ธอส.พุ่งเป้าสินเชื่อใหม่โตลุ้นมาตรการภาษีกระตุ้น
วันที่ : 28 มีนาคม 2568
ธอส.ประเมิน ภาพอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ฟื้นตัวรับผ่อนเกณฑ์ LTV ตั้งเป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 2568 ที่ 2.4 แสนล้านบาท คุม NPL ไม่เกิน 5% ด้านนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยรอมาตรการลดค่าโอน - จดจำนองเหลือ 0.01% เข้ามากระตุ้นยอดโอนช่วงไตรมาส 2/2568 โบรกยังมองนโยบายรัฐหนุนกลุ่มอสังหา
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ธอส. เปิดเผยว่า ธอส. ตั้งเป้ายอดปล่อยสินเชื่อใหม่ ไม่น้อยกว่า 240,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.7% จากปี 2567 ที่ปล่อยสินเชื่อได้ 236,000 ล้านบาท โดยยังคงดำเนินโครงการภายใต้ นโยบายของรัฐที่ยังมีวงเงินคงค้าง 2 โครงการ ประกอบด้วย 1. มาตรการซื้อ ซ่อม สร้าง ราว 5.5 หมื่นล้านบาท 2. โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 39, 33 และ 40 รวมถึงโครงการของธอส.เองที่ยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ จะยังคงสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ เพื่อการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้พลังงานทดแทน มีการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Loan เข้ามาสนับสนุนในการก่อสร้าง โดยตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อในกลุ่มนี้ประมาณ 13,000 ล้านบาท โดยจะควบคุมสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ (NPL) เฉลี่ยทั้งปี 2568 ในกรอบไม่เกิน 5%
ลุ้นมาตรการภาษี
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวถึง สถานการณ์อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายในปี 2568 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (เกณฑ์ LTV) ให้สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ 100% ของมูลค่าหลักประกันตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณานำมาตรการภาษี ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ จากปกติ 2% เหลือ 0.01% และลดค่าธรรมเนียมค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน จากปกติ 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ที่ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท กลับมาประกาศใช้ เบื้องต้นคาดว่าจะมีความชัดเจนก่อนการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV จะมีผลบังคับใช้ในไตรมาส 2/2568
"เมื่อทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะช่วยกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์โครงการได้อย่างมีนัยสำคัญ คำนวนจากมูลค่าบ้าน 3 ล้านบาท ผู้ซื้อสามารถประหยัดเงินได้ราว 3 แสนบาท ดังนั้นหากมีผลให้ทางปฏิบัติพร้อมกันในไตรมาส 2/2568 จะกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์โครงการที่ขายแล้วรอโอนได้เป็นอันดับแรก และกระตุ้นยอดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังได้เพราะก็จะไปโอนในปี 2569 ซึ่งก็จะเห็นอีกครั้งช่วงที่ใกล้สินสุดมาตรการ"
ชู AP ORI SPALI
นายสรพงษ์ จักรธีรังกูร ผู้อำนวยการ อาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวคาดการณ์กรณีที่รัฐบาล และธปท.ดำเนินมาตรการ กระตุ้นกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ว่า มีแนวโน้มจะกระตุ้นยอดขายใหม่ให้เร่งตัวขึ้นได้ราว 10-15% ทั้งนี้ยังคงมุมมองเป็นกลางต่อหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในระยะยาว เนื่องจากหลายบริษัทมีสินทรัพย์ที่เป็น หลักประกัน (Asset Backed) ที่แข็งแกร่ง และราคาหุ้นต่ำกว่า Book Value มาก รวมถึงมีอัตราเงินปันผลที่น่าสนใจ โดยนักลงทุนอาจรอซื้อเมื่อเห็นสัญญาณ การฟื้นตัวที่ชัดเจน ในหุ้นที่มีปัจจัยเฉพาะตัว อาทิ AP, ORI, SPALI
