'อสังหา' เบนเข็มพึ่ง 'สินเชื่อแบงก์' แทนการออก 'หุ้นกู้'
วันที่ : 24 มีนาคม 2568
"ธนาคาร" ประสานเสียง "ธุรกิจรายใหญ่" หัน "กู้เงินแบงก์" เพิ่มขึ้น "ทิสโก้" ชี้ "ภาคอสังหาฯ - พลังงาน" พึ่งแบงก์แทน "ออกหุ้นกู้"
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TISCO กล่าวว่า ปัจจุบันเห็นภาคธุรกิจรายใหญ่หันทิศทางมา “ขอสินเชื่อแบงก์” มากขึ้นจากสถานการณ์ “ตลาดหุ้นกู้” ที่ระดมทุนยากขึ้น และธุรกิจต้องการกระจายแหล่งเงินเพื่อบริหารความเสี่ยง
อีกทั้งการขอสินเชื่อแบงก์มีความยืดหยุ่นสูง ธุรกิจจึงหันมาขอสินเชื่อแบงก์ประเภทเงินกู้ผ่อนชำระ หรือ Installment loan ที่บริหารง่ายกว่า รับเงินสดครั้งเดียวจากการออกหุ้นกู้
ปรับวงเงินกู้ให้แอลทีวีกลุ่มอสังหาฯ ต่ำลง
ธุรกิจที่หันมาขอสินเชื่อแบงก์เพิ่มขึ้นคือ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่ธนาคารต้องการเข้าไปเพิ่มสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโรงแรม พลังงานทางเลือกต่างๆ ที่ธนาคารชำนาญ
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ในธุรกิจอสังหาฯ มีความเสี่ยงมากขึ้น ยอดขายที่ปรับลดลง การขอสินเชื่อหรือผ่านการอนุมัติสินเชื่อได้น้อยลง ซึ่งการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มนี้ ธนาคารระวังมากขึ้น
โดยเฉพาะการปรับเงื่อนไขการเบิกเงินกู้ให้สอดคล้องกับยอดโอนต่างๆ รวมถึงการปรับลดวงเงิน LTV ให้ธุรกิจลดลง เช่น อดีตเคยให้ LTV ราว 70% ปรับลดลงมาเป็น 60-65% ปรับวงเงินสินเชื่อลดลงทำให้บางส่วนด้านผู้ถือหุ้น เจ้าของธุรกิจอาจต้องใส่เงินตัวเองดำเนินธุรกิจมากขึ้น
“ยอมรับว่าในธุรกิจอสังหาฯ เราระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และได้เข้าไปดูร่วมกับลูกค้าเกี่ยวกับหุ้นกู้ต่างๆ เช่น หุ้นกู้ที่อาจครบดีล ที่แบงก์ก็ต้องเข้าไปดูว่าจะโรลโอเวอร์ได้หรือไม่ หรือแค่ส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมวงเงินให้เพิ่มเติม ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เคยเป็นลูกค้าแบงก์อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาอาจมีช่องทางให้เขากู้มากขึ้น เป็นช่องทางที่ระดมทุนถูกทำให้มีทางเลือกมากกว่ากู้แบงก์”
“รายใหญ่” อ่อนแอลง ออกหุ้นกู้ยากขึ้น
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ TTB กล่าวว่า ปัจจุบัน เริ่มเห็นปัญหาต่างๆ เริ่มลามไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น ตัวที่สะท้อนอย่างดีคือ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ธุรกิจเริ่มมีปัญหา สภาพคล่องเริ่มฝืด ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น
ปัจจุบันเริ่มเห็นอาการของธุรกิจเริ่มอ่อนแอลง เช่น หากดูในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธุรกิจบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) เริ่มกำไรลดลง ราคาหุ้นปรับตัวลดลง แต่ยังไม่ถึงขั้นจ่ายหนี้ไม่ไหว แต่เริ่มเห็นผลกระทบจากธุรกิจที่ปรับตัวลดลงทำให้ถูกปรับลดเครดิตเรตติ้งลดลงมากขึ้น
ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยอมรับว่า เป็นกลุ่มที่ออกหุ้นกู้ค่อนข้างมากช่วงที่ผ่านมา และเมื่อมีประเด็นเกิดขึ้นในตลาดหุ้นกู้ การโรลโอเวอร์ต่างๆ ทำได้ยากขึ้น ระดมทุนยากขึ้น จากเดิมอาจไม่เคยกังวลเรื่องโรลโอเวอร์หุ้นกู้แต่วันนี้สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป ดังนั้นส่วนนี้ก็เห็นบ้างที่กลับมาสู่เงินกู้ของแบงก์ ซึ่งที่ผ่านมาแบงก์ก็มีการติดตามมากขึ้นเช่นกัน
ดังนั้น ในมุมแบงก์ได้หารือกับธุรกิจอสังหาฯ หลายบริษัท ธนาคารมีการเข้าไปให้สินเชื่อกู้ยืมผ่าน Project finance คือ การให้เงินกู้เฉพาะโครงการมากขึ้น สำหรับโปรเจกต์ที่ยังไปได้
เช่น หมู่บ้านจัดสรรที่ต้องขยายธุรกิจทีละเฟส เพื่อใช้เป็นทุนในการก่อสร้างหมู่บ้านใหม่ๆ ต่อไปจนครบ ซึ่งส่วนนี้ใช้ที่ดิน หลักทรัพย์ค้ำประกันต่างๆ มาใช้ค้ำประกัน เพื่อนำเงินทุนหมุนเวียนกลับไปดำเนินธุรกิจไปสร้างบ้านต่อ ยอมรับว่า วันนี้ทางเลือกการหาสภาพคล่องกลุ่มนี้ยากขึ้น จากที่ผ่านมาที่อาจมีเลือกในการระดมทุนมากขึ้น เพราะต้นทุนแบงก์สูงกว่า
รับตลาดอสังหาฯ ต่ำกว่า 5 ล้านบาทอยู่ยาก
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า การกลับมาขอสินเชื่อแบงก์ ถือว่ามีต่อเนื่อง และการกลับมาหาเงินกู้แทนการออกบอนด์ก็เห็นทิศทางมาต่อเนื่อง
ที่ผ่านมาแบงก์ได้พูดคุยกับลูกค้าตลอดในการให้เงินกู้ เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจที่เป็นลูกค้าของแบงก์อยู่แล้ว ที่มีการขอสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นอาจเห็นการกลับมาขอเงินกู้เพิ่มขึ้นบ้างถือว่าเป็นปกติของธุรกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว หรือระดมทุนลำบากขึ้น
ส่วนภาพรวมสินเชื่ออสังหาฯ ธนาคารติดตามใกล้ชิด เพราะยอมรับว่า ตอนนี้ที่ฟื้นตัวได้คือ อสังหาฯ หรือตลาดกลุ่มบน ที่ยังอยู่ได้มีการกลับมาขอสินเชื่อแบงก์ต่อเนื่อง เป็นตลาดที่มีราคาบ้านเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป แต่ตลาดต่ำกว่านี้ดีมานด์ปรับลดลง จากคนที่ระมัดระวังใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มนี้อาจฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่น
“ส่วนใหญ่เราเห็นการกลับมาในทุกกลุ่มธุรกิจ ดีมานด์กลับมาฟื้นแล้วสักระยะ ที่กลับมาหาเงินกู้แบงก์ เพราะเราเห็นปัญหาเรื่องบอนด์มาสักระยะแล้ว ดังนั้นได้คุยกับลูกค้าต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร”
เช่นเดียวกับไทยพาณิชย์ ที่ก่อนหน้านี้ นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า เริ่มเห็นธุรกิจรายใหญ่เริ่มเห็นดีมานด์การกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้นในธุรกิจรายใหญ่ เริ่มมองหาสินเชื่อปกติมากขึ้นแทนการ “ออกหุ้นกู้” และระดมทุนผ่านช่องทางอื่นๆ
เพราะต้องยอมรับว่า วันนี้การออกไประดมทุนผ่าน “ตลาดทุน” ทำได้ “ยากขึ้นมาก” ด้วยเพราะมีปัญหาความเชื่อมั่น และด้านธรรมาภิบาลต่างๆ ทำให้นักลงทุนมีความไม่เชื่อมั่น ดังนั้น การหาเงินทุนจึงกลับมาที่แบงก์ แม้เดิมจะเชื่อว่าการระดมทุนผ่านตลาดทุนน่าจะมีต้นทุนหรือดอกเบี้ยถูกกว่าธนาคารก็ตาม
แต่ก็ยอมรับว่าการเข้ามาเติบโตในพอร์ตนี้ “ไม่ง่าย” ภายใต้สินเชื่อที่ชะลอตัว ตลาดตึงตัว ทุกแบงก์มุ่งแข่งขันในตลาดที่มีศักยภาพนี้เช่นเดียวกัน ที่จะตามมาด้วยการแข่งด้านเรตราคา อัตราดอกเบี้ยต่างๆ
