Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 1 ปี 2564

วันที่ : 23 กรกฎาคม 2564
         
                 สำหรับในช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 จังหวัด EEC ยังคงได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 อย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ที่และปัจจุบันยังไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งทำให้ภาพรวมเศรฐกิจไทยหดตัวลงร้อยละ -2.6  และส่งผลให้สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC มีการปรับตัวลดลงในอุปทานด้านใบอนุญาตจัดสรรลดลงกว่าครึ่งร้อยละ -53.3 แต่การออกใบอนุญาตปลูกสร้างที่อยู่อาศัยขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งแนวราบและอาคารชุด ร้อยละ 5.1 และ 65.1 ตามลำดับ หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องมา 2   ไตรมาส นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2563 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากปัจจัยบวกช่วงไตรมาส 1 ปี 2564 ที่เริ่มมีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศไทยและยังไม่เกิดการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 จากไวรัส COVID-19 สายพันธุ์เดลตา ประกอบกับรัฐบาลได้เลื่อนประกาศอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ไปเป็นปี 2565 และการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเหลือร้อยละ 10 และการขยายมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สำหรับบ้านใหม่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทอีกด้วย ซึ่งมาตรการเหล่านี้จะสามารถช่วยลดภาระของผู้ซื้อและผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเป็นมาตรการสำคัญที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการฯ มีมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้สอดคล้องกับเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในอีก 6 เดือน (ไตรมาส 2 ปี  - ไตรมาส 3 ปี 2564) ที่คาดหวังว่าเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวจะฟื้นตัวในไม่ช้า ส่วนด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า โดยลดลงร้อยละ -31.7 และร้อยละ -26.9 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการลดลงของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์แนวราบ และอาคารชุด ร้อยละ -37.6 และร้อยละ -15.7 ตามลำดับ และมูลค่าลดงลงร้อยละ -29.3 และร้อยละ -20.4 ตามลำดับ ส่วนใหญ่การโอนกรรมสิทธิ์แนวราบอยู่ในระดับราคา 2.01 – 3.00 ล้านบาทมากที่สุด ขณะที่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดอยู่ในระดับราคา 1.51 – 2.00 ล้านบาท 
              

 อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่