ธอส.ลั่น กดหนี้เสีย เหลือไม่เกิน 5%
วันที่ : 18 ธันวาคม 2567
ธอส. วางเป้าปี 68 ปล่อยสินเชื่อใหม่ทะลุ 2.5 แสนล้านบาท กด NPL ลงมาอยู่ที่ 4-5% พร้อมเดินหน้าแก้หนี้เสีย ผ่านโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ระบุมีลูกหนี้เข้าข่าย 3.49 แสนบัญชี หั่นรายได้ดอกเบี้ยช่วยปีละ 8.4 พันล้านบาท ลุยปล่อยกู้บ้านเพื่อคนไทย ผ่อนไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในปี 2568 ธนาคารได้วางเป้าหมายปล่อยสินเชื่อสนับสนุนคนไทยมีบ้านให้ได้ 2.4-2.5 แสนล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 67 ที่วางเป้าหมายว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อได้ 2.3 แสนล้านบาท ซึ่งจะมาจากการสนับสนุนสินเชื่อ ได้แก่ โครงการบ้านเพื่อคนไทย โครงการสินเชื่อสร้างซ่อมแซม 50,000 ล้านบาท และโครงการสินเชื่อผู้ประกันตน เป็นต้น
ขณะที่ผลดำเนินงานในปี 2567 ในช่วงเดือนพ.ย.67 สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 1.9 แสนล้านบาท ลดลง 13% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ และการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ปัจจุบันนี้ ธอส.สามารถปล่อยสินเชื่อได้รวมกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว มั่นใจว่าปีนี้จะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
"แม้แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อชะลอลง แต่ธนาคารมีส่วนแบ่งการปล่อยกู้สินเชื่อบ้านในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมาก เป็นกว่า 40% ส่วนปีหน้าคาดว่าจะปล่อยกู้เพิ่มเป็น 2.4-2.5 แสนล้านบาท และดูแลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้ลดลงจากปัจจุบัน 5.5% เหลือ 4-5% ขณะที่กำไรจะไม่สูงเหมือนกับปีนี้ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากธนาคารมีการเดินหน้าภารกิจช่วยเหลือสังคมเพิ่มขึ้น"
ขณะที่การจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ในปี 2567 และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบด้านรายได้ให้กับลูกค้านั้น ปัจจุบันมีลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการรวม 1.14 แสนบัญชี คิดเป็นวงเงินต้นคงเหลือ 1.33 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ในปี 2568 ธอส.พร้อมช่วยแก้ไขหนี้ประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล ผ่านโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" โดยลูกหนี้ ธอส. ที่เข้าข่ายรับสิทธิโครงการดังกล่าว มีจำนวน 3.49 แสนบัญชี มูลหนี้ 3.1 แสนล้านบาท ซึ่งหลังจากเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด วันที่ 14 ธ.ค.67 มีลูกหนี้เข้ามาลงทะเบียนแล้ว 6,600 ราย
ทั้งนี้ ธนาคารได้ประเมินเบื้องต้น หากมีลูกหนี้เข้าร่วมแก้หนี้ครบทั้งหมด และผ่อนตรงได้ตามเงื่อนไขพร้อมกับได้รับยกเว้นดอกเบี้ยนั้น ธนาคารจะมีรายได้จากดอกเบี้ยในส่วนนี้ลดลงกว่าปีละ 1.69 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ธอส.จะเข้าไปรับผิดชอบครึ่งหนึ่งประมาณ 8,400 ล้านบาท และรัฐบาลจะรับผิดชอบอีกครึ่งหนึ่ง ผ่านการใช้มาตรา 28 ตามพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ประเมินว่า ในปี 2568 แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของแบงก์จะปรับลดลงมา อยู่ระดับ 4-5% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5.5% ขณะเดียวกัน สัดส่วนการตั้งสำรองของแบงก์ก็จะลดลงด้วย
"แม้มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ ธอส.มีรายได้จากดอกเบี้ยลดไปบ้าง แต่ในทางกลับกันก็จะช่วยให้ภาระหนี้เสีย และการตั้งสำรองลดลงไปด้วย ซึ่งเดิมเราวางเป้าว่าจะมีการตั้งสำรองปี 68 ประมาณ 8,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเงินชดเชยดอกเบี้ย แต่หาก NPL ลดลง เงินตั้งสำรองก็คงไม่ถึงยอดที่ตั้งใจไว้" ทั้งนี้ ในปี 2568 ธอส. พร้อมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลจากโครงการบ้านเพื่อคนไทย เบื้องต้น รัฐบาลจะนำร่องนำที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีทำเลไปมาสะดวก มาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ ให้คนไทยที่มีรายได้น้อยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์พักอาศัยในระยะยาว โดยรัฐบาลจะมีการแถลงรายะเอียดอีกครั้ง
