรมเตรียมนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ยกระดับการจัดการทรัพย์สินของกรม ทั้งที่ราชพัสดุ เหรียญกษาปณ์ รวมทั้งการประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศ จะช่วยในมิติเศรษฐกิจและสังคม การประเมินที่ดินนั้นจะใช้เทคโนโลยี อาทิ ดาวเทียม ใช้สำรวจที่ดินโดยละเอียดในระดับแปลง ตัวอย่างเช่น เจ้าของที่ดินบางรายอาจมีปัญหา ทำไมที่ดินตาบอดราคาแพง หรือปัญหามีที่ดินทำเลดี แต่ขายได้ราคาต่ำกว่าตลาด การยกระดับนี้จะทำให้ราคาประเมินที่ดินใกล้เคียงราคาตลาดมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้ประหยัดต้นทุนในการประเมินราคาที่ดิน เช่น เวลาประเมินที่ดินเพื่อค้ำประกันเงินกู้ปกติ สถาบันการเงินจะใช้วิธีจ้างบริษัทประเมินราคา 3 ราย แล้วนำราคามาเทียบกัน ให้ได้ราคาเหมาะสมที่สุด ฉะนั้นถ้าราคาประเมินของธนารักษ์ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้นจะทำให้ประชาชนและสถาบันการเงินนำไปใช้อ้างอิงได้จริง
"ที่ผ่านราคาประเมินที่ดินของธนารักษ์ค่อนข้างต่ำกว่าราคาตลาด ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่นำไปอ้างอิง เวลาขายหรือใช้เป็นราคาหลักทรัพย์ค้ำประกัน รวมทั้งราคาที่ดินใหม่จะทำเป็นรายแปลงทั้งหมด รวมทั้งอนาคตจะเชื่อมข้อมูลกับกรมที่ดินต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลการแบ่งแปลงที่ดินเรียลไทม์มากขึ้น" นายเอกนิติกล่าว
ใช้เทคโนโลยีช่วยประเมินราคา
นายเอกนิติกล่าวว่า การปรับราคาประเมินของกรมธนารักษ์จะทำทุก 4 ปี รอบถัดไปจะเป็นปี 2570 คาดว่าจะนำราคาประเมินใหม่ใช้เทคโนโลยีช่วยเก็บรายละเอียด จะได้ราคาตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กรมธนารักษ์จะทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาที่ราชพัสดุ นำที่ดินมาใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม สัปดาห์นี้จะเตรียมประชุมจัดทำมาสเตอร์แพลน แผนบริหารจัดการทรัพย์สินของกรมธนารักษ์ทั่วประเทศเพื่อยกระดับทรัพย์สินของรัฐ จากที่ราชพัสดุ 12.5 ล้านไร่ เช่น ทำพิพิธภัณฑ์ หรือให้เช่าเชิงพาณิชย์ จะช่วยให้เกิดการใช้ทรัพย์ได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงยกระดับเหรียญกษาปณ์ให้เป็นเหรียญที่ระลึก เหรียญกษาปณ์บางรุ่นเป็นที่รู้จักในกลุ่มนักสะสมทั้งในและต่างประเทศและมีมูลค่าสูง รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาลด้วย อย่างไรก็ดี ในปีงบประมาณ 2568 กรมมีเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ ตามเอกสารงบประมาณกรมมีเป้า 1.06 หมื่นล้านบาทขยายตัวจากปีที่แล้วเล็กน้อย การใช้เทคโนโลยียกระดับทรัพย์สินนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มเรื่องรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เชื่อว่ากรมจัดเก็บรายได้ เข้าเป้าหมายแน่นอน
ชงครม.ปรับโครงสร้าง9อุต
นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ได้เดินหน้ายกร่างมาตรการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม โดยระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย มาตรการสนับสนุนในระยะสั้น กลาง ยาว รวมถึงโครงการเร่งด่วนให้เกิดผลเร็ว (Quick Win) และทิศทางโครงสร้างอุตสาหกรรม 9 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมพลาสติก อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะการ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่านายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2568
"การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจะช่วยพลิกฟ้นภาคอุตสาหกรรมไทยให้เป็นเครื่องยนต์สำคัญจะเพิ่มแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้มากขึ้น ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ตั้งเป้าให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนผลักดันจีดีพีของประเทศเติบโตไม่น้อยกว่า 1% โดยไม่ใช้งบประมาณ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งเน้นปฏิรูปอุตสาหกรรม สู่เศรษฐกิจยุคใหม่โปร่งใส" นายภาสกรกล่าว
บูมโปรดักต์แชมเปี้ยนไทย
นายภาสกรกล่าวว่า รายละเอียดแต่ละสาขาอุตสาหกรรมได้กำหนดทิศทางการพัฒนาและผลิตภัณฑ์เป้าหมายการปรับโครงสร้าง ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพเป็นฐานการผลิต หรือ โปรดักต์ แชมเปี้ยน (Product Champion) เช่น รถยนต์นั่ง รถกระบะ 1 ตัน กลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ประกอบด้วย รถยนต์ไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle: HEV) รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (Plugin Hybrid Electric Vehicle: PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ล้วน (Battery Electric Vehicle: BEV) รวมทั้งกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก เน้นผลิตภัณฑ์พลาสติกมีส่วนผสมของพลาสติกรีไซเคิลในสัดส่วนสูง รองรับการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ จะมุ่งผลิตเครื่องมือแพทย์ใช้กับโรคที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและมีค่าใช้จ่ายการรักษาสูง โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ 1.โรคหัวใจและหลอดเลือด 2.โรคเบาหวาน 3.โรคมะเร็ง 4.โรคความดันโลหิตสูง 5.โรคไตเรื้อรัง ขณะที่อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะการ จะสร้างความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล็กไทย มุ่งสู่การผลิตเหล็กเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ เหล็กเส้น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กท่อ เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างสำเร็จรูป
หนุนหุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติ
นายภาสกรกล่าวว่า ขณะที่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ส่งเสริมให้มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงส่งเสริมกิจการออกแบบ สร้างนวัตกรรม และพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เน้นดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำและเทคโนโลยีขั้นสูง ยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าเดิมให้มี High Value/ High Technology รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาต่อยอด อุตสาหกรรมฐานชีวภาพ มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มพลาสติกชีวภาพ เคมีชีวภาพ และโอลิโอเคมีคอล ขณะที่อุตสาหกรรมอาหาร ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มสินค้าอาหารพื้นฐานที่เป็นความมั่นคงทางอาหาร และกลุ่มสินค้าอนาคต (Future Food) มุ่งเน้นสร้างรายได้ เพื่อยกระดับประเทศไปสู่ประเทศรายได้สูง และอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เช่น Technical Fiber, Technical Textile และ Fashion Brand นอกจากนี้ ยังพัฒนาปัจจัยแวดล้อมธุรกิจที่เป็นส่วนสนับสนุนให้การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในภาพรวมดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การพัฒนากำลังคน การวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม กระบวนการผลิต การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
