รัฐเร่งแบงก์ 'อัดสินเชื่อ' ดัน ศก.
วันที่ : 19 กุมภาพันธ์ 2568
นายกฯ ชู 3 ความร่วมมือ "รัฐ-แบงก์ชาติ-แบงก์พาณิชย์" ดันเศรษฐกิจปี 68 มอบคลังหารือ ห่วงเอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อต่ำฉุดเศรษฐกิจ "พิชัย" มั่นใจจีดีพีโตเกิน 3% แม้สภาพัฒน์ ตั้งเป้า 2.8% เล็งเพิ่มมาตรการสินเชื่อ ดึง บสย.อุ้ม รถเชิงพาณิชย์ ด้าน ธปท.ชี้สินเชื่อระบบแบงก์พาณิชย์ ติดลบรอบ 15 ปี มากสุดนับตั้งแต่ปี 52 หลัง "รายย่อย-เอสเอ็มอี" ขอกู้หดตัว คาดมาจากการระมัดระวังการปล่อยกู้
นายกฯ สั่งคลังหารือ ธปท. - ธนาคารปล่อยกู้ต่ำสุดรอบ15ปี
"เอสเอ็มอี" ขอกู้หดตัว ปมปัญหาระวังปล่อยกู้
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2568 ที่ 2.8% เช่นเดียวกับ คณะกรรมการ ร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยังคงประมาณการจีดีพี ปีนี้ไว้ที่ 2.4-2.9% การส่งออกขยายตัวได้ 1.5-2.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.8-1.2%
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมิน แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2568 ที่ 2.8% ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าไว้ 3% และพยายามให้ได้ 3.5%
ทั้งนี้ มั่นใจว่าช่วงที่เหลือของปีนี้ จะผลักดัน เศรษฐกิจเต็มที่ โดยรัฐบาลขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แก้ปัญหาด้วยกัน โดยขอให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประสานการทำงานกับ ธปท.ใกล้ชิด
"ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2567 เติบโตเกือบทุกมิติ แต่การลงทุนเอกชนหดตัว โดย เอสเอ็มอีที่มีสัดส่วน 75% ของประเทศ ได้รับการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์น้อยจะเห็นได้ว่าเป็นเวลานับ 10 ปีที่การพัฒนาธุรกิจลดลง บางอุตสาหกรรมเก่าไปแล้วไม่ได้สินเชื่อไปพัฒนา การปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจทางรัฐบาลต้องคุยกับ ธปท.เพื่อร่วมมือกัน"
รวมทั้งรัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจหลายอย่างทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในเมืองหลักและในเมืองรอง ภาคเอกชนเองต้องดูด้วยว่าการลงทุนเพิ่มในระบบทำได้อย่างไรบ้างเอกชนต้องช่วยด้วยทุกภาคส่วนจริง ๆ มันไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้หรือเมื่อปีสองปีที่แล้ว แต่เกิดเป็นระยะเวลาที่ยาวนานฉะนั้นต้องช่วยกันทุกฝ่าย จากที่ตนเองได้เดินทางไปต่างประเทศก็พยายามที่จะดึงให้มาลงทุนในประเทศไทย
ความจริงแล้วเศรษฐกิจแย่พักใหญ่แล้ว ฉะนั้นการผลักดันทุกส่วนสำคัญมาก เราไม่สามารถทำหนึ่งอย่างแล้วเศรษฐกิจดีทันที นโยบายภาครัฐ ไม่ได้ออกมาแค่หนึ่งนโยบายแล้วจะกระตุ้นจีดีพีได้ ทุกกระทรวงต้องทำงานร่วมกัน
คลังเร่งปรับปรุงโครงสร้างภาษีดึงเงินทุน
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าหลังสศช. ประเมินแนวโน้ม เศรษฐกิจไทยปี 2568 ขยายตัว 2.8% ถือว่าเป็นตัวเลขที่แต่ละสำนักจะประเมินตัวเลขที่แตกต่างกัน และมีสมมติฐานที่ต่างกัน ซึ่งกระทรวงการคลังเอง ประเมินไว้ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัว 3% และจำเป็นต้องเร่งทำให้ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนกรณี สศช.แนะนำให้ออกแพ็กเกจกระตุ้น การลงทุน มองว่าเห็นตรงกับรัฐบาล เพราะ การลงทุนเป็นสิ่งสำคัญกับการวางโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการออกนโยบายสำคัญ เช่น การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน หรือสถานบันเทิงครบวงจร เช่นเดียวกับกระทรวงการคลังกำลังปรับปรุงโครงสร้างภาษี และการดึงดูดแหล่งเงินใหม่เข้ามา
