ส่องโครงข่าย รถไฟฟ้าระยอง พัฒนาพื้นที่เมืองเชื่อม CBD
วันที่ : 4 มีนาคม 2562
ขณะที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กำลังเร่งเจรจากับกลุ่ม ซี.พี. เพื่อหาข้อสรุปให้จบภายในเดือน มี.ค.นี้
ขณะที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กำลังเร่งเจรจากับกลุ่ม ซี.พี. เพื่อหาข้อสรุปให้จบภายในเดือน มี.ค.นี้
ด้าน "จังหวัดระยอง" หนึ่งในจังหวัดซึ่งถูกประกาศเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้เด้งรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการศึกษาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเครือข่ายกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้าสู่อำเภอเมืองระยอง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในปัจจุบัน และเตรียมรองรับ EEC ในอนาคต พร้อมชงให้ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาคัดเลือกถึง 2 ฉบับ
ระหว่างผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง มูลค่า 25,845,252,880 บาท ซึ่งสำนักงานจังหวัดระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยบูรพาศึกษา และ 2.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง มูลค่า 15,000 ล้านบาท ซึ่งเทศบาลนครระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษา
จว.ชง 4 สาย LRT-สมาร์ทบัส
สำหรับผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองของสำนักงานจังหวัด แหล่งข่าวระดับสูงจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองระบุว่า โครงการจะเริ่มด้วยการนำรถสมาร์ทบัส (smart bus) วิ่งก่อน ค่อยทยอยก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเบา (light rail transit-LRT) ยกระดับคล้าย BTS เพื่อไม่ให้มีปัญหาจุดตัดกับถนน ระยะทาง 316.40 กม. มี 88 สถานี แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะ รวมวงเงิน 25,845,252,880 บาท (ดูแผนที่)
เริ่มจากระยะสั้น (ระยะที่ 1) 316.40 กม. มี 43 สถานี วงเงินรวม 13,049,383,000 บาท แบ่งเป็น รถไฟฟ้า LRT (ระยะที่ 1) วิ่งยกระดับบนเกาะกลางถนนสุขุมวิท 1 เส้นทาง คือ สายสีม่วง เริ่มจากสถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ผ่านมาสถานีสำนักงานขนส่ง สถานีสนามกีฬากลาง ผ่านสถานี Passion สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานี IRPC มาถึงสถานีตะพง ระยะทาง 20 กม. มี 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท และ smart bus 3 เส้นทาง ระยะทาง 89.93 กม. มี 36 สถานี วงเงิน 194,403,000 บาท ได้แก่ 1) สายสีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 2) สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานี อู่ตะเภา และ 3) สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ถึงแยกทับมา-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2
โครงการระยะกลาง (ระยะที่ 2) วงเงินรวม 12,641,539,880 บาท แบ่งเป็นรถ LRT 1 สายสีม่วง (ระยะที่ 2) ใช้เกาะกลางถนนสุขุมวิท เริ่มจากสถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วิ่งมาสถานีบ้านฉาง เลี้ยวมาทางสถานีตลาดสี่ภาค สถานีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตรงมาถึงสถานีมาบตาพุด มาสิ้นสุดที่สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ระยะทาง 23.99 กม. มี 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท และ smart bus 2 เส้นทาง รวมระยะทาง 103.88 กม. มี 21 สถานี วงเงินรวม 182,798,000 บาท ได้แก่ 1.สายสีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถึงสถานีบ้านค่าย 2.สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยองถึงสถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 2
