ปี79คนไทยทุกคนต้องมีบ้านอยู่'ธัชพล กาญจนกูล'ผู้ว่าการการเคหะฯ
Loading

ปี79คนไทยทุกคนต้องมีบ้านอยู่'ธัชพล กาญจนกูล'ผู้ว่าการการเคหะฯ

วันที่ : 9 ธันวาคม 2562
ปี 2563 การเคหะแห่งชาติต้องทำให้คนไทยทุกคนมีบ้านอยู่ตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี 2560-2579 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ฟื้นฟูเมืองชุมชนเมืองใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น
          ทีมคุณภาพชีวิต
          qualitylife4444@gmail.com

            ปี 2563 การเคหะแห่งชาติต้องทำให้คนไทยทุกคนมีบ้านอยู่ตามแผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ 20 ปี 2560-2579 เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ฟื้นฟูเมืองชุมชนเมืองใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยมีคุณภาพชีวิต ที่ดีขึ้น

         โดยมียุทธศาสตร์ เน้นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งพาตัวเองอย่างยั่งยืน ตั้งเป้าไว้ 60 ชุมชน ให้มีการบริหารจัดการชุมชน ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องสังคม เศรษฐกิจ ซึ่งจะกระจายไป ทั่วประเทศ บริหารจัดการช่างชุมชน โดยร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมช่างประจำชุมชน พร้อมเปิดศูนย์ให้บริการชุมชน ส่งช่างไปให้บริการได้ทันทีหากมีการแจ้งขอรับผ่านศูนย์ รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงที่อยู่อาศัย เน้นเรื่องโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยที่สถาบันการเงินเข้าไม่ถึง โดยมิติด้านเศรษฐกิจจะ เชื่อมข้อมูลกับกระทรวงการคลังผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มิติสังคม เชื่อมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ส่วนการเคหะแห่งชาติ จะดำเนินการในส่วนของมิติที่อยู่อาศัย จะสามารถวิเคราะห์รายได้ ที่แท้จริงของประชาชนได้ ช่วยให้สามารถดำเนินโครงการให้สอดคล้องทุกมิติ

          "บิ๊กดาต้า ทั้ง 3 หน่วยงานนี้จะใช้ ในเชิงวิเคราะห์ได้หมดว่าคนที่เป็นสมาชิกของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ฐานะเศรษฐกิจเป็นอย่างไร รายได้ได้เท่าไหร่ ฐานะสังคมเป็นอย่างไร มีความต้องการ มีเงินช่วยเหลืออะไรบ้าง จะมีข้อมูลหมด ที่สำคัญที่อยู่อาศัยอยู่ที่ไหน พื้นที่เป็นอย่างไร ซึ่งตัวนี้จะนำมาซึ่งในการปรับยุทธศาสตร์เรื่องที่อยู่อาศัย 20 ปี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการต่างๆอย่างแท้จริง สามารถสร้างบ้านได้ตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง" ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติกล่าว

          ปี 2558-2559 คนไทยทั้งหมด 60 กว่าล้านคน มี 20 ล้านครอบครัวเรือน ไม่มี ที่อยู่อาศัย 5.8 ล้านครอบครัวเรือน เป็นคนรายได้น้อยประมาณ 3,500,000 คน ถ้าติดตามยุทธศาสตร์จะต้องจัดหาที่อยู่อาศัย ประมาณแสนกว่าหน่วย ต้องหาข้อเท็จจริงว่า ความต้องการของประชากรที่แท้จริง อาจจะเหลือประมาณ 30-50% ความต้องการที่แท้จริง อาจจะมีประมาณ 3-4 หมื่น เท่านั้นจาก 3.5 ล้าน ที่ประมาณการตามแผน

          สิ่งที่ต้องรีบดำเนินการในปี 2563 คือช่วยให้คนจนมีบ้านอยู่ โครงการ Smart Home หลังละ 3.55 แสน เป็นบ้านราคาประหยัดมาตรฐานสูง โดยจะเปิดตัวในช่วงปลายปี 62 นี้ โดยจะต้องได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเพื่อให้สามารถพัฒนาได้ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้น มีทั้งหมด 3 แบบจะต้องใช้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหลังละ 160,000 บาท การสร้างบ้านราคาประหยัดสามารถทำได้ด้วยการลดต้นทุนจาก 1.ต้นทุนที่ดิน 10% โดยลดต้นทุนด้วยการนำที่ดินหน่วยงาน ท้องถิ่น ที่ราชพัสดุ ที่ดินเอกชน/ที่ดินบริจาคมาพัฒนา 2.ต้นทุนไฟฟ้า 4% ลดต้นทุนด้วยงบประมาณแบบบูรณาการ 3.ต้นทุนประปา 3% ลดต้นทุนด้วยการใช้งบประมาณแบบบูรณาการ 4.ต้นทุนบำบัดน้ำเสีย 3% ใช้กองทุน สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 5.ค่าพัฒนาที่ดิน 25% prefablication ระบบอุตสาหกรรม 6.ค่าก่อสร้างอาคาร 40% ลดค่าแรง 7.ค่าดำเนินการ/ดอกเบี้ย/ค่าบริหารงานขาย 15%