ขณะที่แนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ รัฐบาลจะมีแนวคิดดึงเงินส่วนหนึ่งของโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1.5 แสนล้านบาทมากระตุ้น การลงทุนหรือไม่นั้น เห็นว่า จะต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่า เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2-3 จะกระจายเงินในลักษณะใด เพื่อรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจ
คลอดมาตรการปล่อยเงินกู้อุ้มกลุ่มยานยนต์
"รัฐบาลมีแผนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2-3 เพราะในช่วงไตรมาสแรกจะมีแรงส่งอยู่ โดยจะมีมาตรการภาษีและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย รวมทั้งมาตรการด้านสินเชื่อ เพื่อกระจายเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ ส่วนวงเงินที่จะเอามาใช้ นั้นตอนนี้ขอให้รอข้อสรุปอีกครั้ง เพราะทุกอย่างอยู่ในกระบวนการ" นายเผ่าภูมิ ระบุ
ส่วนตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัวลงในปี 2567 นั้น รัฐบาลมองว่า เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักเมื่อเทียบอุตสาหกรรมอื่น เป็นผลมาจากการปล่อยสินเชื่อน้อยกว่าที่ควรเป็น ซึ่งรัฐบาลกำลังมีมาตรการเกี่ยวกับการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มรถกระบะออกมาเร็ว ๆ นี้
ขณะเดียวกันตลาดรถยนต์ยังได้รับผลกระทบ จากปัญหาการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมจึงทำให้ตลาดรถยนต์ปีที่แล้วลดลง แต่รัฐบาลเชื่อว่า มาตรการที่มีจะประคองได้ เช่น มาตรการ EV 3.5
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งต่อไปยอมรับว่า หวังจะมีข่าวดี แต่เป็นอำนาจของ กนง.ซึ่งรัฐบาลอยากปรับนโยบายทางการเงินให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งกรอบอยู่ที่ 1-3% หากเงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบก็ควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายและปัจจัยอื่น ๆ ลงด้วย
ยันเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจดันจีดีพีเพิ่ม
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สศช.คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 2.8% ต่ำกว่าที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ ซึ่งกระทรวงการคลังมั่นใจว่าเติบโตไม่น้อยกว่า 3%
นอกจากมาตรการการแจกเงิน 10,000 บาท ที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 คณะอนุกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เตรียมมาตรการและกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มได้อีก 0.5%
ส่วนการแจกเงิน 10,000 บาท ต้องป้องกันการรั่วไหลของเงินที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ โดยต้องเข้าไปกำกับและอุดรอยรั่ว เหล่านี้ ก็จะช่วยในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ถึง 0.2% และพยายามดันจีดีพีในภาพรวมให้ถึง 3.5%
"จีดีพี" ไทยโตต่ำสะสมเป็น 10 ปี
สำหรับเรื่องที่จีดีพีไทยโตต่ำกว่า 3% รั้งท้าย ในอาเซียนนั้น จุลพันธ์ กล่าวว่า การฉายภาพเป็นแบบนี้ทุกครั้งซึ่งหากย้อนไป 10 ปีก่อนการฉายภาพ ก็ตกเฉลี่ยประมาณ 2% ปลายๆ ทุกปีแต่การเติบโตจริงไม่เคยถึง 2% เฉลี่ยประมาณ 1.9 % มานาน แต่ปีที่ผ่านมาจากการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะเห็นว่าเราทำได้เกินกว่าเป้าหมายแตะ 2% กว่าๆ และปีนี้ยังมีกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น easy e-receipt
ส่วนประเด็นเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอ สศช.ที่บอกว่าให้แบ่งงบประมาณจากโครงการเงินดิจิทัลรอบ 3 มาทำโครงการบริหารจัดการน้ำ ทั่วประเทศจะทำให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่า
นายจุลพันธ์ กล่าวว่าในส่วนนี้เป็นเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเช่นเดียวกันแต่คนละกลไก ในการใช้ที่อาจมีความแตกต่าง ในมุมนั่นมันเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างโดยเพิ่มโครงสร้างพื้นฐาน มุมนี้รัฐบาลไม่ได้ละเลยและมีกลไกในการทำอยู่แล้วตามงบประจำปี และงบกลาง
เร่งหาแหล่งเงินกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
ขณะที่ประเด็นจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังอีกหรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ควรอยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะต้องมีแผนตอนนี้คิดอยู่ว่ากลไกในการใช้เม็ดเงินจากจุดไหนและวิธีการอย่างไรและจะใช้วิธีการอย่างไรเราก็ต้องหาข้อสรุปอีกครั้ง
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง ก็มีการพูดคุยกับ ธปท. มาโดยตลอด เชื่อว่าการพูดคุยเป็นไปตามที่ทุกฝ่ายต้องการ แม้ว่า โจทย์ก็อาจจะมีการชั่งน้ำหนักที่แตกต่างกันบ้าง ในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจกับเรื่องเสถียรภาพ ทางการเงิน จุดนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องมีการหารือร่วมกัน
เมื่อถามว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในสัปดาห์หน้าคาดหวังว่า ธปท. จะมีมาตรการเกี่ยวกับ นโยบายทางการเงิน มาช่วยหรือไม่ นายจุลพันธ์กล่าวว่า ตนไม่คาดหวัง เพราะต้องเข้าใจว่าธปท.ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นอิสระ รัฐบาลคงไม่พูดเรื่องนี้แล้วคงเข้าใจว่ากลไกอย่างไหนจะสร้างเสรีภาพทางการเงินได้กลไกอย่างไหนจะเป็นการส่งเสริมช่วยเรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลและทำให้ประชาชนมีการใช้จ่ายได้ดี ตนเชื่อว่า กนง.จะมีความเข้าใจ ส่วนจะคาดหวังหรือไม่ตนไม่พูดดีกว่าเพื่อให้ กนง.มีความสบายใจในการตัดสินใจ
'สินเชื่อแบงก์' ติดลบรอบ 15 ปี
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าหากดูภาพรวมสินเชื่อระบบ"ธนาคารพาณิชย์"ปี 2657 พบว่า โดยรวมสินเชื่อติดลบที่ 0.4% ซึ่งเป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2552 และสินเชื่อยังขยายตัวติดลบต่อเนื่อง หากเทียบกับปีก่อนหน้าที่ติดลบ 0.3%
โดยสินเชื่อที่ติดลบ 0.4% โดยเกือบทุกพอร์ตสินเชื่อขยายโตต่ำ และติดลบ ยกเว้น รายใหญ่ที่ยังเห็นการเติบโตสินเชื่อได้ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ที่ภาพรวมติดลบ 1.9% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ติดลบ 0.8% หลักๆ มาจากสินเชื่อ เช่าซื้อที่หดตัว 9.9% ซึ่งเป็นการหดตัวไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับเพิ่มขึ้น แม้ ธปท.จะเห็นสัญญาณการยึดรถเข้าลานประมูลน้อยลง ทำให้ราคารถมือสอง กลับมาปรับดีขึ้น แต่ยังเป็นสัญญาณที่ ธปท.ต้องจับตา
ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs หดตัวลง ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและรายได้กลุ่มเปราะบางที่ฟื้นตัวช้า
"สินเชื่อที่หายไป ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการระมัดระวังในการให้สินเชื่อของแบงก์ด้วย จากเครดิตริสที่เพิ่มสูงขึ้น และในช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อขยายตัวไปเยอะมากในภาวะที่จีดีพีไม่โต จีดีพีติดลบในช่วงโควิด"หนี้เสียลด แต่ยังวางใจไม่ได้
ส่วนภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปัจจุบันลดลงทั้งปริมาณและสัดส่วน โดยหนี้เสียอยู่ที่ 5.50 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.78% ลดลงจากไตรมาส 3 ปี2567 ที่อยู่ 5.3 แสนล้านบาท หรืออยู่ที่ 2.97% คิดเป็น หนี้เสียปรับลดลง 2 หมื่นล้านบาท ถือเป็น การปรับลดลงรอบหลายไตรมาส ยกเว้น สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจาก 3.82% เป็น 3.88% และมองว่ามาตรการ "คุณสู้เราช่วย" ทำให้หนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยดีขึ้นในไตรมาสถัดไป
ทั้งนี้ การลดลงของหนี้เสียส่วนหนึ่งมาจากความพยายามการลดหนี้ช่วงสิ้นปี และเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ เอสเอ็มอีและรายย่อย ทำให้ลูกหนี้ถูกขยับจากการเป็นหนี้เสียในกลุ่ม Stage 3 ไปอยู่กลุ่มสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Stage 2) เพิ่มขึ้นมาอยู่ 6.98% ขณะที่ยอดตัวเลข ปรับโครงสร้างหนี้สะสมอยู่ที่ 7.18 ล้านบัญชี และคิดเป็นมูลหนี้ 2.66 ล้านล้านบาท
"หนี้เสียลดลง แต่ยังไม่สบายใจ อาจปรับดีขึ้น ในไตรมาสนี้ ดังนั้น ต้องดูกันยาวๆ เพราะไตรมาส 4 เป็นช่วงที่สถาบันการเงินพยายามจัดการเอ็นพีแอลเพื่อปิดงบ รวมทั้ง ธปท.มองว่า ต้องติดตามใกล้ชิดและเป็นห่วงกลุ่มสินเชื่อบ้านที่หนี้เสียเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง"
ระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัว3 ไตรมาส
สำหรับผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2567 ระบบธนาคารพาณิชย์มี ความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง
โดยหากดูด้านเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของระบบธนาคารพาณิชย์ โดยรวมอยู่ระดับสูง ที่ 20.4% ด้านสภาพคล่อง (LCR) ขึ้นมาอยู่ที่ 206.4% ส่วนใหญ่มาจากสินทรัพย์สภาพคล่องที่ปรับ เพิ่มขึ้น ด้านเงินสำรอง (NPL Coverage ratio) ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 177.1% หลักๆ เลยก็มาจากปริมาณ เอ็นพีแอลที่ลดลงประมาณ 20,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากดูด้านอัตราการขยายตัวของสินเชื่อและตราสารหนี้ พบว่าสินเชื่อหดตัว ขณะที่การระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัวต่อเนื่อง โดยการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ หดตัวเป็นไตรมาสที่3 โดยไตรมาสล่าสุดหดตัวที่ 2.5% ตามความต้องการลดลง โดยหดตัวในเกือบทุกภาคธุรกิจ ทั้งอุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหาฯ ยกเว้นการออกตราสารหนี้มากขึ้นใน กลุ่มสาธารณูปโภค