และโครงการระยะยาว วงเงิน 154,330,000 บาท แบ่งเป็น smart bus 2 เส้นทาง ระยะทาง 48.80 กม. มี 13 สถานี วงเงิน 93,170,000 บาท ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สถานีตะพงถึงสถานีท่าเรือบ้านเพ ระยะทาง 29.80 กม. จำนวน 6 สถานี วงเงิน 61,160,000 บาท และสายสีเหลือง สถานีโรงพยาบาลระยองถึงสถานีขนส่งแห่งที่ 1
เทศบาลชู 2 สายแดง-เหลือง
ด้านโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง เสนอนำรถชัตเทิลบัส (shuttle bus) มาวิ่งก่อนค่อยก่อสร้างระบบรถรางไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าล้อยาง (tram) วิ่งเกาะกลางถนนระดับพื้นดินในถนน 2 สายหลัก คือ สุขุมวิท และสาย 36 เพื่อไม่ให้มีตอม่อ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ เป็นการศึกษาภายใต้ เงื่อนไขมีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ระยอง และพยายามวางแนวเส้นทางเชื่อมย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจ (CBD) สำคัญ
เริ่มเส้นทางหลักสายสีแดง ทำรถรางไฟฟ้า ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท จากถนนสุขุมวิทบริเวณห้วยโป่ง ผ่านสถานีหลัก ได้แก่ สถานีห้วยโป่ง วิ่งมาสถานีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สถานีมาบตาพุด สถานีศูนย์ราชการเนินสำลี สถานีโขดหิน สถานีแยกขนส่งใหม่ สถานีกรอกยายชา สถานีโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง สถานีหนองสนม สถานีแหลมทองพลาซ่า สถานีแยกออคิด สถานีเพลินตา สถานีสองพี่น้อง สถานีคลองคา มาสิ้นสุดที่ สถานี IRPC
ส่วนสายสีเหลือง จะใช้รถชัตเทิลบัสวิ่ง วงเงินลงทุน 488.01 ล้านบาท ระยะทาง 13 กม. มี 14 สถานี เริ่มจากถนนตากสินมหาราชบริเวณก้นปึก ถึงถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม บรรจบสาย 36 และเลี้ยวซ้ายแยกโกลบอลเฮ้าส์ ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทบริเวณแยกขนส่ง ประกอบด้วยสถานีหลัก อาทิ สถานีแยกขนส่ง 2 สถานีโกลบอลเฮ้าส์ สถานีทับมา สถานีศูนย์ฮอนด้า สถานีเซ็นทรัล สถานี โรงพยาบาลระยอง สถานีเทศบันเทิงพลาซ่า สถานีก้นปึก สถานีระยองวิทย์ และสถานีโรงเรียนตากสิน
ลุ้นเอกชนรายใหญ่ลงทุน PPP
ในด้านเงินลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน ทางจังหวัดเองไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะลงทุน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนไม่ได้มีเงินลงทุนเหมือนกับจังหวัดขอนแก่น ดังนั้น ความเป็นไปได้คงต้องให้ทาง สกพอ. หางบประมาณมาลงทุน หรือสรรหา ผู้มาดำเนินโครงการ อาจจะให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP โดยมีพื้นที่ตามสถานีให้พัฒนาคล้ายกับโครงการรถไฟความเร็วสูง
แหล่งข่าวจากจังหวัดระยองระบุว่า ยอมรับว่าการลงทุนโครงการระดับ 15,000-25,000 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนที่มหาศาล ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเลือกโครงการที่สำนักงานจังหวัด หรือเทศบาลนครระยองศึกษา ล้วนไม่คุ้มค่าในการลงทุน แม้จะบวกจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเมื่อ EEC เกิดแล้ว เนื่องจากเมื่อคำนวณประชากรที่จะใช้บริการรถขนส่งมวลชนของระยองในเมืองมีเพียง 2 แสนคน (จากปัจจุบันประชากรทั้งจังหวัดตามทะเบียนบ้านมีประมาณ 7 แสนคน มีประชากรแฝงประมาณ 5 แสนคน) ดังนั้น จุดเริ่มต้นจึงเชื่อมโยงการเดินทางสาธารณะด้วยระบบสมาร์ทบัสเป็นตัวตอบโจทย์ขนส่งมวลชนได้ระดับหนึ่ง ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
