สรุปสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 3 ปี 2565 และ 9 เดือนแรกของปี 2565

วันที่ : 14 ธันวาคม 2565
             จากรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2565 มีขยายตัวของ GDP ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม – กันยายน) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.1 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเร่งตัวของภาคบริการที่มีแรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ประกอบกับมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ซึ่งได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ปัจจัยบวกเพิ่มเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่งผลให้ในไตรมาส 3 ปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอุปทานการด้านออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.9 และมีการขยายตัวในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ 34.1 และร้อยละ 37.1 ตามลำดับ 
            สำหรับอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัด EEC ลดลงร้อยละ -18.3  ซึ่งหดตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2564 อาจจะเป็นผลมาจากการที่ในช่วงปี 2562 และ  2563 มีหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรออกมามาก คาดว่าจะเกิดจากผลกระทบจากการยื่นขออนุญาตขอจัดสรรจำนวนมากในช่วงก่อนเกิด COVID-19 ในปี 2561 – 2562  แต่หลังจากเกิด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 การยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรทยอยน้อยลง ส่งผลให้หน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรในปี 2564 และ 2565 จึงมีจำนวนลดลงได้ ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่พบว่า มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองสูงขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับในอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

    อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
 
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่