ธปท.รับพิจารณาผ่อน 'แอลทีวี' ชี้ยอดขายอสังหาฯ ดิ่ง 'เศรษฐกิจซบ-ผู้กู้เสี่ยงสูง'
วันที่ : 19 กุมภาพันธ์ 2568
ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าาว่า "ปัญหาตอนนี้ไม่ได้ติดที่ใคร แต่มาจากการดูข้อมูล เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต่างฝ่ายต่างมีข้อมูลแตกต่างกัน ดังนั้น ต้องมาดู ทั้งดีมานด์และสินเชื่อว่าที่แย่มาจากอะไร สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ และการผ่อน LTV จะเข้ามาช่วยเหลือตรงนั้นได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมา ธปท. ก็มีการติดตามข้อมูลตลอดไม่ใช่ว่าไม่ดูเลย และจุดยืนของธปท.คือ ต้องดูสถานการณ์ที่เหมาะสม และต้องทำแล้วมีผล และเกิดประโยชน์ช่วยได้จริง"
ย้ำจุดยืนยึดหลักดูสถานการณ์ที่เหมาะสม ต้องเกิดประโยชน์ ช่วยได้จริง
"แบงก์ชาติ" รับเรียกผู้ประกอบการ "อสังหาริมทรัพย์ก่อสร้าง" หารือสถานการณ์ยอดขายอสังหาฯ ชี้ "เอกชน" ขอผ่อนคลายเกณฑ์ "แอลทีวี" เพื่อกระตุ้นยอดซื้อ ด้านธปท. อยู่ระหว่างมอนิเตอร์ และรวบรวมข้อมูลทุกด้าน ก่อนเสนอ เข้าที่ประชุมกนส. พิจารณาต่อ ย้ำแอลทีวีอาจไม่ใช่รากเหง้าของปัญหาทำ "ยอดขาย" ดิ่ง แต่ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจซบ แบงก์เข้มปล่อยกู้ เหตุเครดิต "ผู้กู้เสี่ยงสูง"
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ยอมรับว่าที่ผ่านมา มีการเรียกหารือ ร่วมกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีการหารือเรื่องปัญหาต่างๆ และแลกเปลี่ยน ข้อมูลร่วมกันในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการขอคือ ขอผ่อนคลายมาตรการ LTV สำหรับการซื้อบ้านสัญญาที่ 2-3
โดย ธปท. ยอมรับจากการดูข้อมูลต่างๆ และการหารือกับผู้ประกอบการ ธปท. ก็เห็นภาพของการฟื้นตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มา ซึ่ง ธปท. ก็มีการมอนิเตอร์ปัจจัยเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่ธปท. ต้องพิจารณาคือ การผ่อนคลายเกณฑ์ LTV จะมีส่วนช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ได้จริงหรือไม่ ซึ่งธปท. ก็ไม่ได้ปฏิเสธ และมองว่า LTV มีส่วนช่วยได้ในกลุ่มที่รายได้สูง โดยเฉพาะสัญญาที่ 2-3 และมีศักยภาพในการกู้ได้ แต่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง ดังนั้น เหล่านี้ก็ต้องพิจารณาร่วมกันกับข้อมูลต่างๆ ทั้งสัญญาณการเก็งกำไร ของภาคอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ควบคู่กับอุปสงค์อุปทานคงเหลือของภาคอสังหาริมทรัพย์
ดังนั้น ธปท. เตรียมนำข้อมูลที่หารือร่วมกับผู้ประกอบการต่างๆ และข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อไปนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย สถาบันการเงิน (กนส.) ต่อไป คาดจะมีความชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 หรือครึ่งปีแรกนี้ หรือยังไม่สามารถตอบได้
"ปัญหาตอนนี้ไม่ได้ติดที่ใคร แต่มาจากการดูข้อมูล เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต่างฝ่ายต่างมีข้อมูลแตกต่างกัน ดังนั้น ต้องมาดู ทั้ง ดีมานด์ และสินเชื่อว่าที่แย่มาจาก อะไร สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ และการผ่อน LTV จะเข้ามาช่วยเหลือตรงนั้นได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมา ธปท. ก็มีการติดตามข้อมูลตลอดไม่ใช่ว่าไม่ดูเลย และจุดยืนของธปท.คือ ต้องดูสถานการณ์ที่เหมาะสม และต้องทำแล้วมีผล และเกิดประโยชน์ช่วยได้จริง"
