สำรวจ 'บ้านผู้สูงวัย' ยังขาดตลาด
วันที่ : 5 ธันวาคม 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ สำรวจที่อยู่อาศัยรองรับสูงวัยทั่วไทยปี'67 พบเปิดบริการ 916 โครงการ กระจุกตัว กทม.และปริมณฑล เผยดีมานด์ยังพุ่ง สวนทางซัพพลายออกสู่ตลาดน้อย แนะพัฒนากลไกทางการเงิน จูงใจเอกชนพัฒนา
ทั่วประเทศเปิดตัว916โครงการ
REIC ห่วงวิกฤต-แนะรัฐเร่งปัม
รายงานข่าวจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพบว่ามีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับจากปี 2537 ที่มีเพียง 6.8% เพิ่มเป็น 20% ของประชากรทั้งหมดในปี 2567 โดยเพิ่มขึ้น 4.89% ต่อปี สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันการพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับผู้สูงอายุยังเติบโตช้า ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งผลสำรวจพบว่าปี 2567 มีโครงการเปิดบริการ 916 โครงการ เป็นเนอร์สซิ่งโฮม 832 โครงการ และที่อยู่อาศัย 84 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพฯและปริมณฑลถึง 516 โครงการ ขณะที่อัตราการเข้าพักในเนอร์สซิ่งโฮมอยู่ที่ 70.91% โดยที่พักจะอยู่ในกรุงเทพฯสูงสุดและมีอัตราการเข้าพักถึง 69.21% ขณะที่ชลบุรี มีเข้าพัก 76.95% นครราชสีมา 73.71% และเชียงใหม่ 73.07% ทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่มีความนิยมของผู้สูงอายุชาวไทยและต่างชาติ สำหรับอัตราการเข้าพักในที่อยู่อาศัยสมุทรปราการอยู่ที่ 70.91% กรุงเทพฯ 75.64% สะท้อนถึงความต้องการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัยในเขตเมืองและศูนย์กลางเศรษฐกิจ ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ด้านราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัยพบว่าค่าเช่าที่อยู่อาศัยกลุ่มเนอร์สซิ่งโฮม ช่วงราคาเช่าของภาครัฐ ที่มีจำนวนมากสุดคือราคา 15,001-20,000 บาท ช่วงราคาเช่าของมูลนิธิมากสุด คือ ราคา 15,001-20,000 บาท และช่วงราคาเช่าของเอกชนมากสุด คือ ราคา 15,001-20,000 บาท ขณะที่โครงการในกลุ่มที่อยู่อาศัย ช่วงราคาเช่าของภาครัฐ มีจำนวนมากสุด คือ ราคาเท่ากับหรือต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนช่วงราคาเช่าของเอกชนมีจำนวนมากสุด คือ ราคา 30,001-50,000 บาท ขณะที่แหล่งรายได้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มาจากบุตร 35.7% รองลงมาจากการทำงาน เบี้ยยังชีพ เงินบำเหน็จหรือบำนาญ คู่สมรส และดอกเบี้ยเงินออมหรือการขายทรัพย์สิน
ทั้งนี้จากผลการสำรวจยังสะท้อนภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างระดับรายได้ การพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด ทำให้การออกแบบกลไกทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบ้านพักผู้สูงอายุจำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทและศักยภาพที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ รวมถึงการพัฒนากลไกทางการเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จะช่วยสนับสนุนให้การพัฒนาบ้านพักผู้สูงอายุตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้ทั่วถึงและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสามารถการเข้าถึงบริการและความยั่งยืนการเงินของโครงการ เพื่อรองรับรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาสินเชื่อสำหรับที่พักอาศัยแบบเช่าระยะยาวหรือการซื้อสิทธิการอยู่อาศัย ที่อาจเหมาะกับผู้สูงอายุที่ต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น สินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ช่วยสนับสนุนผู้สูงอายุให้เข้าถึงสินเชื่อและมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้
REIC ห่วงวิกฤต-แนะรัฐเร่งปัม
รายงานข่าวจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ผลสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพบว่ามีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับจากปี 2537 ที่มีเพียง 6.8% เพิ่มเป็น 20% ของประชากรทั้งหมดในปี 2567 โดยเพิ่มขึ้น 4.89% ต่อปี สะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันการพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับผู้สูงอายุยังเติบโตช้า ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งผลสำรวจพบว่าปี 2567 มีโครงการเปิดบริการ 916 โครงการ เป็นเนอร์สซิ่งโฮม 832 โครงการ และที่อยู่อาศัย 84 โครงการ ส่วนใหญ่อยู่กรุงเทพฯและปริมณฑลถึง 516 โครงการ ขณะที่อัตราการเข้าพักในเนอร์สซิ่งโฮมอยู่ที่ 70.91% โดยที่พักจะอยู่ในกรุงเทพฯสูงสุดและมีอัตราการเข้าพักถึง 69.21% ขณะที่ชลบุรี มีเข้าพัก 76.95% นครราชสีมา 73.71% และเชียงใหม่ 73.07% ทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่มีความนิยมของผู้สูงอายุชาวไทยและต่างชาติ สำหรับอัตราการเข้าพักในที่อยู่อาศัยสมุทรปราการอยู่ที่ 70.91% กรุงเทพฯ 75.64% สะท้อนถึงความต้องการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงวัยในเขตเมืองและศูนย์กลางเศรษฐกิจ ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ด้านราคาค่าเช่าที่อยู่อาศัยพบว่าค่าเช่าที่อยู่อาศัยกลุ่มเนอร์สซิ่งโฮม ช่วงราคาเช่าของภาครัฐ ที่มีจำนวนมากสุดคือราคา 15,001-20,000 บาท ช่วงราคาเช่าของมูลนิธิมากสุด คือ ราคา 15,001-20,000 บาท และช่วงราคาเช่าของเอกชนมากสุด คือ ราคา 15,001-20,000 บาท ขณะที่โครงการในกลุ่มที่อยู่อาศัย ช่วงราคาเช่าของภาครัฐ มีจำนวนมากสุด คือ ราคาเท่ากับหรือต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนช่วงราคาเช่าของเอกชนมีจำนวนมากสุด คือ ราคา 30,001-50,000 บาท ขณะที่แหล่งรายได้ของผู้สูงอายุส่วนใหญ่มาจากบุตร 35.7% รองลงมาจากการทำงาน เบี้ยยังชีพ เงินบำเหน็จหรือบำนาญ คู่สมรส และดอกเบี้ยเงินออมหรือการขายทรัพย์สิน
ทั้งนี้จากผลการสำรวจยังสะท้อนภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะความแตกต่างระดับรายได้ การพัฒนาเศรษฐกิจแต่ละจังหวัด ทำให้การออกแบบกลไกทางการเงิน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบ้านพักผู้สูงอายุจำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทและศักยภาพที่แตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ รวมถึงการพัฒนากลไกทางการเงินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จะช่วยสนับสนุนให้การพัฒนาบ้านพักผู้สูงอายุตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุได้ทั่วถึงและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสามารถการเข้าถึงบริการและความยั่งยืนการเงินของโครงการ เพื่อรองรับรูปแบบการอยู่อาศัยที่หลากหลาย เช่น การพัฒนาสินเชื่อสำหรับที่พักอาศัยแบบเช่าระยะยาวหรือการซื้อสิทธิการอยู่อาศัย ที่อาจเหมาะกับผู้สูงอายุที่ต้องการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เช่น สินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ช่วยสนับสนุนผู้สูงอายุให้เข้าถึงสินเชื่อและมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้