กคช.เปิดให้จอง บ้านเช่า นำร่อง2โครงการจ่อชงครม.พัฒนา21โปรเจกต์5,600ยูนิต
วันที่ : 23 มีนาคม 2564
กคช. นำร่อง 2 ทำเล ฉลองกรุง/ร่มเกล้า เปิดบ้านเช่า เคหะสุขประชา
การเคหะฯ เปิดให้จองแล้ว กับโครงการบ้านเช่า "เคหะสุขประชา" วันนี้ถึง 30 มี.ค.เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อย มีที่อยู่อาศัย นำร่อง 2 โครงการ "ฉลองกรุง/ร่มเกล้า" รวม 572 ยูนิต ชูคอนเซ็ปต์ บ้านพร้อมอาชีพ พร้อมนำผลผลิตส่งต่อชุมชนกว่า 74,000 ครับครัว เชื่อมต่อเป็นระบบ รายได้เกิดหมุนเวียนในระบบ เศรษกิจเติบโต จ่อชง ครม.เข็น "เคหะสุขประชา" อีก 21 โครงการกว่า 5,600 ยูนิต
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยในงานแถลงข่าว "เคหะสุขประชา" บ้านพร้อมอาชีพ โครงการนำร่อง "ฉลองกรุง/ร่มเกล้า" ว่า เป็นโครงการที่รองรับประชาชนที่ไม่มีบ้าน ซึ่งในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา กคช.ยังไม่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ไม่มาก แต่เรายังต้องมุ่งมั่นและเดินหน้าต่อ โครงการนำร่อง "เคหะสุขประชา" จึงได้เกิดขึ้น เป็นไปตามแผนงานที่เสนอต่อ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ในเรื่องของการลงทุนระหว่างปี เพื่อให้ทางสภาพัฒน์ ได้เห็นแนวทางในการทำงานของ กคช.
ขณะเดียวกัน จะทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในการดำเนินงานเพิ่มอีก 21 โครงการ ประมาณ 5,600 กว่าหน่วย เพื่อรองรับความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ กคช.ได้รับโจทย์จากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"รัฐบาลมองว่า ในอนาคต โอกาสประชาชนจะเข้าถึงที่อยู่อาศัยจะเริ่มยากมากขึ้น จากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ทางรับาลได้มอบนโยบาย และทาง กคช.ได้เสนอแนวคิด เคหะสุขประชา ให้ครม.รับทราบตั้งแต่ปี 2563 หลังจากนั้น ได้พัฒนาโครงการขึ้นมา ต้องยอมรับว่า โครงการดังกล่าว ทาง กคช.พยายามทำด้วยความระมัดระวัง เพราะเรามีบทเรียนและพยายามถอดบทเรียนจากสิ่งที่เคยดำเนินการมาในอดีต ไม่ให้เกิดปัญหาอีก"
โดยการดำเนินงาน "บ้านเคหะสุขประชา" นั้น มีการทำโครงการนำร่อง ซึ่งได้ขออนุมัติจากสภาพัฒน์ เป็นไปตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องการลงทุนระหว่างปีงบประมาณ 2564 ทางสภาพัฒน์เห็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงการนำร่อง ได้แก่ โครงการฉลองกรุง จำนวน 302 หน่วย โครงการร่มเกล้า จำนวน 270 หน่วย ซึ่งในพื้นที่เศรษฐกิจสุขประชาในพื้นที่โครงการฉลองกรุง จะมีตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ส่วนในโครงการร่มเกล้า จะมีลักษณะเหมือนคอมมูนิตี้มอลล์ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเช่าพื้นที่ได้ ซึ่งผู้เช่าทุกๆ คน เมื่อเช่าในโครงการเคหะสุขประชา ก็ต้องมาร่วมกันทำเศรษฐกิจสุขประชาด้วย เพราะทาง กคช.ต้องการทำเป็นโครงการต้นแบบ เพื่อนำไปพัฒนาต่อ
"รูปแบบที่วางไว้ เพื่อให้ผู้เช่าในเคหะสุขประชา มีบ้านเช่า มีรายได้จากการทำธุรกิจเพื่อสามารถชำระค่าเช่าได้ แต่หากเป็นในพื้นที่ต่างจังหวัด จะเน้นในภาคกษตรกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ตกงานอันเป็นผลมาจากโควิด-19 เมื่อกลับบ้าน ก็สามารถมีอาชีพเป็นของตนเองได้ ทางต่างจังหวัดจะเปรียบเสมือนเป็นต้นน้ำ ในการผลิตสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม หรือ ปศุสัตว์ โดย กคช.ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง ในการขนถ่ายสินค้าไปสู่ปลายน้ำ ซึ่งตลอด 48 ปี ของ กคช. มีที่อยู่อาศัยไม่ต่ำกว่า 742,000 หน่วย มีผู้อยู่อาศัยเฉลี่ย 3 คน ก็เท่ากับมีผู้อยู่อาศัยในโครงการของ กคช.ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน เกิดกระบวนการทำงานที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบ เงินในระบบเกิดการหมุนเวียนที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และตอบโจทย์รัฐบาลในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมลง"
สำหรับ "เคหะสุขประชา" หรือบ้านพร้อมอาชีพ ทาง กคช.จะดำเนินการตามกรอบในการส่งมอบไว้ที่ 100,000 หน่วย ระหว่าง พ.ศ. 2564 -2568 หรือปละ 20,000 หน่วยต่อปี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 เริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2564 ในเวลา 24.00 น. โดยผู้ลงทะเบียนจะต้องเป็น กลุ่มคนที่เปราะบางของทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (พม.) เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้, พ่อเดียว, แม่เดียว, คนไข้ติดเตียง, ผู้ประสบปัญหาคนไร้บ้าน คนไร้อาชีพ คนเหล่านี้จะมีส่วนเข้ามาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง รวมถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุโควิด-19 เช่น ตกงาน หรือ ต้องย้ายภูมิลำเนา เป็นกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 0-30,000 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว
นายทวีพงษ์ วิชัยดิษ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เปิดเผยในงานแถลงข่าว "เคหะสุขประชา" บ้านพร้อมอาชีพ โครงการนำร่อง "ฉลองกรุง/ร่มเกล้า" ว่า เป็นโครงการที่รองรับประชาชนที่ไม่มีบ้าน ซึ่งในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา กคช.ยังไม่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ไม่มาก แต่เรายังต้องมุ่งมั่นและเดินหน้าต่อ โครงการนำร่อง "เคหะสุขประชา" จึงได้เกิดขึ้น เป็นไปตามแผนงานที่เสนอต่อ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ในเรื่องของการลงทุนระหว่างปี เพื่อให้ทางสภาพัฒน์ ได้เห็นแนวทางในการทำงานของ กคช.