ด้าน "จังหวัดระยอง" หนึ่งในจังหวัดซึ่งถูกประกาศเป็นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้เด้งรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการศึกษาระบบขนส่งมวลชนเชื่อมโยงเครือข่ายกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้าสู่อำเภอเมืองระยอง เสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อแก้ปัญหาจราจรติดขัดในปัจจุบัน และเตรียมรองรับ EEC ในอนาคต พร้อมชงให้ทางสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) พิจารณาคัดเลือกถึง 2 ฉบับ
ระหว่างผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยอง มูลค่า 25,845,252,880 บาท ซึ่งสำนักงานจังหวัดระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยบูรพาศึกษา และ 2.การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง มูลค่า 15,000 ล้านบาท ซึ่งเทศบาลนครระยองว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษา
จว.ชง 4 สาย LRT-สมาร์ทบัส
สำหรับผลการศึกษาโครงการจัดทำแผนแม่บทและออกแบบเพื่อการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนเมืองระยองของสำนักงานจังหวัด แหล่งข่าวระดับสูงจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยองระบุว่า โครงการจะเริ่มด้วยการนำรถสมาร์ทบัส (smart bus) วิ่งก่อน ค่อยทยอยก่อสร้างระบบรถไฟฟ้ารางเบา (light rail transit-LRT) ยกระดับคล้าย BTS เพื่อไม่ให้มีปัญหาจุดตัดกับถนน ระยะทาง 316.40 กม. มี 88 สถานี แบ่งการลงทุนเป็น 3 ระยะ รวมวงเงิน 25,845,252,880 บาท (ดูแผนที่)
เริ่มจากระยะสั้น (ระยะที่ 1) 316.40 กม. มี 43 สถานี วงเงินรวม 13,049,383,000 บาท แบ่งเป็น รถไฟฟ้า LRT (ระยะที่ 1) วิ่งยกระดับบนเกาะกลางถนนสุขุมวิท 1 เส้นทาง คือ สายสีม่วง เริ่มจากสถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ผ่านมาสถานีสำนักงานขนส่ง สถานีสนามกีฬากลาง ผ่านสถานี Passion สถานีโรงพยาบาลระยอง สถานี IRPC มาถึงสถานีตะพง ระยะทาง 20 กม. มี 7 สถานี วงเงิน 12,854,980,000 บาท และ smart bus 3 เส้นทาง ระยะทาง 89.93 กม. มี 36 สถานี วงเงิน 194,403,000 บาท ได้แก่ 1) สายสีแดง สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1-ห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 1 2) สายสีฟ้า สถานีห้างสรรพสินค้า Passion ถึงสถานี อู่ตะเภา และ 3) สายสีเทา สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2 ถึงแยกทับมา-สถานีขนส่งผู้โดยสารแห่งที่ 2
โครงการระยะกลาง (ระยะที่ 2) วงเงินรวม 12,641,539,880 บาท แบ่งเป็นรถ LRT 1 สายสีม่วง (ระยะที่ 2) ใช้เกาะกลางถนนสุขุมวิท เริ่มจากสถานีโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วิ่งมาสถานีบ้านฉาง เลี้ยวมาทางสถานีตลาดสี่ภาค สถานีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตรงมาถึงสถานีมาบตาพุด มาสิ้นสุดที่สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยอง ระยะทาง 23.99 กม. มี 5 สถานี วงเงิน 12,458,741,880 บาท และ smart bus 2 เส้นทาง รวมระยะทาง 103.88 กม. มี 21 สถานี วงเงินรวม 182,798,000 บาท ได้แก่ 1.สายสีเขียวเข้ม สถานีขนส่งแห่งที่ 1 ถึงสถานีบ้านค่าย 2.สายสีน้ำตาล สถานีศูนย์ราชการจังหวัดระยองถึงสถานีขนส่งผู้โดยสาร แห่งที่ 2