ตลท.แจ้งทอท.ชี้แจงหุ้นวูบ
นายอัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึงกรณีราคาหุ้น บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงกว่า 13.76% เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ว่า จากกรณีราคาหุ้น ทอท.ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงกว่า 13.76% เบื้องต้นทางตลาดหลักทรัพย์ฯได้ขอให้ทางบริษัทออกมาชี้แจงถึงกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลอย่างชัดเจนถึงกรณีที่เกิดขึ้น
รายงานข่าวแจ้งว่า หุ้น ทอท.ปิดตลาดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ปรับตัวลดลง 13.76% หรือลดลง 7.50 บาท อยู่ที่ 47.00 บาท มูลค่าซื้อขาย 8,720.08 ล้านบาท เมื่อเทียบจากราคาวันก่อนหน้า
ตลท.จ่อถกคลังฟื้นตลาดหุ้น
นายอัสสเดชกล่าวว่า สำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยขณะนี้ยอมรับว่ามีความผันผวนมากกว่าช่วงปกติ โดย ตลท.หารือร่วมกับกระทรวงการคลังเบื้องต้น เพื่อหามาตรการสร้างความเชื่อมั่นตลาดหุ้นไทย อาทิ การเพิ่มเม็ดเงินใหม่ในตลาด ผ่านกองทุนแอลทีเอฟ ว่าจะนำเม็ดเงินส่วนนี้ขยายไปยังกองทุนไทย อีเอสจีได้ด้วยหรือไม่ อาทิ การพิจารณากลไกว่าจะทำอย่างไรให้มีประสิทธิผลที่สุด มองทั้งมุมการสนับสนุนความยั่งยืน (อีเอสจี) รวมถึงการใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนทางภาษีจะได้ทั้งหมดเหมือนแอลทีเอฟหรือไม่ ต้องรอให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ประกาศรายละเอียดที่ชัดเจนอีกครั้ง
นายอัสสเดชกล่าวว่า แนวทางการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ฯจากนี้วางไว้ 3 ระยะ เป็นระยะสั้น กลาง ยาว โดยระยะสั้นจะเริ่มดำเนินมาตรการ Co-location ในไตรมาส 2/2568 ปรับให้เป็นบริการพื้นฐานเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับผู้ลงทุนทุกกลุ่ม เป็นบริการพื้นฐานที่บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) สามารถใช้บริการฟรี มีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าสาธารณูปโภค อาทิ ค่าไฟฟ้า ซึ่งผู้ลงทุนที่เป็นลูกค้าของบริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้สามารถได้ประโยชน์จากบริการนี้ คาดว่าหลังไตรมาส 2 ปีนี้น่าจะมีบริษัทหลักทรัพย์ใช้บริการมากกว่าครึ่งหนึ่ง
เล็งเปิดตัวจัมพ์พลัสเพิ่มมูลค่า
นายอัสสเดชกล่าวต่อว่า ส่วนระยะกลาง เป็นโครงการจัมพ์พลัส (Jump+) จะเปิดตัวภายในเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นโครงการที่มุ่งเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจในระยะ 3 ปีข้างหน้า หัวใจหลักของโครงการ 4 ด้าน คือ 1.Growth 2.Visibility 3.Incentive และ 4.Trust & Confidence โดยจะมีสิทธิประโยชน์ให้กับบริษัทที่ร่วมโครงการและบริษัทที่สามารถพัฒนาได้ตามแผนที่วางไว้ อาทิ การสนับสนุนค่าที่ปรึกษา หรือ FA การโรดโชว์ทั้งในและต่างประเทศ หรือการหารือแนวทางสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกำไรที่ทำได้เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ การสนับสนุนการทำ M&A หรือการควบรวมกิจการ เป็นกลไกที่ทำให้บริษัทจดทะเบียนแข็งแกร่งขึ้น แข่งขันได้ทั่วโลก
