อสังหาฯ โค้งสุดท้ายยังวิกฤติหนักรอบทศวรรษ! 'รีเจกต์เรต-ดอกเบี้ย-น้ำท่วม' ทุบตลาดติดลบ 20%
วันที่ : 11 ตุลาคม 2567
นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการก่อสร้าง ค่าแรง และค่าวัสดุเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้นตาม ขณะที่ รายได้ประชาชนไม่เติบโตตามราคาบ้านที่ปรับขึ้น ดังนั้นปัญหาใหญ่ของอสังหาริมทรัพย์คือฝั่งดีมานด์ ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ
บุษกร ภู่แส
กรุงเทพธุรกิจ
ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยไตรมาส 4 ปี 2567 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากยอดขาย ยอดโอน ยังไม่ฟื้นตัว เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาปฏิเสธสินเชื่อ ดอกเบี้ยสูง น้ำท่วม รวมทั้งเงินบาทแข็งค่า ซึ่งถือว่าถึงจุดต่ำสุดแล้ว คาดว่าภาพรวมปี 2567 ตลาดจะติดลบ 20% สูงสุดในรอบ 10 ปี แม้ว่าไตรมาส 4 มีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากมีคอนโดมิเนียมที่กำลังก่อสร้างทยอยสร้างเสร็จสูงถึง 86,052 ล้านบาท เทียบไตรมาสแรก สร้างเสร็จใหม่มูลค่า 35,686 ล้านบาท ไตรมาส 2 มูลค่า 20,778 ล้านบาท และไตรมาส 3 มูลค่า 33,235 ล้านบาท
"หากสามารถโอนคอนโดมิเนียม 86,000 ล้านบาท ที่สร้างเสร็จได้จะช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ฟื้นตัวเต็มรูปแบบหลังจากผ่านเพอร์เฟกต์สตรอม"
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญต้องเร่งลดดอกเบี้ยเพื่อ "ลดภาระ" ให้ลูกค้าสินเชื่อ กลุ่มแรก ลูกค้าสินเชื่อใหม่ เน้นจัดหาแพ็กเกจสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ กลุ่มที่สอง ลูกค้าที่กำลังผ่อนชำระ หากลดดอกเบี้ยจะช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยให้ลูกหนี้มากขึ้น ทำให้หนี้เสีย "ลดลง" เพราะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะช่วยลดภาระคนกู้ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระค่างวดโดยเฉพาะกลุ่ม K-Shaped ที่เป็น K ขาล่าง ที่ต้องรับแบกรับภาระค่าดอกเบี้ย ดังนั้นการลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จะช่วยลดภาระค่าผ่อนของคนกลุ่มนี้ได้
นอกจากนี้ การลดดอกเบี้ยยังส่งผลให้เงินบาทไม่แข็งค่า ดึงดูดลูกค้าต่างชาติซื้อและรับโอนคอนโดมิเนียมเร็วขึ้น รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องผ่อนปรน มาตรการควบคุมสินเชื่อ LTV (Loan to Value) ที่บังคับให้มีเงินดาวน์ 20-30% ในการขอ สินเชื่อซื้อบ้านหลังที่ 2-3 อย่างน้อย 2 ปี เพื่อกระตุ้นระยะสั้นให้อสังหาริมทรัพย์ไทย ฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
"หากไม่เร่งสปีดในการแก้ปัญหาเกรงว่าเกิดโดมิโนเอฟเฟกต์ในปีหน้า ผู้ประกอบการจะไม่มีเงินจ่ายเงินกู้ หรือ มีเม็ดเงินลงทุนพัฒนาโครงการใหม่"
โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลดดอกเบี้ยและปลดล็อก LTV ต้องจับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 16 ต.ค. ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ! หากมีการปรับลดดอกเบี้ยและผ่อนปรนมาตรการ LTV จะทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ของโครงการเหล่านี้เป็นไปอย่างประสิทธิภาพ กระตุ้น กำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น
สุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร มองแนวโน้มปี 2568 อสังหาริมทรัพย์น่าจะเป็นบวกจากปี 2567 ตลาดถึงจุดต่ำสุด! ดังนั้นปี 2568 รัฐบาลต้องสร้าง Game Changer ด้วยการเร่งลงทุนรถไฟฟ้า ภาคอีสาน เหนือ และใต้ รวมทั้งรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะทำให้เกิด การขยายตลาดอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัด ส่งผลต่อรายได้หลักจากตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสัดส่วน 60% ต่างจังหวัด 35% อนาคตสัดส่วนจะเปลี่ยนไป ต่างจังหวัดอาจมากกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล
ขณะเดียวกัน อยากให้รัฐบาลต่ออายุมาตรการอีก 1 ปี ทั้งลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 0.01% ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขาย ที่อยู่อาศัยราคาประเมินไม่เกิน 7 ล้านบาท จะสิ้นสุดมาตรการสิ้นปี 2567 พร้อมทบทวนเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมกำหนดให้หักลดหย่อนค่าจ้าง ก่อสร้างบ้านให้แก่ผู้รับจ้าง 10,000 บาท ต่อทุก ค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท รวมไม่เกิน 100,000 บาท
"5 ปีที่ผ่านมา แม้ภาครัฐควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่ความท้าทายที่แท้จริงของตลาดบ้านจัดสรร คือ ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ปัจจุบันปัญหาหลักใน การซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ใช่แค่เรื่อง การเงินที่ไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะธนาคารปฏิเสธสินเชื่อมากขึ้น จาก 10-15% เวลานี้เพิ่มขึ้นเป็น 35-60% ในบางโครงการ โดยเฉพาะโครงการบ้านราคาถูก การเข้าถึงสินเชื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากรัฐสนับสนุนมาตรการเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินเชื่อได้ จะช่วยกระตุ้นตลาดได้มาก"
ด้าน พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการก่อสร้าง ค่าแรง และค่าวัสดุเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้นตาม ขณะที่ รายได้ประชาชนไม่เติบโตตามราคาบ้านที่ปรับขึ้น ดังนั้นปัญหาใหญ่ของอสังหาริมทรัพย์คือฝั่งดีมานด์ ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ
"แนวโน้มปี 2568 ภาคอสังหาริมทรัพย์อาจกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง แต่ต้องดูปัจจัยสำคัญ เช่น การปรับขึ้นค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน และการขนส่ง"
กรุงเทพธุรกิจ
ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยไตรมาส 4 ปี 2567 ยังคงเผชิญกับความท้าทายจากยอดขาย ยอดโอน ยังไม่ฟื้นตัว เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาปฏิเสธสินเชื่อ ดอกเบี้ยสูง น้ำท่วม รวมทั้งเงินบาทแข็งค่า ซึ่งถือว่าถึงจุดต่ำสุดแล้ว คาดว่าภาพรวมปี 2567 ตลาดจะติดลบ 20% สูงสุดในรอบ 10 ปี แม้ว่าไตรมาส 4 มีทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากมีคอนโดมิเนียมที่กำลังก่อสร้างทยอยสร้างเสร็จสูงถึง 86,052 ล้านบาท เทียบไตรมาสแรก สร้างเสร็จใหม่มูลค่า 35,686 ล้านบาท ไตรมาส 2 มูลค่า 20,778 ล้านบาท และไตรมาส 3 มูลค่า 33,235 ล้านบาท
"หากสามารถโอนคอนโดมิเนียม 86,000 ล้านบาท ที่สร้างเสร็จได้จะช่วยให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2568 ฟื้นตัวเต็มรูปแบบหลังจากผ่านเพอร์เฟกต์สตรอม"
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญต้องเร่งลดดอกเบี้ยเพื่อ "ลดภาระ" ให้ลูกค้าสินเชื่อ กลุ่มแรก ลูกค้าสินเชื่อใหม่ เน้นจัดหาแพ็กเกจสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ กลุ่มที่สอง ลูกค้าที่กำลังผ่อนชำระ หากลดดอกเบี้ยจะช่วยบรรเทาภาระดอกเบี้ยให้ลูกหนี้มากขึ้น ทำให้หนี้เสีย "ลดลง" เพราะการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะช่วยลดภาระคนกู้ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระค่างวดโดยเฉพาะกลุ่ม K-Shaped ที่เป็น K ขาล่าง ที่ต้องรับแบกรับภาระค่าดอกเบี้ย ดังนั้นการลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% จะช่วยลดภาระค่าผ่อนของคนกลุ่มนี้ได้