และโครงการระยะยาว วงเงิน 154,330,000 บาท แบ่งเป็น smart bus 2 เส้นทาง ระยะทาง 48.80 กม. มี 13 สถานี วงเงิน 93,170,000 บาท ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สถานีตะพงถึงสถานีท่าเรือบ้านเพ ระยะทาง 29.80 กม. จำนวน 6 สถานี วงเงิน 61,160,000 บาท และสายสีเหลือง สถานีโรงพยาบาลระยองถึงสถานีขนส่งแห่งที่ 1
เทศบาลชู 2 สายแดง-เหลือง
ด้านโครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ในเขตเทศบาลนครระยอง เสนอนำรถชัตเทิลบัส (shuttle bus) มาวิ่งก่อนค่อยก่อสร้างระบบรถรางไฟฟ้า หรือรถไฟฟ้าล้อยาง (tram) วิ่งเกาะกลางถนนระดับพื้นดินในถนน 2 สายหลัก คือ สุขุมวิท และสาย 36 เพื่อไม่ให้มีตอม่อ ซึ่งเป็นอุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ ทั้งนี้ เป็นการศึกษาภายใต้ เงื่อนไขมีรถไฟความเร็วสูงสถานีที่ 10 ระยอง และพยายามวางแนวเส้นทางเชื่อมย่านศูนย์กลางเศรษฐกิจ (CBD) สำคัญ
เริ่มเส้นทางหลักสายสีแดง ทำรถรางไฟฟ้า ระยะทาง 23 กม. มี 18 สถานี วงเงินลงทุน 14,476.43 ล้านบาท จากถนนสุขุมวิทบริเวณห้วยโป่ง ผ่านสถานีหลัก ได้แก่ สถานีห้วยโป่ง วิ่งมาสถานีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด สถานีมาบตาพุด สถานีศูนย์ราชการเนินสำลี สถานีโขดหิน สถานีแยกขนส่งใหม่ สถานีกรอกยายชา สถานีโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง สถานีหนองสนม สถานีแหลมทองพลาซ่า สถานีแยกออคิด สถานีเพลินตา สถานีสองพี่น้อง สถานีคลองคา มาสิ้นสุดที่ สถานี IRPC
ส่วนสายสีเหลือง จะใช้รถชัตเทิลบัสวิ่ง วงเงินลงทุน 488.01 ล้านบาท ระยะทาง 13 กม. มี 14 สถานี เริ่มจากถนนตากสินมหาราชบริเวณก้นปึก ถึงถนนสุขุมวิท เลี้ยวขวาเข้าถนนจันทอุดม บรรจบสาย 36 และเลี้ยวซ้ายแยกโกลบอลเฮ้าส์ ไปบรรจบกับถนนสุขุมวิทบริเวณแยกขนส่ง ประกอบด้วยสถานีหลัก อาทิ สถานีแยกขนส่ง 2 สถานีโกลบอลเฮ้าส์ สถานีทับมา สถานีศูนย์ฮอนด้า สถานีเซ็นทรัล สถานี โรงพยาบาลระยอง สถานีเทศบันเทิงพลาซ่า สถานีก้นปึก สถานีระยองวิทย์ และสถานีโรงเรียนตากสิน
ลุ้นเอกชนรายใหญ่ลงทุน PPP
ในด้านเงินลงทุนโครงการระบบขนส่งมวลชน ทางจังหวัดเองไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะลงทุน รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนไม่ได้มีเงินลงทุนเหมือนกับจังหวัดขอนแก่น ดังนั้น ความเป็นไปได้คงต้องให้ทาง สกพอ. หางบประมาณมาลงทุน หรือสรรหา ผู้มาดำเนินโครงการ อาจจะให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP โดยมีพื้นที่ตามสถานีให้พัฒนาคล้ายกับโครงการรถไฟความเร็วสูง
แหล่งข่าวจากจังหวัดระยองระบุว่า ยอมรับว่าการลงทุนโครงการระดับ 15,000-25,000 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนที่มหาศาล ที่สำคัญ ไม่ว่าจะเลือกโครงการที่สำนักงานจังหวัด หรือเทศบาลนครระยองศึกษา ล้วนไม่คุ้มค่าในการลงทุน แม้จะบวกจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเมื่อ EEC เกิดแล้ว เนื่องจากเมื่อคำนวณประชากรที่จะใช้บริการรถขนส่งมวลชนของระยองในเมืองมีเพียง 2 แสนคน (จากปัจจุบันประชากรทั้งจังหวัดตามทะเบียนบ้านมีประมาณ 7 แสนคน มีประชากรแฝงประมาณ 5 แสนคน) ดังนั้น จุดเริ่มต้นจึงเชื่อมโยงการเดินทางสาธารณะด้วยระบบสมาร์ทบัสเป็นตัวตอบโจทย์ขนส่งมวลชนได้ระดับหนึ่ง ก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอย่างเต็มรูปแบบในอนาคต
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