ขณะเดียวกัน จะทำแผนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)ในการดำเนินงานเพิ่มอีก 21 โครงการ ประมาณ 5,600 กว่าหน่วย เพื่อรองรับความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ กคช.ได้รับโจทย์จากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
"รัฐบาลมองว่า ในอนาคต โอกาสประชาชนจะเข้าถึงที่อยู่อาศัยจะเริ่มยากมากขึ้น จากผลกระทบการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ทางรับาลได้มอบนโยบาย และทาง กคช.ได้เสนอแนวคิด เคหะสุขประชา ให้ครม.รับทราบตั้งแต่ปี 2563 หลังจากนั้น ได้พัฒนาโครงการขึ้นมา ต้องยอมรับว่า โครงการดังกล่าว ทาง กคช.พยายามทำด้วยความระมัดระวัง เพราะเรามีบทเรียนและพยายามถอดบทเรียนจากสิ่งที่เคยดำเนินการมาในอดีต ไม่ให้เกิดปัญหาอีก"
โดยการดำเนินงาน "บ้านเคหะสุขประชา" นั้น มีการทำโครงการนำร่อง ซึ่งได้ขออนุมัติจากสภาพัฒน์ เป็นไปตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องการลงทุนระหว่างปีงบประมาณ 2564 ทางสภาพัฒน์เห็นประโยชน์ในการพัฒนาโครงการนำร่อง ได้แก่ โครงการฉลองกรุง จำนวน 302 หน่วย โครงการร่มเกล้า จำนวน 270 หน่วย ซึ่งในพื้นที่เศรษฐกิจสุขประชาในพื้นที่โครงการฉลองกรุง จะมีตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ส่วนในโครงการร่มเกล้า จะมีลักษณะเหมือนคอมมูนิตี้มอลล์ เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจสามารถเช่าพื้นที่ได้ ซึ่งผู้เช่าทุกๆ คน เมื่อเช่าในโครงการเคหะสุขประชา ก็ต้องมาร่วมกันทำเศรษฐกิจสุขประชาด้วย เพราะทาง กคช.ต้องการทำเป็นโครงการต้นแบบ เพื่อนำไปพัฒนาต่อ
"รูปแบบที่วางไว้ เพื่อให้ผู้เช่าในเคหะสุขประชา มีบ้านเช่า มีรายได้จากการทำธุรกิจเพื่อสามารถชำระค่าเช่าได้ แต่หากเป็นในพื้นที่ต่างจังหวัด จะเน้นในภาคกษตรกรรมเป็นหลัก ผู้ที่ตกงานอันเป็นผลมาจากโควิด-19 เมื่อกลับบ้าน ก็สามารถมีอาชีพเป็นของตนเองได้ ทางต่างจังหวัดจะเปรียบเสมือนเป็นต้นน้ำ ในการผลิตสินค้าเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรม หรือ ปศุสัตว์ โดย กคช.ทำหน้าที่เป็นพ่อค้าคนกลาง ในการขนถ่ายสินค้าไปสู่ปลายน้ำ ซึ่งตลอด 48 ปี ของ กคช. มีที่อยู่อาศัยไม่ต่ำกว่า 742,000 หน่วย มีผู้อยู่อาศัยเฉลี่ย 3 คน ก็เท่ากับมีผู้อยู่อาศัยในโครงการของ กคช.ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน เกิดกระบวนการทำงานที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบ เงินในระบบเกิดการหมุนเวียนที่ดีขึ้น ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และตอบโจทย์รัฐบาลในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมลง"
สำหรับ "เคหะสุขประชา" หรือบ้านพร้อมอาชีพ ทาง กคช.จะดำเนินการตามกรอบในการส่งมอบไว้ที่ 100,000 หน่วย ระหว่าง พ.ศ. 2564 -2568 หรือปละ 20,000 หน่วยต่อปี ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 เริ่มเปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 08.30 น. เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 มีนาคม 2564 ในเวลา 24.00 น. โดยผู้ลงทะเบียนจะต้องเป็น กลุ่มคนที่เปราะบางของทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ (พม.) เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้พิการ ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้, พ่อเดียว, แม่เดียว, คนไข้ติดเตียง, ผู้ประสบปัญหาคนไร้บ้าน คนไร้อาชีพ คนเหล่านี้จะมีส่วนเข้ามาอยู่ในกลุ่มเปราะบาง รวมถึงกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุโควิด-19 เช่น ตกงาน หรือ ต้องย้ายภูมิลำเนา เป็นกลุ่มที่มีรายได้ตั้งแต่ 0-30,000 บาทต่อเดือนต่อครอบครัว
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