           นอกจากนี้จะนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการออกแบบบ้าน ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรม 3 มิติ จะทำให้การออกแบบบ้านมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปลดรอยรั่ว รอยซึม ใช้วัสดุเชื่อมต่อกัน รวมทั้งนำแอพทางการตลาดต่างๆ มาใช้ ทำให้การซื้อง่ายขึ้น โดยในเดือนหน้าจะจัดประกวดนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ ในการดำเนินโครงการบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อยนี้ด้วย
           สำหรับแผนลงทุนร่วมกับ ภาคเอกชนวงเงินลงทุนสูงกว่า 5,000 ล้านบาท ขณะนี้มีอยู่ 4 โครงการที่รอการพิจารณาจากสำนัก คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจเพื่อเสนอเข้าสู่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (คณะกรรมการ PPP) ประกอบด้วย โครงการเคหะชุมชนเชียงใหม่ (หนองหอย) โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 3 และ 4 รองรับผู้อยู่อาศัยใหม่ โครงการร่มเกล้า และโครงการลำลูกกา  ซึ่งการเคหะแห่งชาติมุ่งใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพราะอยู่ในทำเลดี อยู่ใจกลางเมืองหรือในจุดที่กำลังพัฒนา และมีโครงการที่อยู่ในข่ายนี้ประมาณ 5 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนเกือบแสนล้านจะมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศได้

          นอกจากนี้ จะปรับเปลี่ยนรูปเป็นการพัฒนาที่อยู่อาศัยริมตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งเริ่มดำเนินการแล้วที่ ประชานิเวศน์ ลำลูกกา ส่วนโครงการต่อไป จะเป็นที่ ที่บางปิ้ง บางไผ่ ห้วยขวาง กับ รามอินทรา

          ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวด้วยว่าสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่คือการพัฒนาองค์กรยุคดิจิทัล การเน้นพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับลูกค้ากลุ่มใหม่ เน้นคุณภาพก่อสร้าง ผู้รับเหมา ฝีมือดีมีคุณภาพ เน้นกระบวนการก่อสร้างแบบ เช่น ออกแบบแบบ 3 มิติด้านการก่อสร้าง หรือด้านการตลาด มีการปล่อยกู้เอง หรือพัฒนาระบบเครดิตการชำระ เช่น รับชำระเงินผ่าน คิวอาร์โค้ด ส่วนด้านการขายก็ขายผ่านออนไลน์ ซึ่งตอนนี้ก็พัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆโดยโปรดักส์ ที่สำคัญก็คือบ้านเพื่อผู้มีรายได้น้อย ซึ่งในโครงการที่จะเกิดขึ้นใหม่ จะมี การให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยรายได้น้อย ศูนย์ข้อมูลเครดิต แห่งชาติ ร้านค้าดิจิทัลชุมชน และก็สมาร์ทลิฟวิ่งด้วย     ในอนาคตต้อง เน้นเรื่องการ ปรับปรุงระบบต่างๆให้มีประสิทธิภาพขึ้น บริการรวดเร็ว จองบ้านออนไลน์ รวมถึงการเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ในการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้นทุนก็ลดลง ตอบสนองนโยบายของรัฐบาล ที่ต้องการให้ที่อยู่อาศัยกระจายไปยังผู้มีรายได้น้อยมากขึ้นผ่านนโยบาย 3 เร่ง ได้แก่ 1.เร่งซ่อมสินค้าที่มีปัญหาเพื่อให้สามารถขายสินค้าได้ 2.เร่งการขายด้วยการจัดแคมเปญการตลาด รวมถึงหาตัวแทนจำหน่ายมืออาชีพมาช่วยขาย เพื่อให้การขายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 3.เร่งโอนด้วยการเจรจากับธนาคารของรัฐ ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อให้ปล่อย สินเชื่อพิเศษแก่ประชาชนที่ซื้อบ้านจากการเคหะแห่งชาติ

 
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาครัฐ อื่นๆ