แต่โดยรวมยังชะลอตัวของการออก ตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุน ที่มีความระมัดระวังมากขึ้น และมีการเลือกถือตราสารที่มีคุณภาพดีขึ้น
"เอสเอ็มอี" ขอกู้หดตัว ปมปัญหาระวังปล่อยกู้
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมินแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ (GDP) ในปี 2568 ที่ 2.8% เช่นเดียวกับ คณะกรรมการ ร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ยังคงประมาณการจีดีพี ปีนี้ไว้ที่ 2.4-2.9% การส่งออกขยายตัวได้ 1.5-2.5% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.8-1.2%
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมิน แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2568 ที่ 2.8% ซึ่งรัฐบาลตั้งเป้าไว้ 3% และพยายามให้ได้ 3.5%
ทั้งนี้ มั่นใจว่าช่วงที่เหลือของปีนี้ จะผลักดัน เศรษฐกิจเต็มที่ โดยรัฐบาลขอความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แก้ปัญหาด้วยกัน โดยขอให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประสานการทำงานกับ ธปท.ใกล้ชิด
"ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2567 เติบโตเกือบทุกมิติ แต่การลงทุนเอกชนหดตัว โดย เอสเอ็มอีที่มีสัดส่วน 75% ของประเทศ ได้รับการปล่อยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์น้อยจะเห็นได้ว่าเป็นเวลานับ 10 ปีที่การพัฒนาธุรกิจลดลง บางอุตสาหกรรมเก่าไปแล้วไม่ได้สินเชื่อไปพัฒนา การปล่อยสินเชื่อให้ภาคธุรกิจทางรัฐบาลต้องคุยกับ ธปท.เพื่อร่วมมือกัน"
รวมทั้งรัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจหลายอย่างทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งในเมืองหลักและในเมืองรอง ภาคเอกชนเองต้องดูด้วยว่าการลงทุนเพิ่มในระบบทำได้อย่างไรบ้างเอกชนต้องช่วยด้วยทุกภาคส่วนจริง ๆ มันไม่ใช่ปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้หรือเมื่อปีสองปีที่แล้ว แต่เกิดเป็นระยะเวลาที่ยาวนานฉะนั้นต้องช่วยกันทุกฝ่าย จากที่ตนเองได้เดินทางไปต่างประเทศก็พยายามที่จะดึงให้มาลงทุนในประเทศไทย
ความจริงแล้วเศรษฐกิจแย่พักใหญ่แล้ว ฉะนั้นการผลักดันทุกส่วนสำคัญมาก เราไม่สามารถทำหนึ่งอย่างแล้วเศรษฐกิจดีทันที นโยบายภาครัฐ ไม่ได้ออกมาแค่หนึ่งนโยบายแล้วจะกระตุ้นจีดีพีได้ ทุกกระทรวงต้องทำงานร่วมกัน
คลังเร่งปรับปรุงโครงสร้างภาษีดึงเงินทุน
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าหลังสศช. ประเมินแนวโน้ม เศรษฐกิจไทยปี 2568 ขยายตัว 2.8% ถือว่าเป็นตัวเลขที่แต่ละสำนักจะประเมินตัวเลขที่แตกต่างกัน และมีสมมติฐานที่ต่างกัน ซึ่งกระทรวงการคลังเอง ประเมินไว้ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัว 3% และจำเป็นต้องเร่งทำให้ได้ตามเป้าหมาย
ส่วนกรณี สศช.แนะนำให้ออกแพ็กเกจกระตุ้น การลงทุน มองว่าเห็นตรงกับรัฐบาล เพราะ การลงทุนเป็นสิ่งสำคัญกับการวางโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว จึงเป็นที่มาของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และการออกนโยบายสำคัญ เช่น การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน หรือสถานบันเทิงครบวงจร เช่นเดียวกับกระทรวงการคลังกำลังปรับปรุงโครงสร้างภาษี และการดึงดูดแหล่งเงินใหม่เข้ามา