สินเชื่อผู้ประกอบการอสังหาฯ นิ่ง หนี้เสียพุ่ง
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า หากดูสินเชื่อที่ให้กับผู้พัฒนาอสังหาฯ ถือว่าหดตัวต่อเนื่อง ตั้งแต่โควิดเป็นต้นมา
ส่วนหนึ่งมาจากการชำระเงินกู้ ปีที่ผ่านมาหดตัว 0.7% มาอยู่ที่ 6.9 แสนล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่ 6.97 แสนล้านบาท โดยหดตัวส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์
สำหรับภาพรวมออกหุ้นกู้ของธุรกิจอสังหาฯ พบว่า ยอดระดมทุนผ่านหุ้นกู้ลดลงมาอยู่ที่ 4.99 แสนล้านบาท ลดลง 2.75 หมื่นล้านบาท จาก 5.27 แสนล้านบาท มาต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท
สะท้อนยอดขายหุ้นกู้ที่ต่ำลง พบว่า หากออกหุ้นกู้ 100% ล่าสุดทั้งตลาดระดมทุนได้เพียง 85% ซึ่งโฟกัสเฉพาะภาคอสังหาฯ พบว่า ลดลงต่ำกว่าตลาด ที่ระดมทุนได้เพียง 76% เท่านั้น เป็นการปรับลดลงต่อเนื่องทั้งปี 2567 และช่วง 2 เดือนแรกของปี
สอดคล้องกับ Credit spread สำหรับหุ้นกู้ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ที่พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.20% สูงกว่าต้นทุนของ government bond ที่อยู่เพียง 2% ดังนั้นแล้วโดยรวมต้นทุนการออกหุ้นกู้ของผู้พัฒนาอสังหาฯ ไม่เกิน 3 ปี โดยรวมจะอยู่ที่ราว 3.2% สะท้อนความเสี่ยงที่ยังสูงต่อเนื่อง
สำหรับภาพรวมหนี้เสียกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาฯ พบว่า ปรับเพิ่มขึ้นทั้งมูลค่า และสัดส่วนหนี้เสีย ล่าสุดหนี้เสียอยู่ที่ 2.0 หมื่นล้านบาท จาก 1.94 หมื่นล้านบาท ทำให้หนี้เสียปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.72% จาก 2.60% หากเทียบกับปี 2566 ที่ผ่านมา
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์
อีกทั้งการขอสินเชื่อแบงก์มีความยืดหยุ่นสูง ธุรกิจจึงหันมาขอสินเชื่อแบงก์ประเภทเงินกู้ผ่อนชำระ หรือ Installment loan ที่บริหารง่ายกว่า รับเงินสดครั้งเดียวจากการออกหุ้นกู้
ปรับวงเงินกู้ให้แอลทีวีกลุ่มอสังหาฯ ต่ำลง
ธุรกิจที่หันมาขอสินเชื่อแบงก์เพิ่มขึ้นคือ อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นไปตามเป้าที่ธนาคารต้องการเข้าไปเพิ่มสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโรงแรม พลังงานทางเลือกต่างๆ ที่ธนาคารชำนาญ
อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ในธุรกิจอสังหาฯ มีความเสี่ยงมากขึ้น ยอดขายที่ปรับลดลง การขอสินเชื่อหรือผ่านการอนุมัติสินเชื่อได้น้อยลง ซึ่งการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มนี้ ธนาคารระวังมากขึ้น
โดยเฉพาะการปรับเงื่อนไขการเบิกเงินกู้ให้สอดคล้องกับยอดโอนต่างๆ รวมถึงการปรับลดวงเงิน LTV ให้ธุรกิจลดลง เช่น อดีตเคยให้ LTV ราว 70% ปรับลดลงมาเป็น 60-65% ปรับวงเงินสินเชื่อลดลงทำให้บางส่วนด้านผู้ถือหุ้น เจ้าของธุรกิจอาจต้องใส่เงินตัวเองดำเนินธุรกิจมากขึ้น