นอกจากนี้ การลดดอกเบี้ยยังส่งผลให้เงินบาทไม่แข็งค่า ดึงดูดลูกค้าต่างชาติซื้อและรับโอนคอนโดมิเนียมเร็วขึ้น รวมทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องผ่อนปรน มาตรการควบคุมสินเชื่อ LTV (Loan to Value) ที่บังคับให้มีเงินดาวน์ 20-30% ในการขอ สินเชื่อซื้อบ้านหลังที่ 2-3 อย่างน้อย 2 ปี เพื่อกระตุ้นระยะสั้นให้อสังหาริมทรัพย์ไทย ฟื้นตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
"หากไม่เร่งสปีดในการแก้ปัญหาเกรงว่าเกิดโดมิโนเอฟเฟกต์ในปีหน้า ผู้ประกอบการจะไม่มีเงินจ่ายเงินกู้ หรือ มีเม็ดเงินลงทุนพัฒนาโครงการใหม่"
โดยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการลดดอกเบี้ยและปลดล็อก LTV ต้องจับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 16 ต.ค. ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ! หากมีการปรับลดดอกเบี้ยและผ่อนปรนมาตรการ LTV จะทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ของโครงการเหล่านี้เป็นไปอย่างประสิทธิภาพ กระตุ้น กำลังซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้มากขึ้น
สุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร มองแนวโน้มปี 2568 อสังหาริมทรัพย์น่าจะเป็นบวกจากปี 2567 ตลาดถึงจุดต่ำสุด! ดังนั้นปี 2568 รัฐบาลต้องสร้าง Game Changer ด้วยการเร่งลงทุนรถไฟฟ้า ภาคอีสาน เหนือ และใต้ รวมทั้งรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะทำให้เกิด การขยายตลาดอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัด ส่งผลต่อรายได้หลักจากตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสัดส่วน 60% ต่างจังหวัด 35% อนาคตสัดส่วนจะเปลี่ยนไป ต่างจังหวัดอาจมากกว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล
ขณะเดียวกัน อยากให้รัฐบาลต่ออายุมาตรการอีก 1 ปี ทั้งลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 0.01% ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จาก 1% เหลือ 0.01% สำหรับการซื้อขาย ที่อยู่อาศัยราคาประเมินไม่เกิน 7 ล้านบาท จะสิ้นสุดมาตรการสิ้นปี 2567 พร้อมทบทวนเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเดิมกำหนดให้หักลดหย่อนค่าจ้าง ก่อสร้างบ้านให้แก่ผู้รับจ้าง 10,000 บาท ต่อทุก ค่าก่อสร้าง 1 ล้านบาท รวมไม่เกิน 100,000 บาท
"5 ปีที่ผ่านมา แม้ภาครัฐควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้ แต่ความท้าทายที่แท้จริงของตลาดบ้านจัดสรร คือ ความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ปัจจุบันปัญหาหลักใน การซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ใช่แค่เรื่อง การเงินที่ไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะธนาคารปฏิเสธสินเชื่อมากขึ้น จาก 10-15% เวลานี้เพิ่มขึ้นเป็น 35-60% ในบางโครงการ โดยเฉพาะโครงการบ้านราคาถูก การเข้าถึงสินเชื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากรัฐสนับสนุนมาตรการเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินเชื่อได้ จะช่วยกระตุ้นตลาดได้มาก"
ด้าน พรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการก่อสร้าง ค่าแรง และค่าวัสดุเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาบ้านปรับตัวสูงขึ้นตาม ขณะที่ รายได้ประชาชนไม่เติบโตตามราคาบ้านที่ปรับขึ้น ดังนั้นปัญหาใหญ่ของอสังหาริมทรัพย์คือฝั่งดีมานด์ ผู้บริโภคไม่มีกำลังซื้อ
"แนวโน้มปี 2568 ภาคอสังหาริมทรัพย์อาจกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง แต่ต้องดูปัจจัยสำคัญ เช่น การปรับขึ้นค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง รวมถึงปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน และการขนส่ง"
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