นายอัสสเดชกล่าวว่า รวมทั้งหารือภาครัฐว่าจะสนับสนุนได้อย่างไร รวมถึง Treasury Stock กลไกช่วยให้มูลค่าของกิจการสะท้อนได้อย่างเหมาะสม ตลาดหลักทรัพย์ฯหารือร่วมกับ ก.ล.ต. และกระทรวงพาณิชย์ เพื่อปรับกฎเกณฑ์ของระยะเวลาการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนให้สะดวก คล่องตัว และเหมาะสม โดยศึกษาจากกฎเกณฑ์ของต่างประเทศเพื่อนำมาปรับใช้
นายอัสสเดชกล่าวว่า ส่วนระยะยาว เป็นการสนับสนุนให้ไทยเป็น Listing hub แหล่งระดมทุนของบริษัทในภูมิภาคและทั่วโลก เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย สร้างความง่ายในการประกอบธุรกิจ
"ตลท.จะไม่คิดภาษีย้อนหลังกับบริษัทที่อยู่นอกตลาดหุ้น 3 ปี ซึ่งบริษัทจดทะเบียน (บจ.) เข้าไปควบรวมกิจการด้วย เป็นหนึ่งในมาตรการจัมพ์พลัส แต่ต้องเป็น บจ.ที่ประพฤติดีเท่านั้น เนื่องจากจะช่วยให้เกิดการเติบโตมากขึ้นได้ และหากบริษัทเหล่านี้เติบโต ก็จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในระยะยาวได้ จากการหารือร่วมกับทางกระทรวงการคลังก็มีท่าทีเห็นด้วยกับนโยบายที่ไม่ทำให้รายได้ของรัฐบาลลดลง" นายอัสสเดชกล่าว
คิงเพาเวอร์เลื่อนจ่ายตอบแทน
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้ อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.เมื่อเดือนมกราคม 2568 ได้มีมติเห็นชอบให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจัดเก็บกับคู่สัญญากลุ่มคิง เพาเวอร์ ในการบริหารพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) จากกรณีผู้รับสัมปทานที่เช่าพื้นที่ของ ทอท.เริ่มขาดสภาพคล่องและจ่ายเงินล่าช้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 และปริมาณผู้โดยสารยังไม่กลับมาฟ้นตัวอย่างคาดการณ์ไว้ ขณะนี้ ทอท.มียอดค้างชำระจ่ายจากทุกคู่สัญญากว่า 5,000 ล้านบาท เพราะยังจ่ายเบี้ยปรับอย่างต่อเนื่อง มีหนังสือค้ำประกันโดยธนาคาร (Bank Guarantee) อยู่ด้วย ในจำนวนนี้เป็นของกลุ่ม คิง เพาเวอร์ ประมาณ 4,000 ล้านบาท เริ่มปรับมาตั้งแต่สิงหาคม 2567 เอกชนได้เจรจาขอให้ลดค่าปรับลง ทอท.อาจปรับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจาก 18% ต่อปี เป็น MLR+2 อยู่ที่ประมาณกว่า 9% ต่อปี เพื่อช่วยเหลือและเป็นส่วนหนึ่งทำให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่ยืนยันจะไม่ปรับแก้ไขสัญญาแน่นอน และไม่กระทบต่อผลประกอบการของ ทอท. เพราะบริษัทคิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด ยังคงจ่าย แต่จ่ายช้า ทอท.ยังรับรายได้เท่าเดิม อาจมากขึ้นจากการเรียกเก็บค่าปรับเป็นดอกเบี้ยตามสัญญาประมาณ 18% ของยอดเงินผิดนัดชำระ
สอท.แนะใช้เมดอินไทยแลนด์
นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงข้อเสนอแนะสำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2568 ว่า ข้อเสนอแนะจากภาคอุตสาหกรรม คือ ต้องแก้ปัญหาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะถ้าสถานการณ์ในแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ดีขึ้น ผู้ค้าวัสดุก่อสร้างก็ฟ้นตัวดีขึ้นตามเช่นกัน การส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเน้นใช้สินค้าผลิตจากประเทศไทย หรือเมดอินไทยแลนด์ เป็นอีกหนึ่งข้อเสนอแนะที่สำคัญ ปัจจุบันรัฐบาลทำได้ดีคือใช้เฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ถือว่าเป็นกำลังสำคัญ แต่ถ้าขยายผลมาถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการภายในประเทศในภาคเอกชนด้วยกันเอง เช่น โรงงานในไทยได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เวลาจะใช้วัสดุก่อสร้าง อยากให้เน้นการใช้วัสดุจากผู้ค้าไทย หรือผลิตโดยประเทศไทยเป็นหลัก รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ ก็ควรขยายมาถึงเอกชนเช่นเดียวกัน อาทิ การลดหย่อนภาษี สิ่งเหล่านี้คิดว่าจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้ดีขึ้น
