DRT ได้ดีช็อปลดภาษีหนุนจ่อรับทรัพย์ไลน์อิฐมวลเบา
วันที่ : 6 กุมภาพันธ์ 2568
DRT อานิสงส์นโยบาย Easy E-Receipt 2.0 หนุนดีมานด์โมเดิร์นเทรดคึกคัก แถมลั่นปี 2568 ผลงานทะยานต่อเนื่อง รับพอร์ตลูกค้า ขยายตัว เดินหน้าโมเดลใหม่ ปูทางต่อยอด ธุรกิจเพิ่ม บิ๊ก "สาธิต สุดบรรทัด" เปรย โครงการผลิตอิฐมวลเบาฉลุย ดีเดย์เปิดรับทรัพย์ในปีนี้
นายสาธิต สุดบรรทัด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ผลิตภัณฑ์ตราเพชร จำกัด (มหาชน) หรือ DRT เปิดเผยว่า สำหรับโครงการอีซี่ อี-รีซีท (Easy E-Receipt) 2.0 โดยให้ผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคล) หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม-28 กุมภาพันธ์ 2568 ตามจำนวนที่จ่ายจริง และสูงสุดไม่เกิน 5 หมื่นบาท ทาง DRT มองถือเป็นประเด็นบวกต่อบริษัทเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของการขายสินค้าต่างๆ ผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรด ซึ่งเชื่อว่าคงจะผลักดันให้ยอดขายจากช่องทางดังกล่าวขยายตัวมากขึ้น
ทั้งนี้ ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของบริษัท นั้นมาจากการขายสินค้าผ่านโมเดิร์นเทรด ต่างๆ คิดเป็นตัวเลขประมาณ 17-18% และที่เหลือเป็นการขายผ่านช่องทางอื่นๆ
ปีนี้หวนกลับมาโต
อย่างไรก็ดี เบื้องต้นในปี 2568 ทาง DRT ประมาณการแนวโน้มผลประกอบการ จะสามารถพลิกกลับมาเติบโตได้ต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับปี 2567 เพราะธุรกิจมีการขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น ประกอบกับยังมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว
ขณะที่ล่าสุดบริษัทได้มีการหันมา ขยายโมเดลธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อเจาะตลาด ผู้สูงวัย (ซีเนียร์) ที่เพิ่มสูงขึ้น หลังช่วงที่ผ่านมาทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ระบุ ผลสำรวจ ปริมาณประชากรสูงอายุอย่าง ต่อเนื่อง พบว่า จำนวนประชากรที่มีอายุ ต่อเนื่องนับจากปี 2537 ที่มีผู้สูงอายุในประเทศไทยเพียง 6.8% ของประชากรทั้งหมด และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 20.0% ของประชากรทั้งหมดในปี 2567 จึงมองเป็นโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
รุกโมเดลต่อยอด
ดังนั้นบริษัทหันมาเน้นทำตลาดในส่วนของบ้านสำเร็จรูปที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เพื่อเจาะตลาดซีเนียร์เพิ่มเติม เป็นการต่อยอดธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งโครงการบ้านซีเนียร์นั้นมีค่าใช้จ่ายการดำเนินการสร้างอยู่ที่ เฉลี่ยราว 20,000 บาทต่อตารางเมตร (ราคาอาจจะมีการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบ) และน่าจะกลาย เป็นอีกแรงสนับสนุนการเติบโตของบริษัทต่อไป
นายสาธิต กล่าวเสริมว่า ในแง่โครงการ ติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตอิฐมวลเบา (AAC-2) มีขนาดกำลังการผลิต ประมาณ 2,900,000 ตารางเมตร หรือคิดเป็น ประมาณ 163,200 ตันต่อปี ซึ่งมูลค่าการลงทุนประมาณ 648 ล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง
จ่อรับทรัพย์อิฐมวลเบา
โดยหากแผนงานต่างๆ สามารถประสบความสำเร็จได้ตามที่วางไว้ คาดว่าน่าจะสามารถติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จและสามารถเปิดผลิตได้ภายในปีนี้หรือไม่เกินไตรมาส 4/2568 และกลายเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตให้กับบริษัทอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ ล่าสุดทาง DRT ได้มีลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 360 ล้านบาท สำหรับโครงการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรผลิตสินค้าอิฐมวลเบา โรงงานที่ 2 ในจังหวัดสระบุรี กำลังการผลิตประมาณ 163,200 ตันต่อปี ซึ่งโรงงานแห่งนี้ได้ออกแบบกระบวน การผลิตตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า ตอกย้ำวิสัยทัศน์ ของบริษัทและเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลด้วย
ทั้งนี้ ปัจจุบันสัดส่วนรายได้ของบริษัท นั้นมาจากการขายสินค้าผ่านโมเดิร์นเทรด ต่างๆ คิดเป็นตัวเลขประมาณ 17-18% และที่เหลือเป็นการขายผ่านช่องทางอื่นๆ
ปีนี้หวนกลับมาโต
อย่างไรก็ดี เบื้องต้นในปี 2568 ทาง DRT ประมาณการแนวโน้มผลประกอบการ จะสามารถพลิกกลับมาเติบโตได้ต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับปี 2567 เพราะธุรกิจมีการขยายฐานกลุ่มลูกค้าให้กว้างขึ้น ประกอบกับยังมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตในระยะยาว
ขณะที่ล่าสุดบริษัทได้มีการหันมา ขยายโมเดลธุรกิจเพิ่มเติม เพื่อเจาะตลาด ผู้สูงวัย (ซีเนียร์) ที่เพิ่มสูงขึ้น หลังช่วงที่ผ่านมาทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ระบุ ผลสำรวจ ปริมาณประชากรสูงอายุอย่าง ต่อเนื่อง พบว่า จำนวนประชากรที่มีอายุ ต่อเนื่องนับจากปี 2537 ที่มีผู้สูงอายุในประเทศไทยเพียง 6.8% ของประชากรทั้งหมด และปรับเพิ่มขึ้นเป็น 20.0% ของประชากรทั้งหมดในปี 2567 จึงมองเป็นโอกาสทางธุรกิจในอนาคต
รุกโมเดลต่อยอด
ดังนั้นบริษัทหันมาเน้นทำตลาดในส่วนของบ้านสำเร็จรูปที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เพื่อเจาะตลาดซีเนียร์เพิ่มเติม เป็นการต่อยอดธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งโครงการบ้านซีเนียร์นั้นมีค่าใช้จ่ายการดำเนินการสร้างอยู่ที่ เฉลี่ยราว 20,000 บาทต่อตารางเมตร (ราคาอาจจะมีการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบ) และน่าจะกลาย เป็นอีกแรงสนับสนุนการเติบโตของบริษัทต่อไป
นายสาธิต กล่าวเสริมว่า ในแง่โครงการ ติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตอิฐมวลเบา (AAC-2) มีขนาดกำลังการผลิต ประมาณ 2,900,000 ตารางเมตร หรือคิดเป็น ประมาณ 163,200 ตันต่อปี ซึ่งมูลค่าการลงทุนประมาณ 648 ล้านบาท ปัจจุบันมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง
จ่อรับทรัพย์อิฐมวลเบา
โดยหากแผนงานต่างๆ สามารถประสบความสำเร็จได้ตามที่วางไว้ คาดว่าน่าจะสามารถติดตั้งเครื่องจักรแล้วเสร็จและสามารถเปิดผลิตได้ภายในปีนี้หรือไม่เกินไตรมาส 4/2568 และกลายเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตให้กับบริษัทอีกทางหนึ่ง
นอกจากนี้ ล่าสุดทาง DRT ได้มีลงนามในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 360 ล้านบาท สำหรับโครงการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรผลิตสินค้าอิฐมวลเบา โรงงานที่ 2 ในจังหวัดสระบุรี กำลังการผลิตประมาณ 163,200 ตันต่อปี ซึ่งโรงงานแห่งนี้ได้ออกแบบกระบวน การผลิตตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า ตอกย้ำวิสัยทัศน์ ของบริษัทและเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ ด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลด้วย
ข่าววัสดุก่อสร้าง-เฟอร์นิเจอร์ อื่นๆ