สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

วันที่ : 15 มีนาคม 2567
          จากรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2566 มีขยายตัวของ GDP เพียงร้อยละ 1.7 ปัจจัยหลักมาจากการส่งออกสินค้าและบริการเร่งขึ้น การอุปโภคบริโภคของครัวเรือนยังขยายตัว ขณะที่การใช้จ่ายรัฐบาลลดลง ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
          สำหรับภาวะอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัด EEC ไตรมาส 4 ปี 2566 พบว่าด้านอุปทานใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน มีจำนวนโครงการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2565 ส่งผลให้ในปี 2566 มีหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 หากไม่นับรวมใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเปล่า จะพบว่าบ้านเดี่ยวขยายตัวเพิ่มขึ้นมากที่สุดร้อยละ 42.7 รองลงมาเป็นบ้านแฝดขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.7 และอาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ในขณะที่ทาวน์เฮ้าส์ลดลงร้อยละ -13.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน หากพิจารณาลงรายพื้นที่พบว่า จังหวัดระยองมีใบอนุญาตจัดสรรมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.5 ของใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด และมีใบอนุญาตจัดสรรเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.4 (เพิ่มขึ้นในทุกประเภท) รองลงมาเป็นจังหวัดชลบุรี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.6 มีใบอนุญาตจัดสรรลดลงร้อยละ -16.4 (ลดลงในประเภทที่ดินจัดสรรและทาวน์เฮ้าส์) และจังหวัดฉะเชิงเทรา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.9 มีใบอนุญาตจัดสรรเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 (เพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภทแต่ลดลงในประเภททาวน์เฮ้าส์) จากข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่พบว่า มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านเองก็สูงขึ้น ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรในจังหวัดชลบุรีภาพรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ .....อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
 
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่