ธุรกิจรับสร้างบ้าน โอดรัฐ บ้านล้านหลัง ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
วันที่ : 23 ธันวาคม 2561
รับสร้างบ้าน สะท้อน บ้านล้านหลัง ฝนตกไม่ทั่วฟ้า เชิญชวนเฉพาะดีเวลอปเปอร์ ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจรับสร้างบ้านทางออกเสนอให้มีโครงการจัดสรรที่ดินราคาถูกออกสู่ตลาดบ้าง
รับสร้างบ้าน สะท้อน บ้านล้านหลัง ฝนตกไม่ทั่วฟ้า เชิญชวนเฉพาะดีเวลอปเปอร์ ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจรับสร้างบ้านทางออกเสนอให้มีโครงการจัดสรรที่ดินราคาถูกออกสู่ตลาดบ้าง
ด้านนายวรวุฒิ กาญจนกูล เลขาธิการสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน สะท้อนถึงโครงการบ้านล้านหลังของรัฐบาล ที่สนับสนุนสินเชื่อสำหรับกลุ่มผู้ซื้อ และผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในราคาถูก ว่าถือเป็นโครง การที่ดี เพื่อช่วยเหลือกลุ่มมีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่ลักษณะเชิญชวนให้ดีเวลอปเปอร์พัฒนาที่อยู่ราคาถูกเข้าร่วมแบบเหมาโครงการนั้นทำให้ผู้ได้รับประโยชน์ถูกจำกัดเฉพาะกลุ่ม ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจรับสร้างบ้าน และกลุ่มคนที่มีที่ดินอยู่เดิม แต่ไม่มีกำลังพอในการสร้างที่อยู่อาศัยด้วยตนเอง โดยทางออกนั้น อยากเสนอให้รัฐบาลมีโครงการจัดสรรที่ดินราคาถูกออกสู่ตลาดบ้าง เพื่อเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มรับสร้างบ้านและกลุ่มประชาชนที่อยากครอบครองที่ดินและสร้างบ้านในงบประมาณที่ควบคุมได้
นอกจากนี้ เรื่องปัญหาขาดแคลนแรงงาน ก็จะเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มาจากผลพวงโครงการของรัฐ ซึ่งเดิมทีมีปัญหาอยู่แล้ว จากแรงงานต่างด้าวที่ทยอยกลับไปทำงานในประเทศตนเองมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ธุรกิจรับสร้างบ้านทั้งระบบ ใช้คนงานหมุนเวียนประมาณ 5 หมื่นคนต่อปี คาดสถานการณ์หลังจากนี้ ปัญหาขาดแคลนแรงงานจะรุนแรงขึ้นอีก
"เรื่องแรงงานเป็นปัญหาหลักมานานสำหรับธุรกิจก่อสร้าง ปีหน้าปัญหาจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น เพราะมีการเดินหน้าลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดยักษ์หลายส่วน อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว เมียนมา กัมพูชาเอง ก็มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน คาดมีแรงงานกลับไปประเทศต้นทางมาก ทำให้นายจ้างต้องหาใหม่ มีแต่ค่าแรงที่แพงกว่าเป็นตัวดึงดูด ขณะนี้สมาคม พยายามให้ความรู้ การนำเทคโนโลยีลดการใช้แรงงาน มาใช้แก้ปัญหาและลดต้นทุน"
แม้สมาคมจะคาดการณ์ว่าตลาดรับสร้างบ้านในปีหน้า จะยังคงเติบโตตามสภาะเศรษฐกิจรวมของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากความกังวลจากปัจจัยหลักๆแล้วที่จะส่งผลทางอ้อมของตลาดยังมองว่า การเร่งโหมก่อสร้างโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐหลายโครงการ โดยเฉพาะในโซนอีอีซี จะมีผลต่อต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างในตลาดให้ปรับเพิ่มขึ้นอีก หลังจากขณะนี้เริ่มมีผลกระทบแล้ว ทั้งราคาปรับขึ้น และในลักษณะการสั่งซื้อล่าช้ากว่าปกติ เพราะต้นทางขาดแคลนจากการผลิตไม่พอความต้องการ เช่น กลุ่มเหล็ก คอนกรีต และปูน บางกลุ่มราคาถูกปรับขึ้นแล้วประมาณ 5% หรือราคาแพงขึ้นในลักษณะ การงดส่วนลดจากที่เคยได้รับ ทำให้ผู้ประกอบการบางราย จำเป็นต้องปรับค่าก่อสร้างสูงขึ้นแล้ว 3-5% และคาดจะมีการทยอยปรับขึ้นอีกในหลายๆ บริษัท
