ธปท.ยอมหั่นดอกเบี้ย หวังลดหนี้-ไม่เกี่ยวการเมือง
Loading

ธปท.ยอมหั่นดอกเบี้ย หวังลดหนี้-ไม่เกี่ยวการเมือง

วันที่ : 17 ตุลาคม 2567
ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยว่า เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง
      ธปท.ยอมหั่นดอกเบี้ย หวังลดหนี้-ไม่เกี่ยวการเมือง

    คณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 5/2567 มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 ลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหลือ 2.25% จากเดิมอยู่ที่ 2.50% ให้น้ำหนักช่วยลดภาระหนี้ให้กับลูกหนี้ลงบ้าง ส่วนสินเชื่อมีแนวโน้มชะลอตัวลง ไม่ได้รับแรงกดดันจากการเมือง หุ้นไทยเด้งรับทันทีบวกเกือบ 20 จุด สวนทางตลาดหุ้นเอเชียลุ้นทดสอบ 1,500 จุด

    นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ว่า คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 2.50% เป็น 2.25% ต่อปี โดยให้มีผลทันที เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป จะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 ด้านกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้มีแนวโน้มเกิดขึ้นต่อเนื่อง

    แบงก์ชาติหวังบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง

    ดังนั้น จุดยืนของนโยบายการเงินที่เป็นกลางยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ ซึ่งไม่เกี่ยวกับแรงกดดันทางการเมือง และน่าจะช่วยบรรเทาภาระหนี้ได้บ้าง โดยไม่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ภายใต้บริบทที่สินเชื่อ มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง และอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงอยู่ในระดับที่ยังเป็นกลางและสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ โดย ธปท.ยังคงยืนยันการปรับ โครงสร้างหนี้เป็นการช่วยเหลือและดูแลภาระหนี้ให้กับประชาชนได้ดี ซึ่ง ธปท.ได้ทยอยออกมาตรการช่วยเหลืออยู่ต่อเนื่อง

    ปรับเพิ่มจีดีพีปี 67 เติบโตเป็น 2.7%

    สำหรับเศรษฐกิจไทย กนง.ได้พิจารณาปรับเพิ่มประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในปี 2567 เป็น 2.7% จากเดิมที่ประเมินไว้ 2.6% และ ในปี 2568 ได้ปรับลดประมาณการจีดีพี 2.9% จาก เดิมที่ประเมินไว้ 3% โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญมาจากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนซึ่งได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึง การส่งออกที่ปรับดีขึ้นตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เศรษฐกิจ ฟื้นตัวแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยการส่งออกสินค้าและการผลิตภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม รวมถึง SMEs ยัง ถูกกดดันจากปัจจัยเชิงโครงสร้างอัตรา เงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 และ 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และ 1.2% ตามลำดับ

    โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสด มีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากสภาพอากาศ ที่ผันผวน และอัตราเงินเฟ้อ หมวดพลังงานมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นจากผลของฐาน ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และ 0.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ใน ระดับต่ำส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่อยู่ในระดับสูงจากสินค้านำเข้า ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ ในระยะปานกลางยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับกรอบเป้าหมาย และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้า สู่กรอบเป้าหมายในช่วงปลายปี 2567 อย่างไรก็ตาม เรื่องกรอบเงินเฟ้อยังคงมีการหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้ง

    ภาวะการเงินโดยรวมตึงตัวขึ้นบ้าง อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. ปรับแข็งค่า ตามทิศทางนโยบาย การเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักและปัจจัยเฉพาะในประเทศ ด้านต้นทุนการ กู้ยืมของภาคเอกชนผ่านธนาคารพาณิชย์และตลาดตราสารหนี้ยังทรงตัวใกล้เคียงเดิม สินเชื่อโดยรวมชะลอลงโดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจ SMEs กลุ่มธุรกิจที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง รวมทั้งสินเชื่อเช่าซื้อ และบัตรเครดิต

    ครัวเรือน - SMEไม่ฟื้นภาระหนี้ยังสูง

    ด้านคุณภาพสินเชื่อปรับด้อยลง ส่วนหนึ่งมาจากลูกหนี้ที่เคยได้รับความช่วยเหลือทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา และธุรกิจ SMEs และครัวเรือนที่รายได้ยัง ฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง คณะ กรรมการฯ ยังสนับสนุนนโยบายของ ธปท. ที่ให้สถาบันการเงินช่วยเหลือลูกหนี้ ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาภาระหนี้ที่ตรงจุดและมีส่วนช่วยกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ ทั้งนี้ ต้องติดตามผลกระทบ ของคุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลงต่อต้นทุนการกู้ยืมและการขยายตัวของสินเชื่อในภาพรวม รวมถึงนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

    ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบาย การเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังควรอยู่ในระดับที่เป็นกลาง และสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ รวมทั้งไม่ต่ำเกินไปจนนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลทางการเงินในระยะยาว

    หุ้นปิดพุ่ง 19.98 จุดบรับ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ย

    นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทย วานนี้ได้แรงหนุนหลักจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติลดดอกเบี้ย 0.25% สร้างเซอร์ไพรส์ให้ตลาด ส่งผลให้ performance ดีกว่าตลาดหุ้นเอเชียที่ อ่อนตัวตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยบ้านเรามีแรงซื้อเข้ามามากในกลุ่มไฟแนนซ์ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทที่มีหนี้สูง โดยเฉพาะ TRUE หวังช่วย ลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลง

    ลุ้นดัชนีหุ้นไทยแตะ 1,500 จุด

    ด้านภาวะตลาดหุ้นไทยปิดการ ซื้อขายที่ระดับ 1,485.01 จุด เพิ่มขึ้น 19.98 จุด หรือเปลี่ยนแปลง +1.36% มูลค่า ซื้อขาย 77,184.13 ล้านบาท

    แนวโน้มการลงทุนในวันนี้มอง โมเมมตัมยังดูดีมีโอกาสไต่ระดับขึ้น ต่อไปทดสอบ 1,500 จุดได้ แต่ยังมองว่าอาจผ่านไปได้ไม่ง่ายนัก คาดยังมีแรงซื้อกลุ่ม ที่รับประโยชน์ดอกเบี้ยขาลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกอง REIT และกองอินฟรา สตรักเจอร์ก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน

    ส่วนหุ้นกลุ่มแบงก์ แม้จะไม่ได้รับประโยชน์ แต่คงไม่มีแรงเทขายออกมา มากนัก เพราะงบไตรมาส 3/67 ของตัว ที่ประกาศออกมาแล้วดูดีจากการตั้ง สำรองลดลง พร้อมให้แนวต้านแรกที่ 1,490 จุด ถัดไป 1,500 จุด แนวรับให้ไว้ที่ 1,475 จุด 

 
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