ปิดประตูเวนคืนที่ดินหมอชิต
วันที่ : 8 เมษายน 2564
ยกเลิกการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินบริเวณพื้นที่โดยรอบ
นายยุทธนา หยิมการุณ อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.), สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), กรมการขนส่งทางบก (ขบ.), บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิต (หมอชิตคอมเพล็กซ์) โดยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันที่จะให้กรุงเทพฯ ยกเลิกการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินบริเวณพื้นที่โดยรอบ เพื่อสร้างทางยกระดับเข้าออกของโครงการหมอชิตคอมเพล็กซ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในพื้นที่
ดังนั้น บขส.จะต้องเร่งสำรวจว่าควรมีรถประเภทใด จำนวนเท่าใด ที่จะเข้ามาใช้ในพื้นที่หมอชิตคอมเพล็กซ์ได้ อย่างเหมาะสมโดยไม่กระทบต้องเวนคืนที่ดิน เพื่อนำเสนอเป็นข้อมูลให้ กทม.ไปใช้ประกอบการเสนอขอถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน บริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 5 ด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต (เก่า) รวมถึงให้นำข้อมูลเสนอไป สนข. เพื่อพิจารณาจัดระเบียบจราจรในพื้นที่ใหม่ และยังเสนอให้บริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด (บีเคที) ผู้ได้สิทธิพัฒนาหมอชิตคอมเพล็กซ์ได้รับทราบและนำไปใช้ปรับปรุงแบบการใช้พื้นที่บางส่วน
"ขั้นตอนการขอถอนพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ต้องมีการจัดทำข้อมูลที่เป็นเหตุเป็นผลประกอบขอการยกเลิก ที่ประชุมจึงให้ บขส.ไปสำรวจข้อมูลปริมาณรถที่จะนำเข้ามาใช้พื้นที่โดยไม่ต้องเวนคืนให้เสร็จภายใน 1 เดือน และนำกลับมาเสนอให้ที่ประชุม เดือนพ.ค.นี้ ที่จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างภาคเอกชน, กทม., ขบ., บขส.เพื่อหาข้อมูลและนำส่งให้ กทม. ไปใช้ประกอบการยกเลิกเวนคืนที่ดินต่อไป"
ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มี.ค. บริษัทบางกอกเทอร์มินอล จำกัด ได้ยื่นศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในโครงการ โดยไม่ต้องมีการเวนคืนไปแล้ว และใช้เวลาพิจารณาอีกระยะหนึ่ง ขณะที่การใช้ประโยชน์พื้นที่ชดเชย 100,000 ตารางเมตร ซึ่งขบ.ได้ยืนยันที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์เหมือนเดิมแต่อาจปรับรูปแบบให้ย้ายมาบางส่วน เช่น รถขนาดเล็ก เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจรและการเวนคืนที่ดิน และกรมธนารักษ์มั่นใจว่า โครงการดังกล่าวที่ล่าช้ามา 24 ปี จะได้ข้อยุติโดยเร็ว และเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ โดยขณะนี้กระบวนการอีไอเอเดินหน้าไปแล้ว ปัญหาการเวนคืนที่ดินกับประชาชนก็จะหมดไป
ดังนั้น บขส.จะต้องเร่งสำรวจว่าควรมีรถประเภทใด จำนวนเท่าใด ที่จะเข้ามาใช้ในพื้นที่หมอชิตคอมเพล็กซ์ได้ อย่างเหมาะสมโดยไม่กระทบต้องเวนคืนที่ดิน เพื่อนำเสนอเป็นข้อมูลให้ กทม.ไปใช้ประกอบการเสนอขอถอนพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน บริเวณซอยวิภาวดีรังสิต 5 ด้านหลังสถานีขนส่งหมอชิต (เก่า) รวมถึงให้นำข้อมูลเสนอไป สนข. เพื่อพิจารณาจัดระเบียบจราจรในพื้นที่ใหม่ และยังเสนอให้บริษัท บางกอกเทอร์มินอล จำกัด (บีเคที) ผู้ได้สิทธิพัฒนาหมอชิตคอมเพล็กซ์ได้รับทราบและนำไปใช้ปรับปรุงแบบการใช้พื้นที่บางส่วน
"ขั้นตอนการขอถอนพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ต้องมีการจัดทำข้อมูลที่เป็นเหตุเป็นผลประกอบขอการยกเลิก ที่ประชุมจึงให้ บขส.ไปสำรวจข้อมูลปริมาณรถที่จะนำเข้ามาใช้พื้นที่โดยไม่ต้องเวนคืนให้เสร็จภายใน 1 เดือน และนำกลับมาเสนอให้ที่ประชุม เดือนพ.ค.นี้ ที่จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างภาคเอกชน, กทม., ขบ., บขส.เพื่อหาข้อมูลและนำส่งให้ กทม. ไปใช้ประกอบการยกเลิกเวนคืนที่ดินต่อไป"
ล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มี.ค. บริษัทบางกอกเทอร์มินอล จำกัด ได้ยื่นศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในโครงการ โดยไม่ต้องมีการเวนคืนไปแล้ว และใช้เวลาพิจารณาอีกระยะหนึ่ง ขณะที่การใช้ประโยชน์พื้นที่ชดเชย 100,000 ตารางเมตร ซึ่งขบ.ได้ยืนยันที่จะเข้าไปใช้ประโยชน์เหมือนเดิมแต่อาจปรับรูปแบบให้ย้ายมาบางส่วน เช่น รถขนาดเล็ก เพื่อไม่ให้กระทบต่อการจราจรและการเวนคืนที่ดิน และกรมธนารักษ์มั่นใจว่า โครงการดังกล่าวที่ล่าช้ามา 24 ปี จะได้ข้อยุติโดยเร็ว และเริ่มก่อสร้างได้ภายในปีนี้ โดยขณะนี้กระบวนการอีไอเอเดินหน้าไปแล้ว ปัญหาการเวนคืนที่ดินกับประชาชนก็จะหมดไป
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