สำนักวิจัยจ่อปรับจีดีพี-ลุ้น กนง.หั่นดอกเบี้ย 26 ก.พ.
วันที่ : 21 กุมภาพันธ์ 2568
สำนักวิจัยจ่อทบทวนจีดีพี-ลุ้น กนง.หั่นดอกเบี้ย "KKP" ชี้โอกาสเศรษฐกิจปีนี้จะโต 2.8% เป็นไปได้ยาก แนะ กนง.ลดดอกเบี้ยช่วย ขณะที่ "วิจัยกรุงศรี" เตรียมหั่นเป้าลงจากเดิม 2.9% ระบุดอกเบี้ยนโยบายมีโอกาสลดรอบ 26 ก.พ.นี้ ฟาก "ศูนย์วิจัยกสิกรไทย" คงประมาณการ GDP ปีนี้ที่ 2.4%
ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP) กล่าวว่า ตัวเลขอัตราขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศออกมา ไม่ได้ผิดคาดมากนัก เพราะที่ผ่านมา ก็เห็นตัวเลขดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ธ.ค. 2567 ที่ไม่ได้ออกมาดีขึ้นมาก ซึ่งก็คิดว่าคงมี Down Side
แต่มีสิ่งที่น่าสนใจ 3 เรื่อง คือ 1.จากฐานที่ต่ำ แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่ได้ฟื้นขึ้นมาอย่างที่คาด ซึ่งตนคิดว่ามาจากยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ฟื้น เพราะธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ 2.แม้จะมีมาตรการกระตุ้นทางด้านการคลัง 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งประมาณ 0.7% ของจีดีพี แต่จีดีพีไตรมาส 4 เทียบไตรมาส 3 โตแค่ 0.4% แปลว่า จีดีพีโตน้อยกว่าเงินที่ใส่เข้าไป หรือผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีน้อย และ 3.ภาคการผลิตโดยเฉพาะรถยนต์ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น ภาคก่อสร้างได้รับผลกระทบจากยอดขายบ้านที่ไม่โต รวมถึงหากแบงก์ยังไม่ปล่อยสินเชื่อ ก็จะทำให้การบริโภคยังมีปัญหาต่อเนื่อง
ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันประมาณการจีดีพีของ KKP ก็ถือว่าค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ 2.6% แต่ยอมรับว่า ก็มีโอกาสที่จะปรับจีดีพีใหม่ โดยตอนนี้อยู่ระหว่างติดตามตัวเลขต่าง ๆ ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพราะปีนี้ ก็มีความเสี่ยงจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งยังเป็น Big Unknow ที่คาดการณ์ไม่ได้ว่าจะกระทบกับไทยแค่ไหน
"การที่ปีนี้จะโตได้ 2.8% ผมว่าค่อนข้างยาก เพราะนึกไม่ออกว่าอะไรจะเป็นเครื่องยนต์กระตุ้นหลักของปีนี้ ยกเว้นแต่การท่องเที่ยว แล้วก็อาจจะเรื่องการย้ายฐานการลงทุนภาคเอกชนบ้าง นอกเหนือจากนั้นดูไม่ค่อยออก"
ดร.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า นโยบายการเงินควรจะมีส่วนร่วมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ควรจะพิจารณาลดดอกเบี้ยนโยบายลง จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.25% เพราะเงินเฟ้อต่ำ
"ผมว่ามีรูมที่ดอกเบี้ยนโยบายควรจะเข้ามาช่วยบ้าง อาจจะบอกว่านโยบายการเงินคงแก้ปัญหาทั้งหมดไม่ได้ แต่ก็น่าจะไม่กดดันการฟื้นตัว ซึ่งก็มีรูมที่จะช่วยได้ เพราะถ้าเก็บกระสุนไว้นาน ก็เหมือนเราขับรถแล้วเอาเท้าเลียเบรกไว้ เพื่อรอเหยียบคันเร่ง แต่ถ้าเลียเบรกไว้นาน เบรกก็อาจจะไหม้ ซึ่งมีรูมที่ทำได้ แต่ถ้าฟังที่ กนง.สื่อสาร ก็คงยังไม่ลดในรอบนี้"
นอกจากนี้ วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า เตรียมปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงจาก 2.9% เนื่องจาก 1.อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน 2.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งผลบวกค่อนข้างจำกัด 3.จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจไม่เป็นไปตามที่เคยคาดไว้ที่ 40 ล้านคน และ 4.หากสหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้า อาจกระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทย
ทั้งนี้ ปัจจัยบั่นทอนและความเสี่ยงข้างต้นเปิดทางให้ กนง.ปรับลดดอกเบี้ยในวันที่ 26 ก.พ.นี้ หรือหากไม่ปรับดอกเบี้ยในเดือนนี้ ยังมีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดในเดือน เม.ย. หลังมีความชัดเจนเรื่องภาษีตอบโต้ของสหรัฐ
