มองไปข้างหน้าใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม กระตุ้นซื้ออสังหาฯ พรีเวดดิ้ง ประกันภัย
Loading

มองไปข้างหน้าใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม กระตุ้นซื้ออสังหาฯ พรีเวดดิ้ง ประกันภัย

วันที่ : 21 มกราคม 2568
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีโครงการสินเชื่อ My Pride สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่ต้องการกู้ร่วมซื้อที่อยู่อาศัยร่วมกันด้วยอัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรก 3.75% ต่อปี (คิดจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว MRR=6.15%) พร้อมระยะเวลาผ่อนไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน และสูงสุดไม่เกิน 40 ปี
    กลุ่ม LGBTQ+ ช่วยเพิ่มประชากรประเทศ

    สำนักงานสถิติแห่งชาติ ยังไม่มีการสำรวจข้อมูลประชากรกลุ่ม LGBTQs ในประเทศไทยมาก่อน นั่นหมายความว่าข้อมูลอย่างเป็นทางการของกลุ่มประชากร LGBTQs ของประเทศไทยยังไม่มี จากข้อมูล SDG Port ปี 2564 พบว่า ประเทศไทยมี LGBT ที่เปิดเผยตัวตน จำนวน 4 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังจากประเทศไทยประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียมวันที่ 22 ม.ค. 2568 ซึ่งไทยเป็นประเทศที่ 37 ของโลกและชาติแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม

    กลุ่ม LGBTQ+ กระตุ้นซื้ออสังหาฯ

    กฎหมายสมรสเท่าเทียมนอกจากจะช่วยยกระดับด้านความเท่าเทียมทางเพศ ของไทยแล้ว ยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย ข้อมูลของเทอร์ร่า บีเคเคระบุว่า กลุ่ม LGBTQ+ มีรายได้มากกว่ากลุ่ม สถานะชายหญิงเมื่อเทียบกับคนในวัยเดียวกัน โดยมีรายได้ 50,000-85,000 บาท ต่อเดือน สัดส่วนมากกว่า 9% และมีรายได้มากกว่า 85,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปสัดส่วนมากกว่า 4% โดยมีรสนิยมเรียบหรูดูแพง เน้นแบรนด์และความน่าเชื่อถือเป็นหลัก ไม่เน้นตามเทรนด์เหมือนคนทั่วไป

    กฎหมายสมรสเท่าเทียมจะกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายในภาคอสังหาริมทรัพย์ จากที่ก่อนหน้าธนาคารหลายแห่งได้ออกแคมเปญเพื่อเชิญชวน อาทิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ได้สนับสนุนคู่รักเพศเดียวกัน กู้ร่วมซื้อบ้าน ออกผลิตภัณฑ์ "สินเชื่อบ้านสำหรับคู่เพื่อน" พร้อมประกันคุ้มครองสินเชื่อ MRTA ลดความเสี่ยงหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน สำหรับคู่รักเพศเดียวกันกู้ร่วมกัน

    ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีโครงการ สินเชื่อ My Pride สำหรับคู่รัก LGBTQ+ ที่ต้องการกู้ร่วมซื้อที่อยู่อาศัยร่วมกันด้วยอัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรก 3.75% ต่อปี (คิดจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัว MRR=6.15%) พร้อมระยะเวลาผ่อนไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน และสูงสุดไม่เกิน 40 ปี

    "ทั้งนี้ LGBT เป็นกลุ่มคนที่มีไลฟ์สไตล์ แบบ Work hard, Play hard ดังนั้นรูปแบบอสังหาฯ ที่ได้รับความนิยม ของคนกลุ่มนี้จึงเป็นคอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยว เพราะตอบโจทย์เรื่องความสะดวกของทำเลที่ตั้ง และสิ่งอำนวย ความสะดวกที่มีครบครัน" ตรา วงภักดีกรรมการผู้จัดการบริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอนซัลติ้ง ระบุ