รื้อบ้านบีโอไอรับบ้านเพื่อคนไทย
รายงานข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2568 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ส.1/2568 เรื่อง การปรับปรุงประเภทกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขในการให้การส่งเสริมกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย กลุ่มคนวัยทำงานกำลังเริ่มสร้างครอบครัว และกลุ่มผู้สูงอายุสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงออกประกาศ ให้ปรับปรุงเงื่อนไขในประเภทกิจการที่ได้รับการส่งเสริม โดยให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ส.1/2567 ลงวันที่ 15 มีนาคม 2567 เรื่อง การให้การส่งเสริมกิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
เพิ่มรายได้5หมื่น-เช่าได้ด้วย
รายงานข่าวแจ้งว่า
1.ที่อยู่อาศัยที่ขอรับการส่งเสริมกรณีก่อสร้างอาคารชุด ต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 24 ตร.ม. กรณีก่อสร้างบ้านแถวหรือบ้านเดี่ยว ต้องมีพื้นที่ใช้สอยต่อหน่วยไม่น้อยกว่า 70 ตร.ม.
2.ที่อยู่อาศัยขอรับการส่งเสริมต้องจำหน่ายให้แก่บุคคลธรรมดาสัญชาติไทย มีรายได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน
3.ต้องจำหน่ายให้กับผู้ซื้อ 1 คนต่อ 1 หน่วย
4.ต้องจำหน่ายในราคารวมค่าที่ดิน หน่วยละไม่เกิน 1.5 ล้านบาท
5.ต้องมีที่พักอาศัยตามเงื่อนไขที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนที่พักอาศัยทั้งโครงการ
6.ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการ ได้แก่ ที่จอดรถ กล้องวงจรปิดทั้งโครงการ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง พนักงานทำความสะอาด พื้นที่ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ในสัดส่วนเหมาะสม
7.แผนผังและแบบแปลนอาคารต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
8.ต้องได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
9.ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริม
10.เงินลงทุนนำมาคำนวณเพื่อประโยชน์ ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะนับเฉพาะค่าก่อสร้างถนน สาธารณูปโภค หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ใช้เป็นส่วนกลางสำหรับสาธารณประโยชน์ของโครงการเท่านั้น ไม่รวมค่าก่อสร้างที่อยู่อาศัย บ้าน อาคาร หรืออาคารพาณิชย์ไม่ว่าเพื่อเช่าหรือจำหน่าย คำนวณมูลค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามสัดส่วนพื้นที่ของที่พักอาศัยตามเงื่อนไขที่สำนักงานกำหนด
11.ไม่สามารถขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรการอื่นๆ ได้
12.สามารถแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มขนาดกิจการได้ภายในระยะเวลาที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ 13.ต้องยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2568 ให้ใช้บังคับกับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ออกประกาศเป็นต้นไป
อสังหาฯหนุนช่วยคนมีบ้านในเมือง