ขณะที่แนวโน้มการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ รัฐบาลจะมีแนวคิดดึงเงินส่วนหนึ่งของโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 1.5 แสนล้านบาทมากระตุ้น การลงทุนหรือไม่นั้น เห็นว่า จะต้องประเมินสถานการณ์อีกครั้งว่า เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2-3 จะกระจายเงินในลักษณะใด เพื่อรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจ
คลอดมาตรการปล่อยเงินกู้อุ้มกลุ่มยานยนต์
"รัฐบาลมีแผนที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2-3 เพราะในช่วงไตรมาสแรกจะมีแรงส่งอยู่ โดยจะมีมาตรการภาษีและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย รวมทั้งมาตรการด้านสินเชื่อ เพื่อกระจายเงินลงไปในระบบเศรษฐกิจ ส่วนวงเงินที่จะเอามาใช้ นั้นตอนนี้ขอให้รอข้อสรุปอีกครั้ง เพราะทุกอย่างอยู่ในกระบวนการ" นายเผ่าภูมิ ระบุ
ส่วนตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัวลงในปี 2567 นั้น รัฐบาลมองว่า เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักเมื่อเทียบอุตสาหกรรมอื่น เป็นผลมาจากการปล่อยสินเชื่อน้อยกว่าที่ควรเป็น ซึ่งรัฐบาลกำลังมีมาตรการเกี่ยวกับการค้ำประกันสินเชื่อกลุ่มรถกระบะออกมาเร็ว ๆ นี้
ขณะเดียวกันตลาดรถยนต์ยังได้รับผลกระทบ จากปัญหาการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมจึงทำให้ตลาดรถยนต์ปีที่แล้วลดลง แต่รัฐบาลเชื่อว่า มาตรการที่มีจะประคองได้ เช่น มาตรการ EV 3.5
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งต่อไปยอมรับว่า หวังจะมีข่าวดี แต่เป็นอำนาจของ กนง.ซึ่งรัฐบาลอยากปรับนโยบายทางการเงินให้เกิดความเหมาะสม สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งกรอบอยู่ที่ 1-3% หากเงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบก็ควรพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายและปัจจัยอื่น ๆ ลงด้วย
ยันเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจดันจีดีพีเพิ่ม
นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สศช.คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัว 2.8% ต่ำกว่าที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ ซึ่งกระทรวงการคลังมั่นใจว่าเติบโตไม่น้อยกว่า 3%
นอกจากมาตรการการแจกเงิน 10,000 บาท ที่จะลงสู่ระบบเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 คณะอนุกรรมการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เตรียมมาตรการและกลไกในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มได้อีก 0.5%
ส่วนการแจกเงิน 10,000 บาท ต้องป้องกันการรั่วไหลของเงินที่จะทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ โดยต้องเข้าไปกำกับและอุดรอยรั่ว เหล่านี้ ก็จะช่วยในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้ถึง 0.2% และพยายามดันจีดีพีในภาพรวมให้ถึง 3.5%
"จีดีพี" ไทยโตต่ำสะสมเป็น 10 ปี
สำหรับเรื่องที่จีดีพีไทยโตต่ำกว่า 3% รั้งท้าย ในอาเซียนนั้น จุลพันธ์ กล่าวว่า การฉายภาพเป็นแบบนี้ทุกครั้งซึ่งหากย้อนไป 10 ปีก่อนการฉายภาพ ก็ตกเฉลี่ยประมาณ 2% ปลายๆ ทุกปีแต่การเติบโตจริงไม่เคยถึง 2% เฉลี่ยประมาณ 1.9 % มานาน แต่ปีที่ผ่านมาจากการทำงานของรัฐบาลชุดปัจจุบัน จะเห็นว่าเราทำได้เกินกว่าเป้าหมายแตะ 2% กว่าๆ และปีนี้ยังมีกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น easy e-receipt
