ไตรมาส2 เดือด! อสังหาฯชู ผ่อน LTV ลดค่าโอน จดจำนองเป็นจุดขาย
วันที่ : 9 เมษายน 2568
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า มาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราวสำหรับที่อยู่อาศัยทุกระดับราคาจะช่วยลดปัญหาที่อยู่อาศัยค้างสต๊อกลงได้ คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศประมาณ 353,389 หน่วย เพิ่มขึ้น 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน
ไตรมาส 2 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ มีความคาดหวังว่ามาตรการรัฐทั้งผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ มาตรการ LTV เป็นการชั่วคราวของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน2569 รวมถึงมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองลง 0.01% สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท ที่ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความมั่นใจว่าจะเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้ก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ และจะเป็นมาตรการแพ็กคู่ กับการผ่อนคลายLTV ช่วยพยุงตลาดอสังหาริมทรัพย์ให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
แม้ตลอดอสังหาริมทรัพย์ไทยจะเจอมรสุมรุนแรงทั้งพายุเศรษฐกิจในประเทศ แผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์ สร้างความไม่มั่นใจให้กับตลาดคอนโดมิเนียม และ "ภาษีทรัมป์" เขย่าซ้ำไทย ซึ่งจะเจอมรสุมกำลังซื้อภาคผลิต การเกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอาจหดหาย หลายฝ่ายประเมินว่าจีดีพีของไทยปีนี้จะหดตัวแรง หรือติดลบ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต่างมองไปข้างหน้า และเร่งระบายสินค้าในมือออกให้มากที่สุด แม้จะเป็นไปอย่างยากลำบากทั้งความเข้มงวดของสถาบันการเงิน หนี้ครัวเรือน ความไม่มั่นคงในหน้าที่การงานของตัวผู้ซื้อ รวมถึง คอนโดมิเนียมที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ในทางกลับกันบริษัทอสังหาริมทรัพย์ทุกค่ายต่างหันมาใช้กลยุทธ์ชูมาตรการรัฐเกณฑ์ LTV ซื้อที่อยู่อาศัยได้ทุกระดับราคาทุกสัญญา รวมถึงมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเป็นจุดขายในการจูงใจ และพ่วงด้วยแคมเปญ ระบายสินค้าในมือ เมื่อรวมแต่ละค่ายแล้วถือว่าค่อนข้างสูง
สะท้อนจากสถิติ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หน่วยเหลือขายที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณสิ้น ปี 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 215, 956 หน่วย เพิ่มขึ้น2.9% คิดเป็นมูลค่า 1,351,198 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.5%
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า มาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราวสำหรับที่อยู่อาศัยทุกระดับราคาจะช่วยลดปัญหาที่อยู่อาศัยค้างสต๊อกลงได้ คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศประมาณ 353,389 หน่วย เพิ่มขึ้น 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือมีช่วงอัตราการขยายตัวระหว่าง -3.5% ถึง 9.7% ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบในปี 2568 อยู่ที่ 593,634 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าปีก่อน 1.1% หรือมีช่วงอัตราขยายตัวระหว่าง -1.0% ถึง 5.1% ทั้งนี้ ธอส. ยืนยันพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยจะยังคงเป็นผู้นำในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ด้วยการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอย่างต่อเนื่อง
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า คาดการณ์ว่าแม้จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่เชื่อว่า จะกระทบระยะสั้นและภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั้งปี2568 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเมินไว้ ขณะไตรมาสแรกของปีนี้ สมาคมฯได้สำรวจและคาดว่า จะดีกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะคอนโดมิเนียมยอมรับว่าตลาดอาจชะลอจากผลกระทบแผ่นดินไหว 1เดือนนับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม แต่เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคม จะมีมาตรการรัฐรองรับ ซึ่งจะมีกลุ่มกำลังซื้อสูงเข้าสู่ตลอดและเชื่อว่า คอนโดมิเนียมจะยังเป็นที่ต้องการ
"ยอมรับว่าแนวราบอาจได้รับการตอบรับที่ดีแต่คอนโดมิเนียมจะมีความกังวลระยะสั้นๆ และคนที่จะโอนก็ขอชะลอโอนไปก่อนเท่านั้น"
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า บ้านแนวราบและบ้านมือสองอาจมาแรงหลังแผ่นดินไหว รวมถึงคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์แต่ระยะยาวจะกลับเข้าที่เข้าทางเพราะไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคน ประกอบกับปัจจัยบวกมาตรการรัฐที่ออกมาช่วยพยุง และมีทิศทางที่ดีขึ้น
นายประเสิรฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ระบุว่า ต้องการให้ทุกคนมองไปข้างหน้า ไม่ต้องการจมอยู่กับอดีตและร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นลูกค้ากลับมาโดยมั่นใจว่ามาตรการรัฐที่ออกมาทั้งการผ่อนผันLTV รวมถึงลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนองจะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาพรวมได้
แม้ตลอดอสังหาริมทรัพย์ไทยจะเจอมรสุมรุนแรงทั้งพายุเศรษฐกิจในประเทศ แผ่นดินไหวครั้งประวัติศาสตร์ สร้างความไม่มั่นใจให้กับตลาดคอนโดมิเนียม และ "ภาษีทรัมป์" เขย่าซ้ำไทย ซึ่งจะเจอมรสุมกำลังซื้อภาคผลิต การเกษตร อุตสาหกรรม รวมถึงธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอาจหดหาย หลายฝ่ายประเมินว่าจีดีพีของไทยปีนี้จะหดตัวแรง หรือติดลบ
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต่างมองไปข้างหน้า และเร่งระบายสินค้าในมือออกให้มากที่สุด แม้จะเป็นไปอย่างยากลำบากทั้งความเข้มงวดของสถาบันการเงิน หนี้ครัวเรือน ความไม่มั่นคงในหน้าที่การงานของตัวผู้ซื้อ รวมถึง คอนโดมิเนียมที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว
ในทางกลับกันบริษัทอสังหาริมทรัพย์ทุกค่ายต่างหันมาใช้กลยุทธ์ชูมาตรการรัฐเกณฑ์ LTV ซื้อที่อยู่อาศัยได้ทุกระดับราคาทุกสัญญา รวมถึงมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองเป็นจุดขายในการจูงใจ และพ่วงด้วยแคมเปญ ระบายสินค้าในมือ เมื่อรวมแต่ละค่ายแล้วถือว่าค่อนข้างสูง
สะท้อนจากสถิติ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หน่วยเหลือขายที่อยู่อาศัย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณสิ้น ปี 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 215, 956 หน่วย เพิ่มขึ้น2.9% คิดเป็นมูลค่า 1,351,198 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 14.5%
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า มาตรการผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราวสำหรับที่อยู่อาศัยทุกระดับราคาจะช่วยลดปัญหาที่อยู่อาศัยค้างสต๊อกลงได้ คาดการณ์ว่าในปี 2568 จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศประมาณ 353,389 หน่วย เพิ่มขึ้น 1.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน หรือมีช่วงอัตราการขยายตัวระหว่าง -3.5% ถึง 9.7% ส่งผลให้การปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบในปี 2568 อยู่ที่ 593,634 ล้านบาท สูงขึ้นกว่าปีก่อน 1.1% หรือมีช่วงอัตราขยายตัวระหว่าง -1.0% ถึง 5.1% ทั้งนี้ ธอส. ยืนยันพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยจะยังคงเป็นผู้นำในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ด้วยการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองอย่างต่อเนื่อง
นายสุนทร สถาพร นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า คาดการณ์ว่าแม้จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว แต่เชื่อว่า จะกระทบระยะสั้นและภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั้งปี2568 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่ 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประเมินไว้ ขณะไตรมาสแรกของปีนี้ สมาคมฯได้สำรวจและคาดว่า จะดีกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะคอนโดมิเนียมยอมรับว่าตลาดอาจชะลอจากผลกระทบแผ่นดินไหว 1เดือนนับตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม แต่เมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคม จะมีมาตรการรัฐรองรับ ซึ่งจะมีกลุ่มกำลังซื้อสูงเข้าสู่ตลอดและเชื่อว่า คอนโดมิเนียมจะยังเป็นที่ต้องการ
"ยอมรับว่าแนวราบอาจได้รับการตอบรับที่ดีแต่คอนโดมิเนียมจะมีความกังวลระยะสั้นๆ และคนที่จะโอนก็ขอชะลอโอนไปก่อนเท่านั้น"
นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย ระบุว่า บ้านแนวราบและบ้านมือสองอาจมาแรงหลังแผ่นดินไหว รวมถึงคอนโดมิเนียมโลว์ไรส์แต่ระยะยาวจะกลับเข้าที่เข้าทางเพราะไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัยของคน ประกอบกับปัจจัยบวกมาตรการรัฐที่ออกมาช่วยพยุง และมีทิศทางที่ดีขึ้น
นายประเสิรฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย ระบุว่า ต้องการให้ทุกคนมองไปข้างหน้า ไม่ต้องการจมอยู่กับอดีตและร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นลูกค้ากลับมาโดยมั่นใจว่ามาตรการรัฐที่ออกมาทั้งการผ่อนผันLTV รวมถึงลดค่าธรรมเนียมการโอน และจดจำนองจะช่วยกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาพรวมได้