การเคหะฯ ออก 3 มาตรการช่วยลดค่าเช่าบ้านเอื้ออาทร
วันที่ : 4 กุมภาพันธ์ 2565
โครงการบ้านเอื้ออาทร ลูกค้าทั่วไป ปีแรกดอกเบี้ย 4% ช่วยกลุ่มเปราะบาง ปีที่ 1- 5 ดอกเบี้ย 1.5% เเละหากทำสัญญาเช่าภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ได้ส่วนลดค่าเช่า 50%
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยว่า กคช.ออก 3 มาตรการช่วยเหลือลูกค้าใหม่ให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยได้มากขึ้น โดยจัดดอกเบี้ยเช่าซื้ออัตราพิเศษถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ได้แก่
1.มาตรการอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (คบส.) กลุ่มลูกค้าทั่วไป ปีที่ 1-4 ดอกเบี้ย 1.5% ปีที่ 5-7 ดอกเบี้ย 2.5% ปีที่ 8-40 ดอกเบี้ย 3.75% กลุ่มเปราะบาง ปีที่ 1-5 ดอกเบี้ย 1.5% ปีที่ 6-7 ดอกเบี้ย 2.5% ปีที่ 8-40 ดอกเบี้ย 3.75% ระยะเวลาสัญญาเช่าซื้อ 40 ปี รวมกับอายุผู้เช่าซื้อไม่เกิน 70 ปี
หากซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทร ลูกค้าทั่วไป ปีแรกดอกเบี้ย 4% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.75% ปีที่ 3-5 ดอกเบี้ย 5.50% ปีที่ 6-30 ดอกเบี้ย 6.50% กลุ่มเปราะบาง ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 4% ปีที่ 3-5 ดอกเบี้ย 5.50% ปีที่ 6-30 ดอกเบี้ย 6.50% ระยะเวลาทำสัญญาเช่าซื้อ 30 ปี รวมอายุผู้เช่าซื้อ ไม่เกิน 70 ปี
"คณะรัฐมนตรี.อนุมัติกรอบวงเงินให้กคช.ปล่อยสินเชื่อ 5,207 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2564 อนุมัติแล้ว 635 ราย วงเงิน 416.27 ล้านบาท และปี 2565 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 264.42 ล้านบาท ช่วงไตรมาสแรกอนุมัติแล้ว 328 ราย วงเงิน 205.79 ล้านบาท และมกราคม รออนุมัติ 150 ราย วงเงิน 95.95 ล้านบาท และปี 2566 จะของบกว่า 400 ล้านบาท มาดำเนินการ โครงการนี้เป็นเครื่องมือทางการเงิน ช่วยให้ประชาชนที่ซื้อบ้านของเคหะ ไม่ผ่านการขอสินเชื่อแบงก์ สามารถขอสินเชื่อนี้ได้ เพื่อซื้อโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเชิงสังคมและบ้านเอื้ออาทร 322 โครงการ" นายทวีพงษ์กล่าว
2. มาตรการจัดโปรโมชั่นบ้านราคาพิเศษ ลดราคาขายบ้านเอื้ออาทร 56 โครงการ ราคาหน่วยละ 250,000-520,000 บาท
3. มาตรการจัดโปรโมชั่น เช่าราคาพิเศษ 2 ต่อ จำนวน 88 โครงการ มีบ้านเอื้ออาทร 83 โครงการและเคหะชุมชน 5 โครงการ ค่าเช่าเริ่มต้น 999-1,200 บาท ฟรีติดตั้งมิเตอร์ น้ำประปา ไฟฟ้าและค่าส่วนกลางในปีแรกนับจากวันส่งมอบ
หากทำสัญญาเช่าภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ได้ส่วนลดค่าเช่า 50% เริ่มต้น 499-600 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ฟรีค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์หากโอนภายใน 60 วันนับจากวันทำสัญญา โดยผู้ยื่นคำขอสินเชื่อ ต้องเป็นสัญชาติไทย ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย รายได้ครัวเรือนไม่เกิน 41,600 บาท/เดือน/ครัวเรือน
