ที่ดินเริ่มฟื้นลงทุนดักรถไฟฟ้า
วันที่ : 22 พฤศจิกายน 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ระบุว่า ภาพรวมที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 2-3 ปี 67 ยังคงหดตัว แต่ยังหดตัวน้อยกว่าในไตรมาสแรกของปี 67 สะท้อนให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น
รายงานข่าวจาก ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาที่ดินเปล่า ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 ปี 67 รวม 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม มีค่าดัชนี 391.1 เพิ่มขึ้น 2.9% จากปีก่อนซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา 5 ปีย้อนหลัง สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นเริ่มฟื้นตัว มีสัญญาณการกลับมาซื้อที่ดินสำหรับการลงทุนก่อสร้าง โครงการจัดสรรตามแนวรถไฟฟ้ามากขึ้น แต่ยังไม่สูงมากเหมือนช่วงก่อนเกิดโควิด
ทั้งนี้ ราคาที่ดินในหลายพื้นที่ขยับเพิ่มขึ้น เป็นทำเลที่มีศักยภาพด้านการลงทุน รวมถึงพื้นที่ปริมณฑลที่ได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาทางหลวงระหว่างเมือง อาทิ โซนจังหวัดนครปฐม เพิ่มมากที่สุด 22.7% รองลงมาเป็นโซนอำเภอเมืองปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว สามโคก จังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้น 18.3% โซนตลิ่งชัน บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม ทวีวัฒนา ธนบุรี คลองสาน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เพิ่มขึ้น 7.0% โซนเขตจตุจักร ห้วยขวาง ยานนาวา วัฒนา คลองเตย พญาไท บางคอแหลม ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางซื่อ ดินแดง ราชเทวี และบางรัก หรือ กรุงเทพฯ ชั้นใน เพิ่มขึ้น 6.2% และโซนจังหวัดสมุทรสาคร เพิ่มขึ้น 5.9%
นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า มีราคาการเพิ่มขึ้นในที่ดินที่รถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว และเป็นที่ดินที่มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าตั้งแต่ 2 สายขึ้นไป ได้แก่ รถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) เพิ่มขึ้น 7% โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในเขตบางแค และหนองแขม รองลงมาเป็นรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) รถไฟฟ้าสายสีทอง (ธนบุรีประชาธิปก) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) ราคาเพิ่มขึ้น 6.4% รถไฟฟ้าสายสีลม รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธอส. ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ภาพรวมที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 2-3 ปี 67 ยังคงหดตัว แต่ยังหดตัวน้อยกว่าในไตรมาสแรกของปี 67 สะท้อนให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ ราคาที่ดินในหลายพื้นที่ขยับเพิ่มขึ้น เป็นทำเลที่มีศักยภาพด้านการลงทุน รวมถึงพื้นที่ปริมณฑลที่ได้รับอานิสงส์จากการพัฒนาทางหลวงระหว่างเมือง อาทิ โซนจังหวัดนครปฐม เพิ่มมากที่สุด 22.7% รองลงมาเป็นโซนอำเภอเมืองปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว สามโคก จังหวัดปทุมธานี เพิ่มขึ้น 18.3% โซนตลิ่งชัน บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม ทวีวัฒนา ธนบุรี คลองสาน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ เพิ่มขึ้น 7.0% โซนเขตจตุจักร ห้วยขวาง ยานนาวา วัฒนา คลองเตย พญาไท บางคอแหลม ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางซื่อ ดินแดง ราชเทวี และบางรัก หรือ กรุงเทพฯ ชั้นใน เพิ่มขึ้น 6.2% และโซนจังหวัดสมุทรสาคร เพิ่มขึ้น 5.9%
นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า มีราคาการเพิ่มขึ้นในที่ดินที่รถไฟฟ้าเปิดให้บริการแล้ว และเป็นที่ดินที่มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าตั้งแต่ 2 สายขึ้นไป ได้แก่ รถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน (บางแค-พุทธมณฑล สาย 4) เพิ่มขึ้น 7% โดยราคาที่ดินที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในเขตบางแค และหนองแขม รองลงมาเป็นรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) รถไฟฟ้าสายสีทอง (ธนบุรีประชาธิปก) และรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม) ราคาเพิ่มขึ้น 6.4% รถไฟฟ้าสายสีลม รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) เป็นต้น
ก่อนหน้านี้ นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธอส. ในฐานะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ระบุว่า ภาพรวมที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในไตรมาส 2-3 ปี 67 ยังคงหดตัว แต่ยังหดตัวน้อยกว่าในไตรมาสแรกของปี 67 สะท้อนให้เห็นว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มฟื้นตัวหลังได้รับแรงสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