"สำหรับนักลงทุนระยะยาวอาจพิจารณาเข้าลงทุนในขณะนี้ โดยมองว่าตลาดได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และถือรอการฟื้นตัวของตลาด เพื่อโอกาสใน การได้รับทั้ง ส่วนต่างราคาหุ้น (Capital Gain) และเงินปันผล ที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตหากบริษัทมีกำไรดีขึ้น สำหรับนักลงทุนที่ต้องการความชัดเจนมากขึ้น รอให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานที่ชัดเจน ก่อนตัดสินใจลงทุน แม้ว่าจะต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น แต่จะช่วยลดความเสี่ยงได้ โดยพิจารณาเข้าซื้อเมื่อมีการประกาศผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 หรือไตรมาสที่ 2 ซึ่งน่าจะสะท้อนผลของมาตรการ LTV ได้บ้าง"
พร้อมกันนี้ จะยังคงสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการสนับสนุนสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการ เพื่อการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การใช้พลังงานทดแทน มีการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Loan เข้ามาสนับสนุนในการก่อสร้าง โดยตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อในกลุ่มนี้ประมาณ 13,000 ล้านบาท โดยจะควบคุมสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ (NPL) เฉลี่ยทั้งปี 2568 ในกรอบไม่เกิน 5%
ลุ้นมาตรการภาษี
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวถึง สถานการณ์อุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายในปี 2568 มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (เกณฑ์ LTV) ให้สามารถยื่นขอสินเชื่อได้ 100% ของมูลค่าหลักประกันตั้งแต่สัญญากู้หลังที่ 1 เป็นต้นไป สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2569
ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณานำมาตรการภาษี ลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ จากปกติ 2% เหลือ 0.01% และลดค่าธรรมเนียมค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน จากปกติ 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อสังหาริมทรัพย์ที่ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท กลับมาประกาศใช้ เบื้องต้นคาดว่าจะมีความชัดเจนก่อนการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV จะมีผลบังคับใช้ในไตรมาส 2/2568
"เมื่อทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้จะช่วยกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์โครงการได้อย่างมีนัยสำคัญ คำนวนจากมูลค่าบ้าน 3 ล้านบาท ผู้ซื้อสามารถประหยัดเงินได้ราว 3 แสนบาท ดังนั้นหากมีผลให้ทางปฏิบัติพร้อมกันในไตรมาส 2/2568 จะกระตุ้นยอดโอนกรรมสิทธิ์โครงการที่ขายแล้วรอโอนได้เป็นอันดับแรก และกระตุ้นยอดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังได้เพราะก็จะไปโอนในปี 2569 ซึ่งก็จะเห็นอีกครั้งช่วงที่ใกล้สินสุดมาตรการ"
ชู AP ORI SPALI
นายสรพงษ์ จักรธีรังกูร ผู้อำนวยการ อาวุโส บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวคาดการณ์กรณีที่รัฐบาล และธปท.ดำเนินมาตรการ กระตุ้นกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์ว่า มีแนวโน้มจะกระตุ้นยอดขายใหม่ให้เร่งตัวขึ้นได้ราว 10-15% ทั้งนี้ยังคงมุมมองเป็นกลางต่อหุ้นกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในระยะยาว เนื่องจากหลายบริษัทมีสินทรัพย์ที่เป็น หลักประกัน (Asset Backed) ที่แข็งแกร่ง และราคาหุ้นต่ำกว่า Book Value มาก รวมถึงมีอัตราเงินปันผลที่น่าสนใจ โดยนักลงทุนอาจรอซื้อเมื่อเห็นสัญญาณ การฟื้นตัวที่ชัดเจน ในหุ้นที่มีปัจจัยเฉพาะตัว อาทิ AP, ORI, SPALI
"สำหรับนักลงทุนระยะยาวอาจพิจารณาเข้าลงทุนในขณะนี้ โดยมองว่าตลาดได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และถือรอการฟื้นตัวของตลาด เพื่อโอกาสใน การได้รับทั้ง ส่วนต่างราคาหุ้น (Capital Gain) และเงินปันผล ที่อาจเพิ่มขึ้นในอนาคตหากบริษัทมีกำไรดีขึ้น สำหรับนักลงทุนที่ต้องการความชัดเจนมากขึ้น รอให้เห็นสัญญาณการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานที่ชัดเจน ก่อนตัดสินใจลงทุน แม้ว่าจะต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น แต่จะช่วยลดความเสี่ยงได้ โดยพิจารณาเข้าซื้อเมื่อมีการประกาศผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 หรือไตรมาสที่ 2 ซึ่งน่าจะสะท้อนผลของมาตรการ LTV ได้บ้าง"
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