ขณะที่ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ยอมรับว่า พฤติกรรมความต้องการซื้อบ้านเปลี่ยนแปลงและสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยับตัวเพิ่ม จากนี้จะเริ่มสร้างบ้านใหม่ ออกโครงการทำเลใหม่ๆ เพิ่มเติม จาก ปัญหาโควิด-19 ทำให้คนเมืองเริ่มหันออกไปซื้อบ้านเดี่ยวชานเมือง เพราะต้องการพื้นที่บริเวณบ้าน เพราะขณะนี้รถไฟฟ้าขยายออกไปถึงชานเมืองมากขึ้น ขณะที่หนุ่มสาวเรียนจบใหม่เพิ่งทำงาน จะเข้ามาหาซื้อคอนโดมิเนียมในเมืองแทน ตลาดอสังหาฯ ในปี 65 พอขยายตัวได้ จึงมีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเฟดเตรียมประชุมเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนมีนาคม 65 หากปรับเพิ่ม 2 ครั้ง คาดว่า กนง. ต้องขยับเพิ่มตามร้อยละ 0.25 ในขณะที่ ธอส. คงต้องปรับเพิ่มครึ่งหนึ่งของ กนง. หรือประมาณร้อยละ 0.125 เพื่อไม่ให้กระทบกับลูกค้า ธอส. การปรับเพิ่มขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังยังดูแลลูกค้าได้ ยอมรับว่า ธอส. อาจต้องปรับเพิ่มเงินงวดรายเดือนสำหรับกลุ่มราคาบ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท อาจต้องจ่ายค่างวดเพิ่ม 300-500 บาทต่อเดือน นับว่าเป็นการขยับเพิ่มในรอบ 10 ปี
ส่วนปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 58,381 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากปี 63 มี NPL ร้อยละ 3.75 ของสินเชื่อรวม นับเป็นระดับบริหารจัดการได้ เพราะได้ตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญสูงถึง 111,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.93 หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ NPL ร้อยละ 191.55 โดย ธอส. ยังคงมีกำไรสุทธิ 12,351 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อย อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) แข็งแกร่งร้อยละ 15.30 สูงกว่า ธปท. กำหนดร้อยละ 8.5 หลังจากลูกค้าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตั้งแต่ปี 63-64 มีลูกค้าได้รับความช่วยเหลือผ่าน 22 มาตรการ สูงถึง 973,227 บัญชี วงเงินสินเชื่อ 847,218 ล้านบาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 87 กลับมาผ่อนชำระได้ตามปกติ
1.มาตรการอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (คบส.) กลุ่มลูกค้าทั่วไป ปีที่ 1-4 ดอกเบี้ย 1.5% ปีที่ 5-7 ดอกเบี้ย 2.5% ปีที่ 8-40 ดอกเบี้ย 3.75% กลุ่มเปราะบาง ปีที่ 1-5 ดอกเบี้ย 1.5% ปีที่ 6-7 ดอกเบี้ย 2.5% ปีที่ 8-40 ดอกเบี้ย 3.75% ระยะเวลาสัญญาเช่าซื้อ 40 ปี รวมกับอายุผู้เช่าซื้อไม่เกิน 70 ปี
หากซื้อโครงการบ้านเอื้ออาทร ลูกค้าทั่วไป ปีแรกดอกเบี้ย 4% ปีที่ 2 ดอกเบี้ย 4.75% ปีที่ 3-5 ดอกเบี้ย 5.50% ปีที่ 6-30 ดอกเบี้ย 6.50% กลุ่มเปราะบาง ปีที่ 1-2 ดอกเบี้ย 4% ปีที่ 3-5 ดอกเบี้ย 5.50% ปีที่ 6-30 ดอกเบี้ย 6.50% ระยะเวลาทำสัญญาเช่าซื้อ 30 ปี รวมอายุผู้เช่าซื้อ ไม่เกิน 70 ปี
"คณะรัฐมนตรี.อนุมัติกรอบวงเงินให้กคช.ปล่อยสินเชื่อ 5,207 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2564 อนุมัติแล้ว 635 ราย วงเงิน 416.27 ล้านบาท และปี 2565 ได้รับจัดสรรงบประมาณ 264.42 ล้านบาท ช่วงไตรมาสแรกอนุมัติแล้ว 328 ราย วงเงิน 205.79 ล้านบาท และมกราคม รออนุมัติ 150 ราย วงเงิน 95.95 ล้านบาท และปี 2566 จะของบกว่า 400 ล้านบาท มาดำเนินการ โครงการนี้เป็นเครื่องมือทางการเงิน ช่วยให้ประชาชนที่ซื้อบ้านของเคหะ ไม่ผ่านการขอสินเชื่อแบงก์ สามารถขอสินเชื่อนี้ได้ เพื่อซื้อโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเชิงสังคมและบ้านเอื้ออาทร 322 โครงการ" นายทวีพงษ์กล่าว
