สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2564 และแนวโน้มปี 2565
วันที่ : 7 เมษายน 2565
จากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาส 4 ปี 2564 ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 จากที่ลดลงร้อยละ -0.2 ในไตรมาส 3 ปี 2564 โดยเป็นผลมาจากสินค้านำเข้า-ส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีประกาศผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัด EEC มีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 4 ปี 2564 ด้านของอุปทานการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ -25.6 แต่การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 ส่วนอุปสงค์ด้านการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าจำนวนหน่วยลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 11 นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ที่เริ่มมีการประกาศใช้มาตรการ LTV ของ ธปท. เดือนเมษายน 2562
ในปี 2564 ภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจไทย มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 แต่เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ต่ำผิดปกติในช่วงปี 2563 ที่ติดลบร้อยละ -6.2 อย่างไรก็ตาม จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 2 ปี ได้ส่งผลกระทบทำให้ทั้งอุปทานและอุปสงค์ของตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ปี 2564 ยังคงหดตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะตลาดอาคารชุด ซึ่งได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชาวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ และกลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุนชะลอการซื้อ
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัด EEC มีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 4 ปี 2564 ด้านของอุปทานการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ -25.6 แต่การออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 ส่วนอุปสงค์ด้านการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าจำนวนหน่วยลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 11 นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ที่เริ่มมีการประกาศใช้มาตรการ LTV ของ ธปท. เดือนเมษายน 2562
ในปี 2564 ภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจไทย มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 แต่เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ต่ำผิดปกติในช่วงปี 2563 ที่ติดลบร้อยละ -6.2 อย่างไรก็ตาม จากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลากว่า 2 ปี ได้ส่งผลกระทบทำให้ทั้งอุปทานและอุปสงค์ของตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ปี 2564 ยังคงหดตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะตลาดอาคารชุด ซึ่งได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชาวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ และกลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุนชะลอการซื้อ
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ใน EEC อื่นๆ