JMT จ่อขายNPA2พันล. ลุยซื้อหนี้เข้าพอร์ตเพิ่ม
Loading

JMT จ่อขายNPA2พันล. ลุยซื้อหนี้เข้าพอร์ตเพิ่ม

วันที่ : 7 สิงหาคม 2567
JMT เปิดเผยว่า บริษัทยังมีแนวทางดำเนินจัดซื้อหนี้เสีย (NPL) ของสถาบันการเงินต่างๆ เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งเบื้องต้นวางงบไว้ประมาณ 2 พันล้านบาท โดยจะมุ่งเน้นการซื้อ NPL แบบไม่มีหลักประกัน (Unsecure) เป็นหลัก เพื่อเสริมพอร์ตบริหารหนี้ ในระยะยาว
         
       JMT เดินหน้าขาย NPA อสังหาริมทรัพย์ มูลค่าราว 2 พันล้านบาท สยายปีก รับทรัพย์เพิ่ม ผู้บริหาร "สุทธิรักษ์" เผยล่าสุด เปิดตัวแอปใหม่ "BAANBAAN" ดึงผู้สนใจ ที่อยู่อาศัยคุณภาพในราคาที่โดนใจ แถมชูจุดฟีเจอร์ขอสินเชื่อรีโนเวต-ประกันในที่เดียว แถมใส่เกียร์ทุ่มงบลงทุนราว 2 พันล้านบาท ลุยซื้อหนี้เสียเข้าพอร์ตเต็มพิกัด อัพฐานอนาคต

       นายสุทธิรักษ์ ตรัยชิรอาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT เปิดเผยว่า บริษัทมีทรัพย์สินที่รอขาย (NPA) ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ในมือ จำนวนมากกว่า 1,000 รายการ หรือคิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 2 พันล้านบาท เพื่อเสริมรายรับเพิ่มเติมและสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในอนาคต

         ขณะเดียวล่าสุดบริษัทได้มี การเปิดตัวแอปพลิเคชันใหม่ภายใต้ชื่อ "BAANBAAN (บ้านบ้าน)" ซึ่งสามารถ ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้งระบบ ปฏิบัติการ "IOS" และ "แอนดรอยด์" โดย แอปดังกล่าวนั้นได้มีการรวมทรัพย์สิน ที่มีคุณภาพทั้งบ้านเดี่ยว,ทาวน์โฮม, อาคารพาณิชย์, คอนโดมิเนียม และที่ดิน ซึ่งกระจายในทำเลต่างๆ ที่มีศักยภาพและกระจายในทำเลต่างๆ ทั่วประเทศไทย
 
         นอกจากนี้ภายในแอป "BAANBAAN" ยังได้มีการรวมฟีเจอร์ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่สนใจสินทรัพย์ภายในแอป เช่น การนัดดูทรัพย์จริง, การประเมินวงเงิน, การยื่นขอสินเชื่อ, การปรับปรุง (รีโนเวต), ประกันภัย ฯลฯ ในแอปเดียว ซึ่งจะช่วยอำนวยให้กับผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยและสินทรัพย์ภายใน แอปนี้ได้เป็นอย่างดี

         เล็งโมเดลเร่งเก็บหนี้

         อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังปี 2567 ทาง JMT จะเดินหน้าดำเนินการทางกฎหมายกับลูกหนี้รวมประมาณ 1.5 แสนบัญชี โดยเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้และมีสินทรัพย์ และได้มีการเริ่มดำเนินการไปแล้วบางส่วนตั้งแต่ช่วงมิถุนายน 2567 ที่ผ่านและคงต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2567 ซึ่งคาดจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนราว 500 ล้านบาท

         ทั้งนี้ ถ้าแผนงานต่างๆ สำเร็จตามที่คาดไว้ น่าจะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการจัดเก็บเงินสด (Cash Collection) ภายในระยะเวลา 1 ปี 6 เดือนนับตั้งแต่ดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่เกินช่วงปี 2568 หรือคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ราว 1.2 พันล้านบาท

         ควักงบช็อป NPL

         นายสุทธิรักษ์ กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีแนวทางดำเนินจัดซื้อหนี้เสีย (NPL) ของสถาบันการเงินต่างๆ เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งเบื้องต้นวางงบไว้ประมาณ 2 พันล้านบาท โดยจะมุ่งเน้นการซื้อ NPL แบบไม่มีหลักประกัน (Unsecure) เป็นหลัก เพื่อเสริมพอร์ตบริหารหนี้ ในระยะยาว

         โดย NPL ที่บริษัทสนใจการเข้าซื้อหนี้เสียจะต้องสามารถที่จะให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) ไม่ต่ำกว่า 12% ผลนโยบาย Responsible Lending ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งผลให้ปริมาณ NPL ที่ทยอยประกาศขายนั้นมีปริมาณน้อยลงในช่วงครึ่งแรกปี 2567 และน่าจะได้สถาบันการเงินต่างๆ ทยอยขาย NPL ที่มากขึ้นในช่วงครึ่งหลังปี 2567 เพราะมีการ Responsible Lending ลูกหนี้ไปแล้ว

         อีกทั้ง หากภายหลังจากนี้มีพอร์ตหนี้เสียที่มี ผลสูงออกมามากกว่าคาดไว้ บริษัทเองก็พร้อมซื้อ มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ จากปัจจุบันที่บริษัทมี พอร์ตหนี้เสีย (รวม JK) อยู่ที่ประมาณ 5.2 แสนล้านบาท ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับบริษัทได้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว ต่อไป ด้านฐานะการเงินของบริษัท ยังถือว่าแข็งแกร่ง โดยมีตัวเลขอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) เพียง 0.46 เท่า ประกอบกับยังมีเงินสดและสินทรัพย์ทางการเงินหมุนเวียนรวม 2.2 พันล้านบาท

 
ข่าวบ้านมือสอง อื่นๆ