สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน EEC ไตรมาส 4 ปี 2562 และแนวโน้มปี 2563

วันที่ : 9 เมษายน 2563
                            ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัด EEC (จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ด้านอุปทานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 โดยเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน ถึงแม้ว่าจำนวนโครงการจะลดลงแต่มีจำนวนหน่วยเพิ่มสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นขออนุญาตจัดสรรที่ดินสูงสุดในรอบ 6 ปี (24 ไตรมาส) นับตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2556 และอุปทานการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นมากในอาคารชุด แต่แนวราบปรับตัวลดลง  ส่วนในด้านอุปสงค์ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 เป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 2 หลังจากที่มีการใช้มาตรการ Macroprudential หรือการควบคุม LTV ส่งผลกระทบอย่างมากกับยอดโอนกรรมสิทธิ์ของผู้ประกอบการในช่วงไตรมาส 2 ทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 2 ลดลง ดังนั้นรัฐบาลจึงได้ออกมาตรการมากระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อลดผลกระทบจากนโยบายการควบคุมสินเชื่อ ซึ่งทยอยออกมาตรการกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น มาตรการลดหย่อนภาษีไม่เกิน 200,000 บาท สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรกที่ราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท มาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (การโอนและการจำนอง) เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยใหม่และมือสองราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท มาตรการบ้านดีมีดาวน์ที่สนับสนุนเงินดาวน์ 50,000 บาทต่อราย ให้กับประชาชนผู้ซื้อบ้านที่มีรายได้ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี และมาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (การโอนและการจำนอง) เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยใหม่ (ในโครงการจัดสรรและอาคารชุด) ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท จึงทำให้ช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 มียอดโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วย และจำนวนมูลค่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561
                              สำหรับภาพรวมในปี 2562 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในด้านอุปทานมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2561 ทั้งการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน และการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย เป็นผลมาจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเอเชียอย่างต่อเนื่อง ส่วนในด้านอุปสงค์ภาพรวมของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวนหน่วยลดลงเล็กน้อย แต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2561 เป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐที่ทยอยออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 2 จนถึงปลายปี






                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                           อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่