นอกจากนี้ สิ่งที่ธปท.ต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยคือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้า เจอหลายปัจจัยเข้ามากระทบ มีปัจจัยอื่นๆหรือกุญแจอื่นๆหรือไม่ในการเข้ามาแก้ปัญหาด้านนี้ได้ตรงจุดมากกว่า
ทั้งนี้ ยอมรับอสังหาริมทรัพย์ ที่ฟื้นตัวช้า มาจากความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจด้วย และส่วนหนึ่งมาจาก คุณภาพของผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น จากรายได้ผู้กู้เครดิตริสที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ที่ผ่านมายอดขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้ขยายตัวมากนัก เพราะผู้กู้ไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตั้งแต่ต้น
ดังนั้น ธปท.ต้องกลับมาพิจารณาส่วนนี้ เพราะไม่ใช่ว่า LTV จะช่วยแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ ดังนั้นไม่เฉพาะผู้ประกอบการที่ธปท.มีการหารือ แต่รวมไปถึง สถาบันการเงินด้วยว่า หากผ่อนคลายเกณฑ์ LTVต่างๆ ได้จะมีส่วนช่วยให้คนเข้าถึงสินเชื่อได้หรือไม่ ดังนั้น เหล่านี้ต้องเป็นการคุยกันต่อเนื่อง
"เดือนก่อนเรายังบอกสถานการณ์โอเค แต่ไม่ใช่บอกว่าโอเคตลอด ดังนั้น ธปท. ก็รับฟัง ซึ่งปัญหาขณะนี้ อยู่ที่ความเสี่ยงระบบเศรษฐกิจและจากฟื้นตัวของรายได้ผู้กู้เครดิตผู้กู้ที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ที่ผ่านมายอดขายไม่ได้โต ดังนั้น หากบอกเพราะ LTV ที่เป็นรากเหง้าของปัญหาหรือไม่ใช่ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ ธปท. ก็ยอมรับว่าหากผ่อนคลาย LTV แล้ว สำหรับคนบางส่วนที่ต้องการมีบ้านเพิ่ม สำหรับคนมีรายได้เยอะไม่ใช่คนเปราะบางก็อาจจะมีประโยชน์"
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงินธปท. กล่าวว่า สำหรับมาตรการ "คุณสู้ เราช่วย" ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียน ณ 16 ก.พ. 2568 อยู่ที่ 8.2 แสนราย หรือคิดเป็นจำนวนบัญชีอยู่ที่ 9.9 แสนบัญชี ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูล ณ วันที่ 31 ม.ค.2568 พบว่า มีผู้ลงทะเบียนอยู่ที่ 6.3 แสนราย แต่มีผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเพียง 2.4 แสนราย คิดเป็นสัดส่วน 38% ของผู้ลงทะเบียนถือว่าค่อนข้างน้อย และยังไม่ใช่จุด ที่ธปท.พอใจ
โดยปัจจัยที่ทำให้คนเข้าโครงการน้อย หรือไม่ผ่านเงื่อนไข เนื่องจากลงทะเบียนผิดเจ้าหนี้ ผู้ลงทะเบียนยังเป็นลูกหนี้ที่ดี ไม่ได้ค้างชำระหนี้และมียอดหนี้เกินกำหนดที่ธปท. ระบุในแต่ละสินเชื่อ รวมถึงลูกหนี้มีการปิดบัญชีไปแล้ว
ส่วนการขยายโครงการ"คุณสู้ เราช่วย" ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) มีผู้ร่วมโครงการ 2 ราย ซึ่งปัจจุบันก็มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วม แต่จะต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติของธนาคารออมสิน เนื่องจากเป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ให้นอนแบงก์ จึงต้องระมัดระวังความเสี่ยงด้วย