“ยอมรับว่าในธุรกิจอสังหาฯ เราระวังการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และได้เข้าไปดูร่วมกับลูกค้าเกี่ยวกับหุ้นกู้ต่างๆ เช่น หุ้นกู้ที่อาจครบดีล ที่แบงก์ก็ต้องเข้าไปดูว่าจะโรลโอเวอร์ได้หรือไม่ หรือแค่ส่วนหนึ่ง เพื่อเตรียมวงเงินให้เพิ่มเติม ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เคยเป็นลูกค้าแบงก์อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาอาจมีช่องทางให้เขากู้มากขึ้น เป็นช่องทางที่ระดมทุนถูกทำให้มีทางเลือกมากกว่ากู้แบงก์”
“รายใหญ่” อ่อนแอลง ออกหุ้นกู้ยากขึ้น
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ TTB กล่าวว่า ปัจจุบัน เริ่มเห็นปัญหาต่างๆ เริ่มลามไปที่ธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น ตัวที่สะท้อนอย่างดีคือ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ธุรกิจเริ่มมีปัญหา สภาพคล่องเริ่มฝืด ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น
ปัจจุบันเริ่มเห็นอาการของธุรกิจเริ่มอ่อนแอลง เช่น หากดูในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธุรกิจบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) เริ่มกำไรลดลง ราคาหุ้นปรับตัวลดลง แต่ยังไม่ถึงขั้นจ่ายหนี้ไม่ไหว แต่เริ่มเห็นผลกระทบจากธุรกิจที่ปรับตัวลดลงทำให้ถูกปรับลดเครดิตเรตติ้งลดลงมากขึ้น
ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยอมรับว่า เป็นกลุ่มที่ออกหุ้นกู้ค่อนข้างมากช่วงที่ผ่านมา และเมื่อมีประเด็นเกิดขึ้นในตลาดหุ้นกู้ การโรลโอเวอร์ต่างๆ ทำได้ยากขึ้น ระดมทุนยากขึ้น จากเดิมอาจไม่เคยกังวลเรื่องโรลโอเวอร์หุ้นกู้แต่วันนี้สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป ดังนั้นส่วนนี้ก็เห็นบ้างที่กลับมาสู่เงินกู้ของแบงก์ ซึ่งที่ผ่านมาแบงก์ก็มีการติดตามมากขึ้นเช่นกัน
ดังนั้น ในมุมแบงก์ได้หารือกับธุรกิจอสังหาฯ หลายบริษัท ธนาคารมีการเข้าไปให้สินเชื่อกู้ยืมผ่าน Project finance คือ การให้เงินกู้เฉพาะโครงการมากขึ้น สำหรับโปรเจกต์ที่ยังไปได้
เช่น หมู่บ้านจัดสรรที่ต้องขยายธุรกิจทีละเฟส เพื่อใช้เป็นทุนในการก่อสร้างหมู่บ้านใหม่ๆ ต่อไปจนครบ ซึ่งส่วนนี้ใช้ที่ดิน หลักทรัพย์ค้ำประกันต่างๆ มาใช้ค้ำประกัน เพื่อนำเงินทุนหมุนเวียนกลับไปดำเนินธุรกิจไปสร้างบ้านต่อ ยอมรับว่า วันนี้ทางเลือกการหาสภาพคล่องกลุ่มนี้ยากขึ้น จากที่ผ่านมาที่อาจมีเลือกในการระดมทุนมากขึ้น เพราะต้นทุนแบงก์สูงกว่า
รับตลาดอสังหาฯ ต่ำกว่า 5 ล้านบาทอยู่ยาก
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า การกลับมาขอสินเชื่อแบงก์ ถือว่ามีต่อเนื่อง และการกลับมาหาเงินกู้แทนการออกบอนด์ก็เห็นทิศทางมาต่อเนื่อง
ที่ผ่านมาแบงก์ได้พูดคุยกับลูกค้าตลอดในการให้เงินกู้ เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ เป็นธุรกิจที่เป็นลูกค้าของแบงก์อยู่แล้ว ที่มีการขอสินเชื่อในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นอาจเห็นการกลับมาขอเงินกู้เพิ่มขึ้นบ้างถือว่าเป็นปกติของธุรกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัว หรือระดมทุนลำบากขึ้น