ส่วนประเด็นเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอ สศช.ที่บอกว่าให้แบ่งงบประมาณจากโครงการเงินดิจิทัลรอบ 3 มาทำโครงการบริหารจัดการน้ำ ทั่วประเทศจะทำให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่า
นายจุลพันธ์ กล่าวว่าในส่วนนี้เป็นเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเช่นเดียวกันแต่คนละกลไก ในการใช้ที่อาจมีความแตกต่าง ในมุมนั่นมันเป็นเรื่องการปรับโครงสร้างโดยเพิ่มโครงสร้างพื้นฐาน มุมนี้รัฐบาลไม่ได้ละเลยและมีกลไกในการทำอยู่แล้วตามงบประจำปี และงบกลาง
เร่งหาแหล่งเงินกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
ขณะที่ประเด็นจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังอีกหรือไม่ นายจุลพันธ์ กล่าวว่า ควรอยู่แล้วเป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะต้องมีแผนตอนนี้คิดอยู่ว่ากลไกในการใช้เม็ดเงินจากจุดไหนและวิธีการอย่างไรและจะใช้วิธีการอย่างไรเราก็ต้องหาข้อสรุปอีกครั้ง
นายจุลพันธ์ กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง ก็มีการพูดคุยกับ ธปท. มาโดยตลอด เชื่อว่าการพูดคุยเป็นไปตามที่ทุกฝ่ายต้องการ แม้ว่า โจทย์ก็อาจจะมีการชั่งน้ำหนักที่แตกต่างกันบ้าง ในเรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจกับเรื่องเสถียรภาพ ทางการเงิน จุดนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องมีการหารือร่วมกัน
เมื่อถามว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในสัปดาห์หน้าคาดหวังว่า ธปท. จะมีมาตรการเกี่ยวกับ นโยบายทางการเงิน มาช่วยหรือไม่ นายจุลพันธ์กล่าวว่า ตนไม่คาดหวัง เพราะต้องเข้าใจว่าธปท.ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องความเป็นอิสระ รัฐบาลคงไม่พูดเรื่องนี้แล้วคงเข้าใจว่ากลไกอย่างไหนจะสร้างเสรีภาพทางการเงินได้กลไกอย่างไหนจะเป็นการส่งเสริมช่วยเรื่องเศรษฐกิจของรัฐบาลและทำให้ประชาชนมีการใช้จ่ายได้ดี ตนเชื่อว่า กนง.จะมีความเข้าใจ ส่วนจะคาดหวังหรือไม่ตนไม่พูดดีกว่าเพื่อให้ กนง.มีความสบายใจในการตัดสินใจ
'สินเชื่อแบงก์' ติดลบรอบ 15 ปี
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่าหากดูภาพรวมสินเชื่อระบบ"ธนาคารพาณิชย์"ปี 2657 พบว่า โดยรวมสินเชื่อติดลบที่ 0.4% ซึ่งเป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 15 ปีนับตั้งแต่ปี 2552 และสินเชื่อยังขยายตัวติดลบต่อเนื่อง หากเทียบกับปีก่อนหน้าที่ติดลบ 0.3%
โดยสินเชื่อที่ติดลบ 0.4% โดยเกือบทุกพอร์ตสินเชื่อขยายโตต่ำ และติดลบ ยกเว้น รายใหญ่ที่ยังเห็นการเติบโตสินเชื่อได้ โดยเฉพาะสินเชื่อรายย่อย ที่ภาพรวมติดลบ 1.9% จากไตรมาสก่อนหน้าที่ติดลบ 0.8% หลักๆ มาจากสินเชื่อ เช่าซื้อที่หดตัว 9.9% ซึ่งเป็นการหดตัวไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ เพราะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปรับเพิ่มขึ้น แม้ ธปท.จะเห็นสัญญาณการยึดรถเข้าลานประมูลน้อยลง ทำให้ราคารถมือสอง กลับมาปรับดีขึ้น แต่ยังเป็นสัญญาณที่ ธปท.ต้องจับตา
ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs หดตัวลง ด้านสินเชื่ออุปโภคบริโภคหดตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและรายได้กลุ่มเปราะบางที่ฟื้นตัวช้า
"สินเชื่อที่หายไป ต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งมาจากการระมัดระวังในการให้สินเชื่อของแบงก์ด้วย จากเครดิตริสที่เพิ่มสูงขึ้น และในช่วงที่ผ่านมาสินเชื่อขยายตัวไปเยอะมากในภาวะที่จีดีพีไม่โต จีดีพีติดลบในช่วงโควิด"หนี้เสียลด แต่ยังวางใจไม่ได้
ส่วนภาพรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ปัจจุบันลดลงทั้งปริมาณและสัดส่วน โดยหนี้เสียอยู่ที่ 5.50 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 2.78% ลดลงจากไตรมาส 3 ปี2567 ที่อยู่ 5.3 แสนล้านบาท หรืออยู่ที่ 2.97% คิดเป็น หนี้เสียปรับลดลง 2 หมื่นล้านบาท ถือเป็น การปรับลดลงรอบหลายไตรมาส ยกเว้น สินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจาก 3.82% เป็น 3.88% และมองว่ามาตรการ "คุณสู้เราช่วย" ทำให้หนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยดีขึ้นในไตรมาสถัดไป
ทั้งนี้ การลดลงของหนี้เสียส่วนหนึ่งมาจากความพยายามการลดหนี้ช่วงสิ้นปี และเร่งปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ เอสเอ็มอีและรายย่อย ทำให้ลูกหนี้ถูกขยับจากการเป็นหนี้เสียในกลุ่ม Stage 3 ไปอยู่กลุ่มสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Stage 2) เพิ่มขึ้นมาอยู่ 6.98% ขณะที่ยอดตัวเลข ปรับโครงสร้างหนี้สะสมอยู่ที่ 7.18 ล้านบัญชี และคิดเป็นมูลหนี้ 2.66 ล้านล้านบาท
"หนี้เสียลดลง แต่ยังไม่สบายใจ อาจปรับดีขึ้น ในไตรมาสนี้ ดังนั้น ต้องดูกันยาวๆ เพราะไตรมาส 4 เป็นช่วงที่สถาบันการเงินพยายามจัดการเอ็นพีแอลเพื่อปิดงบ รวมทั้ง ธปท.มองว่า ต้องติดตามใกล้ชิดและเป็นห่วงกลุ่มสินเชื่อบ้านที่หนี้เสียเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง"
ระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัว3 ไตรมาส
สำหรับผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ ปี 2567 ระบบธนาคารพาณิชย์มี ความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง
โดยหากดูด้านเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของระบบธนาคารพาณิชย์ โดยรวมอยู่ระดับสูง ที่ 20.4% ด้านสภาพคล่อง (LCR) ขึ้นมาอยู่ที่ 206.4% ส่วนใหญ่มาจากสินทรัพย์สภาพคล่องที่ปรับ เพิ่มขึ้น ด้านเงินสำรอง (NPL Coverage ratio) ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 177.1% หลักๆ เลยก็มาจากปริมาณ เอ็นพีแอลที่ลดลงประมาณ 20,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม หากดูด้านอัตราการขยายตัวของสินเชื่อและตราสารหนี้ พบว่าสินเชื่อหดตัว ขณะที่การระดมทุนผ่านตราสารหนี้หดตัวต่อเนื่อง โดยการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ หดตัวเป็นไตรมาสที่3 โดยไตรมาสล่าสุดหดตัวที่ 2.5% ตามความต้องการลดลง โดยหดตัวในเกือบทุกภาคธุรกิจ ทั้งอุตสาหกรรมก่อสร้าง อสังหาฯ ยกเว้นการออกตราสารหนี้มากขึ้นใน กลุ่มสาธารณูปโภค
แต่โดยรวมยังชะลอตัวของการออก ตราสารหนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากปัจจัยที่กระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุน ที่มีความระมัดระวังมากขึ้น และมีการเลือกถือตราสารที่มีคุณภาพดีขึ้น
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