ทางออกเสนอให้มีโครงการจัดสรรที่ดินราคาถูกออกสู่ตลาดบ้าง เพื่อเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มรับสร้างบ้าน
ด้านนายวรวุฒิ กาญจนกูล เลขาธิการสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน สะท้อนถึงโครงการบ้านล้านหลังของรัฐบาล ที่สนับสนุนสินเชื่อสำหรับกลุ่มผู้ซื้อ และผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในราคาถูก ว่าถือเป็นโครง การที่ดี เพื่อช่วยเหลือกลุ่มมีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่ลักษณะเชิญชวนให้ดีเวลอปเปอร์พัฒนาที่อยู่ราคาถูกเข้าร่วมแบบเหมาโครงการนั้นทำให้ผู้ได้รับประโยชน์ถูกจำกัดเฉพาะกลุ่ม ไม่ครอบคลุมถึงธุรกิจรับสร้างบ้าน และกลุ่มคนที่มีที่ดินอยู่เดิม แต่ไม่มีกำลังพอในการสร้างที่อยู่อาศัยด้วยตนเอง โดยทางออกนั้น อยากเสนอให้รัฐบาลมีโครงการจัดสรรที่ดินราคาถูกออกสู่ตลาดบ้าง เพื่อเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มรับสร้างบ้านและกลุ่มประชาชนที่อยากครอบครองที่ดินและสร้างบ้านในงบประมาณที่ควบคุมได้
นอกจากนี้ เรื่องปัญหาขาดแคลนแรงงาน ก็จะเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มาจากผลพวงโครงการของรัฐ ซึ่งเดิมทีมีปัญหาอยู่แล้ว จากแรงงานต่างด้าวที่ทยอยกลับไปทำงานในประเทศตนเองมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมา ธุรกิจรับสร้างบ้านทั้งระบบ ใช้คนงานหมุนเวียนประมาณ 5 หมื่นคนต่อปี คาดสถานการณ์หลังจากนี้ ปัญหาขาดแคลนแรงงานจะรุนแรงขึ้นอีก
"เรื่องแรงงานเป็นปัญหาหลักมานานสำหรับธุรกิจก่อสร้าง ปีหน้าปัญหาจะเพิ่มความรุนแรงขึ้น เพราะมีการเดินหน้าลงทุนก่อสร้างโครงการขนาดยักษ์หลายส่วน อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว เมียนมา กัมพูชาเอง ก็มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเช่นกัน คาดมีแรงงานกลับไปประเทศต้นทางมาก ทำให้นายจ้างต้องหาใหม่ มีแต่ค่าแรงที่แพงกว่าเป็นตัวดึงดูด ขณะนี้สมาคม พยายามให้ความรู้ การนำเทคโนโลยีลดการใช้แรงงาน มาใช้แก้ปัญหาและลดต้นทุน"
แม้สมาคมจะคาดการณ์ว่าตลาดรับสร้างบ้านในปีหน้า จะยังคงเติบโตตามสภาะเศรษฐกิจรวมของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากความกังวลจากปัจจัยหลักๆแล้วที่จะส่งผลทางอ้อมของตลาดยังมองว่า การเร่งโหมก่อสร้างโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐหลายโครงการ โดยเฉพาะในโซนอีอีซี จะมีผลต่อต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างในตลาดให้ปรับเพิ่มขึ้นอีก หลังจากขณะนี้เริ่มมีผลกระทบแล้ว ทั้งราคาปรับขึ้น และในลักษณะการสั่งซื้อล่าช้ากว่าปกติ เพราะต้นทางขาดแคลนจากการผลิตไม่พอความต้องการ เช่น กลุ่มเหล็ก คอนกรีต และปูน บางกลุ่มราคาถูกปรับขึ้นแล้วประมาณ 5% หรือราคาแพงขึ้นในลักษณะ การงดส่วนลดจากที่เคยได้รับ ทำให้ผู้ประกอบการบางราย จำเป็นต้องปรับค่าก่อสร้างสูงขึ้นแล้ว 3-5% และคาดจะมีการทยอยปรับขึ้นอีกในหลายๆ บริษัท
ทางออกเสนอให้มีโครงการจัดสรรที่ดินราคาถูกออกสู่ตลาดบ้าง เพื่อเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในกลุ่มรับสร้างบ้าน
ข่าววัสดุก่อสร้าง-เฟอร์นิเจอร์ อื่นๆ