ส่วนภาพรวมสินเชื่ออสังหาฯ ธนาคารติดตามใกล้ชิด เพราะยอมรับว่า ตอนนี้ที่ฟื้นตัวได้คือ อสังหาฯ หรือตลาดกลุ่มบน ที่ยังอยู่ได้มีการกลับมาขอสินเชื่อแบงก์ต่อเนื่อง เป็นตลาดที่มีราคาบ้านเกิน 5 ล้านบาทขึ้นไป แต่ตลาดต่ำกว่านี้ดีมานด์ปรับลดลง จากคนที่ระมัดระวังใช้จ่ายมากขึ้น ดังนั้นกลุ่มนี้อาจฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่น
“ส่วนใหญ่เราเห็นการกลับมาในทุกกลุ่มธุรกิจ ดีมานด์กลับมาฟื้นแล้วสักระยะ ที่กลับมาหาเงินกู้แบงก์ เพราะเราเห็นปัญหาเรื่องบอนด์มาสักระยะแล้ว ดังนั้นได้คุยกับลูกค้าต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ก็ยังไม่มีปัญหาอะไร”
เช่นเดียวกับไทยพาณิชย์ ที่ก่อนหน้านี้ นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวว่า เริ่มเห็นธุรกิจรายใหญ่เริ่มเห็นดีมานด์การกลับมาขอสินเชื่อมากขึ้นในธุรกิจรายใหญ่ เริ่มมองหาสินเชื่อปกติมากขึ้นแทนการ “ออกหุ้นกู้” และระดมทุนผ่านช่องทางอื่นๆ
เพราะต้องยอมรับว่า วันนี้การออกไประดมทุนผ่าน “ตลาดทุน” ทำได้ “ยากขึ้นมาก” ด้วยเพราะมีปัญหาความเชื่อมั่น และด้านธรรมาภิบาลต่างๆ ทำให้นักลงทุนมีความไม่เชื่อมั่น ดังนั้น การหาเงินทุนจึงกลับมาที่แบงก์ แม้เดิมจะเชื่อว่าการระดมทุนผ่านตลาดทุนน่าจะมีต้นทุนหรือดอกเบี้ยถูกกว่าธนาคารก็ตาม
แต่ก็ยอมรับว่าการเข้ามาเติบโตในพอร์ตนี้ “ไม่ง่าย” ภายใต้สินเชื่อที่ชะลอตัว ตลาดตึงตัว ทุกแบงก์มุ่งแข่งขันในตลาดที่มีศักยภาพนี้เช่นเดียวกัน ที่จะตามมาด้วยการแข่งด้านเรตราคา อัตราดอกเบี้ยต่างๆ
สินเชื่อผู้ประกอบการอสังหาฯ นิ่ง หนี้เสียพุ่ง
นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า หากดูสินเชื่อที่ให้กับผู้พัฒนาอสังหาฯ ถือว่าหดตัวต่อเนื่อง ตั้งแต่โควิดเป็นต้นมา
ส่วนหนึ่งมาจากการชำระเงินกู้ ปีที่ผ่านมาหดตัว 0.7% มาอยู่ที่ 6.9 แสนล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่ 6.97 แสนล้านบาท โดยหดตัวส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาฯ เพื่อการพาณิชย์
สำหรับภาพรวมออกหุ้นกู้ของธุรกิจอสังหาฯ พบว่า ยอดระดมทุนผ่านหุ้นกู้ลดลงมาอยู่ที่ 4.99 แสนล้านบาท ลดลง 2.75 หมื่นล้านบาท จาก 5.27 แสนล้านบาท มาต่ำกว่า 5 แสนล้านบาท
สะท้อนยอดขายหุ้นกู้ที่ต่ำลง พบว่า หากออกหุ้นกู้ 100% ล่าสุดทั้งตลาดระดมทุนได้เพียง 85% ซึ่งโฟกัสเฉพาะภาคอสังหาฯ พบว่า ลดลงต่ำกว่าตลาด ที่ระดมทุนได้เพียง 76% เท่านั้น เป็นการปรับลดลงต่อเนื่องทั้งปี 2567 และช่วง 2 เดือนแรกของปี
สอดคล้องกับ Credit spread สำหรับหุ้นกู้ระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี ที่พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.20% สูงกว่าต้นทุนของ government bond ที่อยู่เพียง 2% ดังนั้นแล้วโดยรวมต้นทุนการออกหุ้นกู้ของผู้พัฒนาอสังหาฯ ไม่เกิน 3 ปี โดยรวมจะอยู่ที่ราว 3.2% สะท้อนความเสี่ยงที่ยังสูงต่อเนื่อง
สำหรับภาพรวมหนี้เสียกลุ่มผู้ประกอบการอสังหาฯ พบว่า ปรับเพิ่มขึ้นทั้งมูลค่า และสัดส่วนหนี้เสีย ล่าสุดหนี้เสียอยู่ที่ 2.0 หมื่นล้านบาท จาก 1.94 หมื่นล้านบาท ทำให้หนี้เสียปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.72% จาก 2.60% หากเทียบกับปี 2566 ที่ผ่านมา
พิสูจน์อักษร....สุรีย์ ศิลาวงษ์
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