สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 2 ปี 2565
วันที่ : 4 พฤศจิกายน 2565
EEC เป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าเชื่อมโยงภูมิภาคเอเซีย อย่างไร้รอยต่อ.. ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ สู่ระดับโลก
จากรายงานเศรษฐกิจของประเทศไทยของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2565 มีขยายตัวของ GDP ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในครึ่งแรกของปี 2565 มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.4 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการเร่งตัวของภาคบริการที่มีแรงสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ประกอบกับมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ ซึ่งได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและผู้เยี่ยมเยือนประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ปัจจัยบวกเพิ่มเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ส่งผลให้ในไตรมาส 2 ปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของอุปทานด้านการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 และมีการขยายตัวในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ 4.8 และร้อยละ 6.9 ตามลำดับ
สำหรับอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัด EEC ลดลงร้อยละ -24.8 ซึ่งหดตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2564 อาจจะเป็นผลมาจากการที่ในช่วงปี 2562 - 2563 เป็นปีที่มีหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรออกมามาก คาดว่าจะเกิดจากผลกระทบจากการยื่นขออนุญาตขอจัดสรรจำนวนมากในช่วงก่อนเกิด COVID-19 ในปี 2561 - 2562 แต่หลังจากเกิด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 การยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรทยอยน้อยลง ส่งผลให้หน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรในปี 2564 - 2565 จึงมีจำนวนลดลงได้ ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่ที่พบว่า มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองสูงขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับภาพรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์ในครึ่งแรกของปี 2565 ได้รับปัจจัยบวกที่สำคัญ จากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราวสำหรับสัญญาเงินกู้ที่สองขึ้นไปที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ในครึ่งแรกของปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและมูลค่าร้อยละ 4.1 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ และเห็นได้ชัดว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 แสดงให้เห็นว่ามาตรการที่รัฐบาลออกมาสนับสนุนมีผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ และปัจจัยบวกที่กล่าวมาทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งแนวราบและอาคารชุด ร้อยละ 22 และร้อยละ 48.3 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยลบที่ควรระมัดระวังอาจจะทำให้เศรษฐกิจภาพรวมและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวลง ได้แก่ สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเชียและยูเครน ที่เป็นเหตุทำให้ราคาน้ำมันและค่าครองชีพสูงขึ้น วัสดุก่อสร้างปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแรงงานภาคการก่อสร้าง และหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ที่อาจส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าลงกว่าเติมจากที่ได้คาดการณ์ไว้
สำหรับอุปทานด้านการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินในจังหวัด EEC ลดลงร้อยละ -24.8 ซึ่งหดตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปี 2564 อาจจะเป็นผลมาจากการที่ในช่วงปี 2562 - 2563 เป็นปีที่มีหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรออกมามาก คาดว่าจะเกิดจากผลกระทบจากการยื่นขออนุญาตขอจัดสรรจำนวนมากในช่วงก่อนเกิด COVID-19 ในปี 2561 - 2562 แต่หลังจากเกิด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 การยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรทยอยน้อยลง ส่งผลให้หน่วยที่ได้รับอนุญาตจัดสรรในปี 2564 - 2565 จึงมีจำนวนลดลงได้ ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้รับจากพื้นที่ที่พบว่า มีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยขนาดเล็กที่ไม่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นขอใบอนุญาตจัดสรรจำนวนมากขึ้นในช่วงที่เกิด COVID-19 และความต้องการของประชาชนในการสร้างบ้านบนที่ดินตัวเองสูงขึ้น ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้จำนวนหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
สำหรับภาพรวมของภาคอสังหาริมทรัพย์ในครึ่งแรกของปี 2565 ได้รับปัจจัยบวกที่สำคัญ จากมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราวสำหรับสัญญาเงินกู้ที่สองขึ้นไปที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ส่งผลให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ในครึ่งแรกของปี 2565 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและมูลค่าร้อยละ 4.1 และร้อยละ 4.8 ตามลำดับ และเห็นได้ชัดว่ามูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมือสองเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564 แสดงให้เห็นว่ามาตรการที่รัฐบาลออกมาสนับสนุนมีผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญ และปัจจัยบวกที่กล่าวมาทำให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น โดยมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งแนวราบและอาคารชุด ร้อยละ 22 และร้อยละ 48.3 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยลบที่ควรระมัดระวังอาจจะทำให้เศรษฐกิจภาพรวมและภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวลง ได้แก่ สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเชียและยูเครน ที่เป็นเหตุทำให้ราคาน้ำมันและค่าครองชีพสูงขึ้น วัสดุก่อสร้างปรับราคาเพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแรงงานภาคการก่อสร้าง และหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ที่อาจส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าลงกว่าเติมจากที่ได้คาดการณ์ไว้
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
E-book สถานการณ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัด EEC อื่นๆ