นายอิสระ บุญยัง ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ออกแบบ และก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ดูจากประกาศเงื่อนไขบ้าน บีโอไอฉบับล่าสุด แตกต่างจากฉบับเดิมที่ 7 องค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ เคยยื่นขอให้รัฐบาลสมัยนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรีและออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ออกมาเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 คือ เรื่องเกณฑ์ผู้ซื้อต้องมีรายได้สุทธิไม่เกิน 50,000 บาทต่อเดือน และมีทั้งการขายและการเช่าได้ด้วย ดังนั้น จึงหมายความว่าต่อไปผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาคอนโดมิเนียมราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ในทำเลใจกลางเมือง เช่น สีลม เป็นต้น และได้เช่าที่ดินระยะยาวจากเจ้าของที่ดินที่ไม่ประสงค์จะขาย ก็สามารถขอพัฒนาเป็นบ้านบีโอไอได้ เนื่องจากจะไม่มีต้นทุนค่าที่ดินสูงเหมือนเมื่อก่อน และยังสามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย แต่ต้องพัฒนาในรูปแบบการเช่าระยะยาวซึ่งกฎหมายปัจจุบันให้อยู่ที่ 30 ปี ต่อได้ 30 ปี ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์เสนอให้ขยายระยะเวลาการเช่าได้ถึง 60 ปี ส่วนการขยายสัญญาเช่ากฎหมายทรัพย์อิงสิทธิจาก 30 ปี เป็น 99 ปี เป็นนโยบายของรัฐบาลที่กำลังดำเนินการคงต้องใช้เวลา
"ถือว่าเป็นผลดีที่มีปรับเงื่อนไขใหม่ เพื่อรองรับนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะบ้านเพื่อคนไทยที่ได้ดำเนินการไปแล้ว อีกทั้งจะเป็นประโยชน์ต่อเอกชนด้วย ในการพัฒนาที่ดินในทำเลที่ดี แต่เจ้าของที่ดินไม่ประสงค์จะขาย ให้ดำเนินการแบบสิทธิการเช่า เช่นเดียวกับที่ดินของภาครัฐได้ ถ้าเอกชนดำเนินการจะสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลงได้ ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท เพราะไม่มีต้นทุนเรื่องของที่ดิน รองรับกำลังซื้อผู้มีรายได้น้อย ที่ต้องการอยู่ในทำเลในเมือง ใกล้ที่ทำงาน แต่ที่ผ่านมาด้วยต้นทุนและราคาที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะแนวรถไฟฟ้า ทำให้เอกชนไม่สามารถพัฒนาบ้านหรือคอนโดราคาถูกออกสู่ตลาดได้ หากจะทำในราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ต้องไปในทำเลอยู่นอกเมืองไปแล้ว ดังนั้นเมื่อมีเงื่อนไขนี้จะเป็นการจูงใจเอกชนให้ดำเนินการได้มากขึ้น" นายอิสระกล่าว
เสนาชงเช่ายาว99ปีดึงต่างชาติ
น.ส.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โครงการบ้านเพื่อคนไทยให้เช่าเริ่มต้น 4,000 บาทต่อเดือน เป็นการช่วยผู้มีรายได้น้อย ให้มีที่อยู่อาศัย หลังจากไม่สามารถซื้อได้ รวมถึงยังเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย เพราะทำให้มีการก่อสร้างและจ้างงานเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูรูปแบบการพัฒนาโครงการ ทั้งในแง่ทำเลและราคา นอกจาก 4 ทำเลนำร่องที่ประกาศออกมาแล้ว โครงการบ้านเพื่อคนไทยถือว่าไม่ส่งผลต่อตลาดที่อยู่อาศัยในระดับราคาต่ำ 3 ล้านบาท เนื่องจากพัฒนาบนที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นการให้เช่าระยะยาวและอยู่คนละทำเล
"ส่วนการที่รัฐบาลจะขยายเวลาการเช่า 99 ปี ถือว่าส่งผลดีในหลายเรื่อง ไม่ใช่เฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยอย่างเดียว แต่ถ้ามองทั้งในแง่ของที่อยู่อาศัยแล้วจะส่งผลดีต่อตลาดลูกค้าต่างชาติที่ต้องการซื้อบ้านหลังที่สองอยู่ในประเทศไทย เช่น ภูเก็ต เป็นต้น จึงน่าจะถึงเวลาที่มีการเช่าเกิน 30 ปีได้แล้ว เพราะดอกเบี้ยก็ยังสูง การคืนทุนก็ช้า ทำให้การพัฒนายังได้แค่ 30 ปี ทำให้ไม่เป็นที่สนใจต่อการลงทุนพัฒนาโครงการ" น.ส.เกษรากล่าว
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