สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2565 และ แนวโน้ม ปี 2566
วันที่ : 16 มีนาคม 2566
จากรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ปี 2565 มีขยายตัวของ GDP เพียงร้อยละ 1.4 ส่งผลให้ภาพรวมทั้งปีมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งต่ำกว่าที่ได้ประมาณกันไว้ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเป็นผลมาจากภาคการส่งออกและการลงทุนภาครัฐที่เริ่มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทย ซึ่งได้ส่งผลให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ได้รับผลบวกในปี 2565 ประกอบกับปัจจัยบวกที่สำคัญ จากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่สองขึ้นไปที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ได้ส่งผลให้ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีการขยายตัวในเกือบทุกเครื่องชี้ภาวะอสังหาริมทรัพย์
สำหรับภาวะอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัด EEC ในอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ลดลงร้อยละ -30.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2564 เนื่องจากในปี 2565 หน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรจะเป็นการขยายตัวในกลุ่มบ้านเดี่ยวขยายตัวมากขึ้นร้อยละ 44.7 ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์และบ้านแฝดลดลงร้อยละ -64.2 และ -7.4 ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่พบว่า มีจำนวนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านเองก็สูงขึ้น ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรใน 3 จังหวัด EEC ทั้งปี 2565 จึงมีจำนวนลดลงร้อยละ -28.0 โดยมีการลดลงในจังหวัดชลบุรี (ลดลงมากในทุกประเภท) และ ระยอง (ลดลงมากในเกือบทุกประเภท ยกเว้นบ้านเดี่ยว) ขณะที่จังหวัดฉะเชิงเทราเพิ่มขึ้นในทุกประเภท อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สำหรับภาวะอสังหาริมทรัพย์ด้านที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัด EEC ในอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ลดลงร้อยละ -30.8 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2564 เนื่องจากในปี 2565 หน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรจะเป็นการขยายตัวในกลุ่มบ้านเดี่ยวขยายตัวมากขึ้นร้อยละ 44.7 ขณะที่ทาวน์เฮ้าส์และบ้านแฝดลดลงร้อยละ -64.2 และ -7.4 ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่พบว่า มีจำนวนโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านเองก็สูงขึ้น ที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรใน 3 จังหวัด EEC ทั้งปี 2565 จึงมีจำนวนลดลงร้อยละ -28.0 โดยมีการลดลงในจังหวัดชลบุรี (ลดลงมากในทุกประเภท) และ ระยอง (ลดลงมากในเกือบทุกประเภท ยกเว้นบ้านเดี่ยว) ขณะที่จังหวัดฉะเชิงเทราเพิ่มขึ้นในทุกประเภท อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ใน EEC อื่นๆ