2. มาตรการจัดโปรโมชั่นบ้านราคาพิเศษ ลดราคาขายบ้านเอื้ออาทร 56 โครงการ ราคาหน่วยละ 250,000-520,000 บาท
3. มาตรการจัดโปรโมชั่น เช่าราคาพิเศษ 2 ต่อ จำนวน 88 โครงการ มีบ้านเอื้ออาทร 83 โครงการและเคหะชุมชน 5 โครงการ ค่าเช่าเริ่มต้น 999-1,200 บาท ฟรีติดตั้งมิเตอร์ น้ำประปา ไฟฟ้าและค่าส่วนกลางในปีแรกนับจากวันส่งมอบ
หากทำสัญญาเช่าภายในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ได้ส่วนลดค่าเช่า 50% เริ่มต้น 499-600 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ฟรีค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์หากโอนภายใน 60 วันนับจากวันทำสัญญา โดยผู้ยื่นคำขอสินเชื่อ ต้องเป็นสัญชาติไทย ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย รายได้ครัวเรือนไม่เกิน 41,600 บาท/เดือน/ครัวเรือน
ขณะที่ นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ยอมรับว่า พฤติกรรมความต้องการซื้อบ้านเปลี่ยนแปลงและสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ขยับตัวเพิ่ม จากนี้จะเริ่มสร้างบ้านใหม่ ออกโครงการทำเลใหม่ๆ เพิ่มเติม จาก ปัญหาโควิด-19 ทำให้คนเมืองเริ่มหันออกไปซื้อบ้านเดี่ยวชานเมือง เพราะต้องการพื้นที่บริเวณบ้าน เพราะขณะนี้รถไฟฟ้าขยายออกไปถึงชานเมืองมากขึ้น ขณะที่หนุ่มสาวเรียนจบใหม่เพิ่งทำงาน จะเข้ามาหาซื้อคอนโดมิเนียมในเมืองแทน ตลาดอสังหาฯ ในปี 65 พอขยายตัวได้ จึงมีแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเฟดเตรียมประชุมเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนมีนาคม 65 หากปรับเพิ่ม 2 ครั้ง คาดว่า กนง. ต้องขยับเพิ่มตามร้อยละ 0.25 ในขณะที่ ธอส. คงต้องปรับเพิ่มครึ่งหนึ่งของ กนง. หรือประมาณร้อยละ 0.125 เพื่อไม่ให้กระทบกับลูกค้า ธอส. การปรับเพิ่มขึ้นดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังยังดูแลลูกค้าได้ ยอมรับว่า ธอส. อาจต้องปรับเพิ่มเงินงวดรายเดือนสำหรับกลุ่มราคาบ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท อาจต้องจ่ายค่างวดเพิ่ม 300-500 บาทต่อเดือน นับว่าเป็นการขยับเพิ่มในรอบ 10 ปี
ส่วนปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 58,381 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4 ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากปี 63 มี NPL ร้อยละ 3.75 ของสินเชื่อรวม นับเป็นระดับบริหารจัดการได้ เพราะได้ตั้งสำรองเผื่อหนี้สูญสูงถึง 111,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.93 หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ NPL ร้อยละ 191.55 โดย ธอส. ยังคงมีกำไรสุทธิ 12,351 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อย อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) แข็งแกร่งร้อยละ 15.30 สูงกว่า ธปท. กำหนดร้อยละ 8.5 หลังจากลูกค้าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ตั้งแต่ปี 63-64 มีลูกค้าได้รับความช่วยเหลือผ่าน 22 มาตรการ สูงถึง 973,227 บัญชี วงเงินสินเชื่อ 847,218 ล้านบาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 87 กลับมาผ่อนชำระได้ตามปกติ
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