"ถามว่าคนที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย ส่วนนี้ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการหรือไม่ ส่วนนี้เราก็มีการมอนิเตอร์อยู่ แต่กลุ่มนี้ก็มีมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยเหลือกลุ่มนี้อยู่แล้ว และถัดมาที่เป็นอุปสรรคทำให้คนเข้าโครงการไม่ได้ คือการที่กำหนดไม่ให้กู้ภายใน12 เดือน ก็ยอมรับว่า ว่าเป็นอุปสรรคจริงๆ แต่เป้าหมายของธปท.คือ มองว่าโครงการนี้ มีส่วนช่วยลูกหนี้ในการลดภาระหนี้ลด เช่น หากจ่าย 1 หมื่นบาทปีแรกลูกหนี้จะจ่ายแค่เดือนละ 5 พันบาท ลดภาระไปได้เยอะ และการห้ามกู้คือสินเชื่ออุปโภคบริโภค แต่สินเชื่อที่นำไปใช้สำหรับธุรกิจส่วนนี้ธปท.ไม่ได้ห้าม"
"แบงก์ชาติ" รับเรียกผู้ประกอบการ "อสังหาริมทรัพย์ก่อสร้าง" หารือสถานการณ์ยอดขายอสังหาฯ ชี้ "เอกชน" ขอผ่อนคลายเกณฑ์ "แอลทีวี" เพื่อกระตุ้นยอดซื้อ ด้านธปท. อยู่ระหว่างมอนิเตอร์ และรวบรวมข้อมูลทุกด้าน ก่อนเสนอ เข้าที่ประชุมกนส. พิจารณาต่อ ย้ำแอลทีวีอาจไม่ใช่รากเหง้าของปัญหาทำ "ยอดขาย" ดิ่ง แต่ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจซบ แบงก์เข้มปล่อยกู้ เหตุเครดิต "ผู้กู้เสี่ยงสูง"
นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ยอมรับว่าที่ผ่านมา มีการเรียกหารือ ร่วมกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีการหารือเรื่องปัญหาต่างๆ และแลกเปลี่ยน ข้อมูลร่วมกันในภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการขอคือ ขอผ่อนคลายมาตรการ LTV สำหรับการซื้อบ้านสัญญาที่ 2-3
โดย ธปท. ยอมรับจากการดูข้อมูลต่างๆ และการหารือกับผู้ประกอบการ ธปท. ก็เห็นภาพของการฟื้นตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มา ซึ่ง ธปท. ก็มีการมอนิเตอร์ปัจจัยเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
แต่สิ่งที่ธปท. ต้องพิจารณาคือ การผ่อนคลายเกณฑ์ LTV จะมีส่วนช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ได้จริงหรือไม่ ซึ่งธปท. ก็ไม่ได้ปฏิเสธ และมองว่า LTV มีส่วนช่วยได้ในกลุ่มที่รายได้สูง โดยเฉพาะสัญญาที่ 2-3 และมีศักยภาพในการกู้ได้ แต่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง ดังนั้น เหล่านี้ก็ต้องพิจารณาร่วมกันกับข้อมูลต่างๆ ทั้งสัญญาณการเก็งกำไร ของภาคอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ควบคู่กับอุปสงค์อุปทานคงเหลือของภาคอสังหาริมทรัพย์
ดังนั้น ธปท. เตรียมนำข้อมูลที่หารือร่วมกับผู้ประกอบการต่างๆ และข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อไปนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย สถาบันการเงิน (กนส.) ต่อไป คาดจะมีความชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 หรือครึ่งปีแรกนี้ หรือยังไม่สามารถตอบได้
"ปัญหาตอนนี้ไม่ได้ติดที่ใคร แต่มาจากการดูข้อมูล เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต่างฝ่ายต่างมีข้อมูลแตกต่างกัน ดังนั้น ต้องมาดู ทั้ง ดีมานด์ และสินเชื่อว่าที่แย่มาจาก อะไร สินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ และการผ่อน LTV จะเข้ามาช่วยเหลือตรงนั้นได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งที่ผ่านมา ธปท. ก็มีการติดตามข้อมูลตลอดไม่ใช่ว่าไม่ดูเลย และจุดยืนของธปท.คือ ต้องดูสถานการณ์ที่เหมาะสม และต้องทำแล้วมีผล และเกิดประโยชน์ช่วยได้จริง"
นอกจากนี้ สิ่งที่ธปท.ต้องพิจารณาเพิ่มเติมด้วยคือ ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ฟื้นตัวช้า เจอหลายปัจจัยเข้ามากระทบ มีปัจจัยอื่นๆหรือกุญแจอื่นๆหรือไม่ในการเข้ามาแก้ปัญหาด้านนี้ได้ตรงจุดมากกว่า
