สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 1 ปี 2568
Loading

สถานการณ์ที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 1 ปี 2568

วันที่ : 11 กรกฎาคม 2568
EEC ยกระดับบทบาท ของไทยในต่างประเทศ "เป็นหนึ่งในศูนย์กลาง เศรษฐกิจของเอเซีย
แม้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 1 ปี 2568 จะชะลอตัว ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน แต่แรงหนุน จากมาตรการรัฐ และการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV สินเช??อที่อยู่อาศัย คาดว่าจะเริ่มส่งผลในไตรมาส 2 ซึ่งอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นตัว โดยเฉพาะในพื้นที่ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่ยังคงเป็น เป้าหมายสำคัญของการลงทุนและการขยายตัวของ เมืองเศรษฐกิจใหม่

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จัดทำบทวิเคราะห์ เรื่อง “สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาสที่ 1 ปี 2568” พบว่า ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยชะลอตัวลง ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) อย่างไรก็ตามสถานการณ์ตลาด ที่อยู่อาศัยอาจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ได้แก่ การลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนองเหลือเพียงร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยที่มีระดับ ราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 2568 เป็นต้นไปโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

โดยด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยไตรมาสที่ 1 ปี 2568 มีจำนวนหน่วยลดลงร้อยละ –6.0 และ จำนวนมูลค่าลดลงร้อยละ –8.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) เป็นผลมาจากผู้ซื้อส่วนหนึ่ง รอการพิจารณาต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองในปี 2568 และการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV ชั่วคราวจากธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยเหตุนี้ จึงมีการชะลอการโอนกรรมสิทธิ์จำนวนมากในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 เพื่อรอการใช้สิทธิประโยชน์จากทั้งสองมาตรการในไตรมาสถัดไป หากพิจารณาลงแต่ละพื้นที่ พบว่าจังหวัดระยองเป็นเพียงจังหวัดเดียวในพื้นที่ EEC ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าการ โอนกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 3.8 และร้อยละ 2.7 ตามลำดับ ส่วนอุปทานใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน มีจำนวนโครงการ ลดลงร้อยละ –45.5 และจำนวนหน่วยลดลงร้อยละ –50.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดย เป็นการจัดสรรประเภททาวน์เฮ้าส์มากที่สุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.8 และพบว่าจังหวัดชลบุรีมีใบอนุญาต จัดสรรมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.8 ของใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั้งหมด สำหรับพื้นที่ได้รับอนุญาต ก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ -4.1 โดยเป็นการลดลงของพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างแนวราบร้อยละ –4.7 แต่มีพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งอาจสะท้อนถึงความสนใจของนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเช่าหรือขาย เพื่อรองรับความต้องการ ที่อยู่อาศัยของแรงงานไทยและต่างชาติในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
E-book สถานการณ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัด EEC อื่นๆ