สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2563 และแนวโน้มปี 2564
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2563 และแนวโน้มปี 2564

วันที่ : 16 เมษายน 2564
                           ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัด คือ จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ใน “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” หรือ EEC มีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องทั้งด้านอุปทานและอุปสงค์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ประกอบกับการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งมีการระบาดในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งมีการควบคุมการเดินทางเข้า-ออกในพื้นที่จังหวัด EEC และการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส ซึ่งมีผลต่อกำลังซื้อและความมั่นใจในเศรษฐกิจของจังหวัดในกลุ่มพื้นที่ EEC เป็นอย่างมาก 
                            สำหรับในปี 2563 เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวติดลบถึงร้อยละ -6.0 ขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยมีปัจจัยลบมากกว่าปัจจัยบวก ทั้งการเลิกจ้างแรงงาน รายได้ของประชาชนลดลง โดยเฉพาะจากภาคการท่องเที่ยว ได้ส่งผลกระทบกับกำลังซื้อที่อยู่อาศัย แม้ว่าในปี 2563 จะมีปัจจัยบวกในด้านอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ราคาน้ำมันลดลง ประกอบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลที่มีผลไปถึงสิ้นปี 2563 และการผ่อนปรนเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม ซึ่งพบว่า ภาวะอุปทานของตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวลง โดยการขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลดลงร้อยละ -21.8 และการขอใบอนุญาตปลูกสร้างที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ -20.9  ขณะที่อุปสงค์ที่อยู่อาศัยจากหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ก็ลดลงร้อยละ -12.1 เช่นกัน แต่มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตลาดที่อยู่อาศัยมีการหดตัวในเชิงปริมาณ แต่กลับทรงตัวในเชิงมูลค่า สะท้อนให้เห็นว่าที่อยู่อาศัยที่มีการโอนกรรมสิทธิ์มีราคาสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีราคาเฉลี่ยหน่วยละ 2.23 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2558 จนถึง 2562 ซึ่งมีราคาเฉลี่ยเพียงไม่เกิน 2 ล้านบาท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะราคาที่ดินในพื้นที่ EEC มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ (ไม่นับรวมบ้านมือสอง) รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการจัดรายการส่งเสริมการขายโดยนำที่อยู่อาศัยมาลดลราคา ซึ่งมีส่วนทำให้ยอดมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัดพื้นที่จังหวัด EEC เพิ่มขึ้นอีกด้วย






                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่