ทั้งนี้ ยอมรับอสังหาริมทรัพย์ ที่ฟื้นตัวช้า มาจากความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจด้วย และส่วนหนึ่งมาจาก คุณภาพของผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น จากรายได้ผู้กู้เครดิตริสที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ที่ผ่านมายอดขายอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้ขยายตัวมากนัก เพราะผู้กู้ไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อตั้งแต่ต้น
ดังนั้น ธปท.ต้องกลับมาพิจารณาส่วนนี้ เพราะไม่ใช่ว่า LTV จะช่วยแก้ปัญหาส่วนนี้ได้ ดังนั้นไม่เฉพาะผู้ประกอบการที่ธปท.มีการหารือ แต่รวมไปถึง สถาบันการเงินด้วยว่า หากผ่อนคลายเกณฑ์ LTVต่างๆ ได้จะมีส่วนช่วยให้คนเข้าถึงสินเชื่อได้หรือไม่ ดังนั้น เหล่านี้ต้องเป็นการคุยกันต่อเนื่อง
"เดือนก่อนเรายังบอกสถานการณ์โอเค แต่ไม่ใช่บอกว่าโอเคตลอด ดังนั้น ธปท. ก็รับฟัง ซึ่งปัญหาขณะนี้ อยู่ที่ความเสี่ยงระบบเศรษฐกิจและจากฟื้นตัวของรายได้ผู้กู้เครดิตผู้กู้ที่เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ที่ผ่านมายอดขายไม่ได้โต ดังนั้น หากบอกเพราะ LTV ที่เป็นรากเหง้าของปัญหาหรือไม่ใช่ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่ ธปท. ก็ยอมรับว่าหากผ่อนคลาย LTV แล้ว สำหรับคนบางส่วนที่ต้องการมีบ้านเพิ่ม สำหรับคนมีรายได้เยอะไม่ใช่คนเปราะบางก็อาจจะมีประโยชน์"
นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงินธปท. กล่าวว่า สำหรับมาตรการ "คุณสู้ เราช่วย" ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียน ณ 16 ก.พ. 2568 อยู่ที่ 8.2 แสนราย หรือคิดเป็นจำนวนบัญชีอยู่ที่ 9.9 แสนบัญชี ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูล ณ วันที่ 31 ม.ค.2568 พบว่า มีผู้ลงทะเบียนอยู่ที่ 6.3 แสนราย แต่มีผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเพียง 2.4 แสนราย คิดเป็นสัดส่วน 38% ของผู้ลงทะเบียนถือว่าค่อนข้างน้อย และยังไม่ใช่จุด ที่ธปท.พอใจ
โดยปัจจัยที่ทำให้คนเข้าโครงการน้อย หรือไม่ผ่านเงื่อนไข เนื่องจากลงทะเบียนผิดเจ้าหนี้ ผู้ลงทะเบียนยังเป็นลูกหนี้ที่ดี ไม่ได้ค้างชำระหนี้และมียอดหนี้เกินกำหนดที่ธปท. ระบุในแต่ละสินเชื่อ รวมถึงลูกหนี้มีการปิดบัญชีไปแล้ว
ส่วนการขยายโครงการ"คุณสู้ เราช่วย" ในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอนแบงก์) มีผู้ร่วมโครงการ 2 ราย ซึ่งปัจจุบันก็มีผู้ประกอบการให้ความสนใจเข้าร่วม แต่จะต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติของธนาคารออมสิน เนื่องจากเป็นแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) ให้นอนแบงก์ จึงต้องระมัดระวังความเสี่ยงด้วย
"ถามว่าคนที่ยังไม่เป็นหนี้เสีย ส่วนนี้ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการหรือไม่ ส่วนนี้เราก็มีการมอนิเตอร์อยู่ แต่กลุ่มนี้ก็มีมาตรการอื่นๆ ที่ช่วยเหลือกลุ่มนี้อยู่แล้ว และถัดมาที่เป็นอุปสรรคทำให้คนเข้าโครงการไม่ได้ คือการที่กำหนดไม่ให้กู้ภายใน12 เดือน ก็ยอมรับว่า ว่าเป็นอุปสรรคจริงๆ แต่เป้าหมายของธปท.คือ มองว่าโครงการนี้ มีส่วนช่วยลูกหนี้ในการลดภาระหนี้ลด เช่น หากจ่าย 1 หมื่นบาทปีแรกลูกหนี้จะจ่ายแค่เดือนละ 5 พันบาท ลดภาระไปได้เยอะ และการห้ามกู้คือสินเชื่ออุปโภคบริโภค แต่สินเชื่อที่นำไปใช้สำหรับธุรกิจส่วนนี้ธปท.ไม่ได้ห้าม"
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