สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 1 ปี 2565
วันที่ : 2 สิงหาคม 2565
จากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาส 1 ปี 2565 ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 4 ปี 2564 โดยเป็นผลมาจากภาคการเกษตรขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 สามารถเดินทางในประเทศและระหว่างประเทศได้แล้ว ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ EEC มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของด้านอุปทานและอุปสงค์
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัด EEC ในด้านอุปทานการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 แต่การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลดลงร้อยละ -44.7 ส่วนในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าจำนวนหน่วยมีการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีปัจจัยบวกมาจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาครัฐ สำหรับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลได้ขยายระยะเวลาของมาตรการการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท (ขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีประกาศผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญา
อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ยังมีปัจจัยลบที่อาจจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวลง ได้แก่ สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซีย และยูเครน ที่ทำให้ราคาน้ำมัน และวัสดุก่อสร้างปรับราคาเพิ่มขึ้น การขาดแคลนแรงงานภาคการก่อสร้าง หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าลงกว่าเดิมจากที่ได้คาดการณ์ไว้
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัด EEC ในด้านอุปทานการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 แต่การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลดลงร้อยละ -44.7 ส่วนในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าจำนวนหน่วยมีการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีปัจจัยบวกมาจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออก และแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนของภาครัฐ สำหรับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลได้ขยายระยะเวลาของมาตรการการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท (ขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีประกาศผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญา
อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ยังมีปัจจัยลบที่อาจจะทำให้ภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการชะลอตัวลง ได้แก่ สถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซีย และยูเครน ที่ทำให้ราคาน้ำมัน และวัสดุก่อสร้างปรับราคาเพิ่มขึ้น การขาดแคลนแรงงานภาคการก่อสร้าง หนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวช้าลงกว่าเดิมจากที่ได้คาดการณ์ไว้
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ใน EEC อื่นๆ