"ตอนนี้กำลังรอดูรายละเอียดที่ชัดเจนอยู่ แต่ยืนยันว่า ธอส.มีความพร้อมในการสนับสนุนแหล่งเงินดอกเบี้ยถูกแน่นอน สักไม่เกิน 3-4% เพื่อให้คนไทยได้ผ่อนเดือนละ 4,000 บาทตามนโยบาย ซึ่งเป็นคอนเซปท์คล้ายกับโครงการบ้านคนไทยประชารัฐ บนพื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ที่เคยทำไปก่อนหน้านี้ ส่วนระยะเวลาการกู้จะเป็น 30 ปี บวก 30 ปี หรือมากกว่านั้นจะต้องรอดูรายละเอียดต่อไป"
ขณะที่ผลดำเนินงานในปี 2567 ในช่วงเดือนพ.ย.67 สามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 1.9 แสนล้านบาท ลดลง 13% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ และการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ปัจจุบันนี้ ธอส.สามารถปล่อยสินเชื่อได้รวมกว่า 2 แสนล้านบาทแล้ว มั่นใจว่าปีนี้จะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
"แม้แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อชะลอลง แต่ธนาคารมีส่วนแบ่งการปล่อยกู้สินเชื่อบ้านในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นมาก เป็นกว่า 40% ส่วนปีหน้าคาดว่าจะปล่อยกู้เพิ่มเป็น 2.4-2.5 แสนล้านบาท และดูแลหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้ลดลงจากปัจจุบัน 5.5% เหลือ 4-5% ขณะที่กำไรจะไม่สูงเหมือนกับปีนี้ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท เนื่องจากธนาคารมีการเดินหน้าภารกิจช่วยเหลือสังคมเพิ่มขึ้น"
ขณะที่การจัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือน ในปี 2567 และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบด้านรายได้ให้กับลูกค้านั้น ปัจจุบันมีลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการรวม 1.14 แสนบัญชี คิดเป็นวงเงินต้นคงเหลือ 1.33 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ ในปี 2568 ธอส.พร้อมช่วยแก้ไขหนี้ประชาชน ตามนโยบายรัฐบาล ผ่านโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" โดยลูกหนี้ ธอส. ที่เข้าข่ายรับสิทธิโครงการดังกล่าว มีจำนวน 3.49 แสนบัญชี มูลหนี้ 3.1 แสนล้านบาท ซึ่งหลังจากเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุด วันที่ 14 ธ.ค.67 มีลูกหนี้เข้ามาลงทะเบียนแล้ว 6,600 ราย
ทั้งนี้ ธนาคารได้ประเมินเบื้องต้น หากมีลูกหนี้เข้าร่วมแก้หนี้ครบทั้งหมด และผ่อนตรงได้ตามเงื่อนไขพร้อมกับได้รับยกเว้นดอกเบี้ยนั้น ธนาคารจะมีรายได้จากดอกเบี้ยในส่วนนี้ลดลงกว่าปีละ 1.69 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ธอส.จะเข้าไปรับผิดชอบครึ่งหนึ่งประมาณ 8,400 ล้านบาท และรัฐบาลจะรับผิดชอบอีกครึ่งหนึ่ง ผ่านการใช้มาตรา 28 ตามพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง
อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินโครงการดังกล่าว ประเมินว่า ในปี 2568 แนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของแบงก์จะปรับลดลงมา อยู่ระดับ 4-5% จากปัจจุบันอยู่ที่ 5.5% ขณะเดียวกัน สัดส่วนการตั้งสำรองของแบงก์ก็จะลดลงด้วย
"แม้มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ ธอส.มีรายได้จากดอกเบี้ยลดไปบ้าง แต่ในทางกลับกันก็จะช่วยให้ภาระหนี้เสีย และการตั้งสำรองลดลงไปด้วย ซึ่งเดิมเราวางเป้าว่าจะมีการตั้งสำรองปี 68 ประมาณ 8,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเงินชดเชยดอกเบี้ย แต่หาก NPL ลดลง เงินตั้งสำรองก็คงไม่ถึงยอดที่ตั้งใจไว้" ทั้งนี้ ในปี 2568 ธอส. พร้อมขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลจากโครงการบ้านเพื่อคนไทย เบื้องต้น รัฐบาลจะนำร่องนำที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีทำเลไปมาสะดวก มาพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียม ทาวน์เฮ้าส์ ให้คนไทยที่มีรายได้น้อยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์พักอาศัยในระยะยาว โดยรัฐบาลจะมีการแถลงรายะเอียดอีกครั้ง
"ตอนนี้กำลังรอดูรายละเอียดที่ชัดเจนอยู่ แต่ยืนยันว่า ธอส.มีความพร้อมในการสนับสนุนแหล่งเงินดอกเบี้ยถูกแน่นอน สักไม่เกิน 3-4% เพื่อให้คนไทยได้ผ่อนเดือนละ 4,000 บาทตามนโยบาย ซึ่งเป็นคอนเซปท์คล้ายกับโครงการบ้านคนไทยประชารัฐ บนพื้นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ที่เคยทำไปก่อนหน้านี้ ส่วนระยะเวลาการกู้จะเป็น 30 ปี บวก 30 ปี หรือมากกว่านั้นจะต้องรอดูรายละเอียดต่อไป"
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