    คู่รัก LGBTQIA+มุ่งจัดงานเฉลิมฉลอง

    ข้อมูลของ บริษัท IPSOS ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านตลาด ข้ามชาติให้ข้อมูลว่าประชากร 9% ของไทย ระบุตนเองว่าเป็นกลุ่ม LGBTQIA+ ซึ่งความต้องการในการจัดงานเฉลิมฉลองที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานแต่งงานเติบโตอย่างมาก เพื่อคว้าโอกาสจากการมีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ไทยควรผลักดันในการเป็นศูนย์กลางการจัดงานแต่งงานของทุกเพศสภาพในเอเชีย เนื่องจากความพร้อมในด้านกฎหมาย ความเป็นเลิศ ในด้านการจัดงานและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องของไทยและการมีแหล่งท่องเที่ยว หลากหลาย ทั้งทางด้านธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ เหมาะสมอย่างยิ่งในการเป็นสถานที่สำหรับการจัดงานแต่งงานและฮันนีมูน

    บริษัทให้บริการจัดงานแต่งงานของไทย Wonders and Weddings คาดการณ์ว่า ยอดจองการ จัดงานแต่งงานจะเพิ่มมากขึ้น โดยการจองจัดงานแต่งงานของกลุ่ม LGBTQIA+1 จะ คิดเป็น 25% จากยอดจองทั้งหมด

    คาดธุรกิจประกันภัยโต

    ทั้งนี้ข้อมูลจาก World Travel & Tourism Council ระบุว่า สัดส่วนของกลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQIA+ คิดเป็น 10% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และค่าใช้จ่าย ในการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้คิดเป็น 16% ของค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ทั้งหมด หรือคิดเป็นประมาณ 195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ถือว่าเป็นนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง ชอบเดินทางท่องเที่ยว สัมผัสประสบการณ์ที่หลากหลาย ธุรกิจประกันภัยและธุรกิจทางการเงิน เป็นอีกหนึ่งธุรกิจบริการที่จะเติบโตมากขึ้น กฎหมายสมรสเท่าเทียมได้สนับสนุนให้คู่รักหลากหลายเพศได้รับสิทธิ ในการดูแลชีวิตของคู่รัก สิทธิในการดูแลจัดการทรัพย์สินของคู่สมรส การเป็นตัวแทนทางกฎหมายและการสามารถรับมรดกจากคู่สมรสได้ ทำให้คู่ LGBTQIA+ สามารถทำประกันชีวิตให้กันและสามารถเป็นผู้รับผลประโยชน์ การกู้เงินเพื่อซื้อบ้านร่วมกัน การถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินร่วมกัน ซึ่งการได้รับการรับรองจากรัฐจะช่วย สร้างความเชื่อถือให้กับธุรกิจประกันภัยและธุรกิจบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น ส่งผลทำให้ธุรกิจดังกล่าวมีแนวโน้มเติบโต จากความต้องการในการทำประกันภัย หรือการร่วมสร้างครอบครัวหรือธุรกิจ ร่วมกับคู่รัก

    ทั้งนี้แบบฟอร์มของบริษัทประกันชีวิตได้เพิ่มรายละเอียดผู้รับประโยชน์ เป็น "คู่ชีวิต" บางบริษัทมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ซื้อประกันสุขภาพ กรณีผ่าตัดแปลงเพศมาสามารถซื้อประกันได้แต่ต้องผ่านไปแล้ว 12 เดือน

    คู่รักเพศเดียวกันต้องการมีลูก

    ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การบังคับใช้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ในปี 2568 ทำให้ต้องมีการปรับแก้กฎหมายลูกต่าง ๆ ให้สอดรับกับกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยเฉพาะการยอมให้คู่สมรสเพศเดียวกันมีบุตรได้ผ่านการใช้เทคโนโลยีช่วย เจริญพันธุ์ ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทยให้เปิด กว้างมากขึ้น ครอบคลุมไปถึงกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ที่ปัจจุบันในไทยมีอยู่ราว 5.9 ล้านคน หรือคิดเป็น 9% ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด และคาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องในระยะข้างหน้า

    ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำลังดำเนินการพิจารณาปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทาง การแพทย์ พ.ศ. 2558 หรือ กฎหมายอุ้มบุญ โดยมีการกำหนดให้สามารถดำเนินการได้ในคู่สมรส ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นเพศชายกับเพศหญิงเท่านั้น ดังนั้น หากเป็นคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถทำอุ้มบุญได้

    ทั้งนี้ ปี 2568 คาดตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทย มีมูลค่ากว่า 6.3 พันล้านบาท เติบโต 6.2% จากปี 2567 โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ลูกค้าชาวไทย มีสัดส่วน 70% ของผู้มาใช้บริการทั้งหมด และลูกค้าชาวต่างชาติ อีก 30%
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