คลังเล็งมาตรการอสังหา-ท่องเที่ยวเรียกความมั่นใจ
วันที่ : 2 เมษายน 2568
คลังประเมินธุรกิจ "อสังหา- ท่องเที่ยว" ได้รับผลกระทบโดยตรงจาก แผ่นดินไหว เร่งรัฐบาลสร้างความเชื่อมั่น และเตรียมออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ด้านครม.รับทราบโครงการ นำร่อง "บ้านเพื่อคนไทย" 4 โครงการ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึง จังหวัดเชียงใหม่
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากแผ่นดินไหว ยังไม่สามารถประเมินได้ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหลังจากแผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมานี้ หลังจากนั้น After Shock จะยังมีอยู่แต่ไม่รุนแรง ในด้านผลกระทบระยะสั้นต่อเศรษฐกิจไทยนั้น ในระยะสั้นจะมีต่ออุปสงค์ในประเทศที่อาจลดลง เพราะคนลดการใช้จ่ายในสินค้าบางประเภท และมี WFH แต่ไม่มีผลกระทบในระยะปานกลางและในระยะยาว เชื่อว่าความเชื่อมั่นจะกลับคืนมาหลังจากนี้
ในด้านภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอาคารสูง ที่ได้รับผลกระทบเชิงจิตวิทยาจากแผ่นดินไหว ที่อาจทำให้ความเชื่อมั่นในการเข้าซื้อคอนโดลดน้อยลง แต่เชื่อว่าในภาพรวมก็อาจมีการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปซื้อบ้านในแนวราบเพิ่มขึ้น ในส่วนของการประกันภัยที่อยู่อาศัยนั้น นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ได้กำชับให้ คปภ. ซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ได้ไปกำชับให้บริษัทประกันภัย พิจารณาจ่ายเงินค่าสินไหมประกันภัยจากกรณีผลกระทบจากแผ่นดินไหวโดยเร็ว
ออกมาตรการกระตุ้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า จากกรณีแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมานี้ กระทรวงการคลังได้ประเมินเบื้องต้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น และกระทบต่อความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคท่องเที่ยว โดยในส่วนอสังหานั้น จะมีกระทบตรงต่ออาคารแนวดิ่งหรือคอนโดมิเนียม อย่างไรก็ดีในขณะนี้การสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งความเชื่อมั่นนี้ จะต้องพิสูจน์ด้วยหลักวิศวกรซึ่งแผ่นดินไหวที่ผ่านมา ไม่กระทบต่อตึกสูงในประเทศ ยกเว้นตึกของสตง.
โดยมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาที่ได้ผลมากที่สุด คือ มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองและมาตรการผ่อนคลาย LTV ซึ่งเคยใช้ 2 มาตรการนี้ ในช่วงโควิดเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาที่ทำให้ภาคอสังหา ขยายตัว 11-12%
นำร่องบ้านเพื่อคนไทย
ด้าน นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี รับทราบแนวทางดำเนินการโครงการ "บ้านเพื่อคนไทย" ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยจะนำร่องระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พร้อมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นพื้นที่ของ รฟท. ที่มีศักยภาพสูงสุดเป็นพื้นที่นำร่อง จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1. พื้นที่โครงการ กม. 11 ระยะ 1.1 กรุงเทพมหานคร 2.พื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี (ศิริราช) กรุงเทพมหานคร 3. พื้นที่รอบสถานีรถไฟจังหวัดเชียงใหม่ 4.พื้นที่รอบสถานีรถไฟเชียงราก จังหวัดปทุมธานี
ทั้งนี้ โครงการ "บ้านเพื่อคนไทย" เป็นการนำที่ดิน ของ รฟท. ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในปัจจุบันมาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยในราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้และอยู่ใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยประชาชนเข้าร่วมโครงการจะได้สิทธิในการเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี และต่ออายุได้อีก 30 ปี ซึ่งไปเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 540 บัญญัติห้ามมิให้เช่าให้อสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 30 ปี นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ และจัดสวัสดิการสังคม ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป สร้างความเท่าเทียมทางโอกาสและเศรษฐกิจ
ในด้านภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะอาคารสูง ที่ได้รับผลกระทบเชิงจิตวิทยาจากแผ่นดินไหว ที่อาจทำให้ความเชื่อมั่นในการเข้าซื้อคอนโดลดน้อยลง แต่เชื่อว่าในภาพรวมก็อาจมีการเคลื่อนย้ายเม็ดเงินไปซื้อบ้านในแนวราบเพิ่มขึ้น ในส่วนของการประกันภัยที่อยู่อาศัยนั้น นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ได้กำชับให้ คปภ. ซึ่งอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ได้ไปกำชับให้บริษัทประกันภัย พิจารณาจ่ายเงินค่าสินไหมประกันภัยจากกรณีผลกระทบจากแผ่นดินไหวโดยเร็ว
ออกมาตรการกระตุ้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า จากกรณีแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมานี้ กระทรวงการคลังได้ประเมินเบื้องต้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะสั้น และกระทบต่อความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคท่องเที่ยว โดยในส่วนอสังหานั้น จะมีกระทบตรงต่ออาคารแนวดิ่งหรือคอนโดมิเนียม อย่างไรก็ดีในขณะนี้การสร้างความเชื่อมั่นของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งความเชื่อมั่นนี้ จะต้องพิสูจน์ด้วยหลักวิศวกรซึ่งแผ่นดินไหวที่ผ่านมา ไม่กระทบต่อตึกสูงในประเทศ ยกเว้นตึกของสตง.
โดยมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาที่ได้ผลมากที่สุด คือ มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและการจดจำนองและมาตรการผ่อนคลาย LTV ซึ่งเคยใช้ 2 มาตรการนี้ ในช่วงโควิดเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาที่ทำให้ภาคอสังหา ขยายตัว 11-12%
นำร่องบ้านเพื่อคนไทย
ด้าน นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี รับทราบแนวทางดำเนินการโครงการ "บ้านเพื่อคนไทย" ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ โดยจะนำร่องระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พร้อมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
โดยพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นพื้นที่ของ รฟท. ที่มีศักยภาพสูงสุดเป็นพื้นที่นำร่อง จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1. พื้นที่โครงการ กม. 11 ระยะ 1.1 กรุงเทพมหานคร 2.พื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี (ศิริราช) กรุงเทพมหานคร 3. พื้นที่รอบสถานีรถไฟจังหวัดเชียงใหม่ 4.พื้นที่รอบสถานีรถไฟเชียงราก จังหวัดปทุมธานี
ทั้งนี้ โครงการ "บ้านเพื่อคนไทย" เป็นการนำที่ดิน ของ รฟท. ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในปัจจุบันมาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัยในราคาที่ประชาชนเข้าถึงได้และอยู่ใกล้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยประชาชนเข้าร่วมโครงการจะได้สิทธิในการเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี และต่ออายุได้อีก 30 ปี ซึ่งไปเป็นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 540 บัญญัติห้ามมิให้เช่าให้อสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 30 ปี นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริมพัฒนาศักยภาพ และจัดสวัสดิการสังคม ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป สร้างความเท่าเทียมทางโอกาสและเศรษฐกิจ
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