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย หลัก ๆ เป็นผลจากในไตรมาส 4/2567 สินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย ซึ่งศูนย์วิจัยคงประมาณการไว้ที่ 2.4% โดยการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการท่องเที่ยว คาดว่าจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ แต่มีโมเมนตัมชะลอลง
แต่มีสิ่งที่น่าสนใจ 3 เรื่อง คือ 1.จากฐานที่ต่ำ แต่ก็มีบางส่วนที่ไม่ได้ฟื้นขึ้นมาอย่างที่คาด ซึ่งตนคิดว่ามาจากยอดขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ฟื้น เพราะธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ 2.แม้จะมีมาตรการกระตุ้นทางด้านการคลัง 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งประมาณ 0.7% ของจีดีพี แต่จีดีพีไตรมาส 4 เทียบไตรมาส 3 โตแค่ 0.4% แปลว่า จีดีพีโตน้อยกว่าเงินที่ใส่เข้าไป หรือผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจมีน้อย และ 3.ภาคการผลิตโดยเฉพาะรถยนต์ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้น ภาคก่อสร้างได้รับผลกระทบจากยอดขายบ้านที่ไม่โต รวมถึงหากแบงก์ยังไม่ปล่อยสินเชื่อ ก็จะทำให้การบริโภคยังมีปัญหาต่อเนื่อง
ดร.พิพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจุบันประมาณการจีดีพีของ KKP ก็ถือว่าค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ 2.6% แต่ยอมรับว่า ก็มีโอกาสที่จะปรับจีดีพีใหม่ โดยตอนนี้อยู่ระหว่างติดตามตัวเลขต่าง ๆ ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง เพราะปีนี้ ก็มีความเสี่ยงจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งยังเป็น Big Unknow ที่คาดการณ์ไม่ได้ว่าจะกระทบกับไทยแค่ไหน
"การที่ปีนี้จะโตได้ 2.8% ผมว่าค่อนข้างยาก เพราะนึกไม่ออกว่าอะไรจะเป็นเครื่องยนต์กระตุ้นหลักของปีนี้ ยกเว้นแต่การท่องเที่ยว แล้วก็อาจจะเรื่องการย้ายฐานการลงทุนภาคเอกชนบ้าง นอกเหนือจากนั้นดูไม่ค่อยออก"
ดร.พิพัฒน์ กล่าวด้วยว่า นโยบายการเงินควรจะมีส่วนร่วมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ควรจะพิจารณาลดดอกเบี้ยนโยบายลง จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.25% เพราะเงินเฟ้อต่ำ
"ผมว่ามีรูมที่ดอกเบี้ยนโยบายควรจะเข้ามาช่วยบ้าง อาจจะบอกว่านโยบายการเงินคงแก้ปัญหาทั้งหมดไม่ได้ แต่ก็น่าจะไม่กดดันการฟื้นตัว ซึ่งก็มีรูมที่จะช่วยได้ เพราะถ้าเก็บกระสุนไว้นาน ก็เหมือนเราขับรถแล้วเอาเท้าเลียเบรกไว้ เพื่อรอเหยียบคันเร่ง แต่ถ้าเลียเบรกไว้นาน เบรกก็อาจจะไหม้ ซึ่งมีรูมที่ทำได้ แต่ถ้าฟังที่ กนง.สื่อสาร ก็คงยังไม่ลดในรอบนี้"
นอกจากนี้ วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า เตรียมปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ลงจาก 2.9% เนื่องจาก 1.อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน 2.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งผลบวกค่อนข้างจำกัด 3.จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจไม่เป็นไปตามที่เคยคาดไว้ที่ 40 ล้านคน และ 4.หากสหรัฐปรับขึ้นภาษีนำเข้า อาจกระทบต่อการค้าและการส่งออกของไทย
ทั้งนี้ ปัจจัยบั่นทอนและความเสี่ยงข้างต้นเปิดทางให้ กนง.ปรับลดดอกเบี้ยในวันที่ 26 ก.พ.นี้ หรือหากไม่ปรับดอกเบี้ยในเดือนนี้ ยังมีโอกาสที่จะเห็นการปรับลดในเดือน เม.ย. หลังมีความชัดเจนเรื่องภาษีตอบโต้ของสหรัฐ
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย หลัก ๆ เป็นผลจากในไตรมาส 4/2567 สินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2568 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเล็กน้อย ซึ่งศูนย์วิจัยคงประมาณการไว้ที่ 2.4% โดยการบริโภคภาคเอกชน การส่งออก และการท่องเที่ยว คาดว่าจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ แต่มีโมเมนตัมชะลอลง
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