ลุย 'สายสีส้ม' จุดพลุทำเลทอง...เชื่อมรถไฟฟ้า 8 สาย
วันที่ : 13 พฤศจิกายน 2567
รฟม. - BEM คิกออฟ ลงมือก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม ลุยสร้าง "สายสีส้ม" บูมทำเลทอง เชื่อม รถไฟฟ้า 8 สาย กูรูอสังหาฯ "สุรเชษฐ กองชีพ" "Property DNA" ยัน โซนตะวันออกบูม ผังเมืองใหม่กดปุ่มผุดตึกสูงดันราคาที่ดินพุ่งทะยาน
เปิดจุดตัด รถไฟฟ้าสายสีส้ม
"รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็น "Heavy Rail" วิ่งเชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของกรุงเทพ รับส่งผู้โดยสารจากนอกเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองคาดว่าจะรับส่งผู้โดยสารได้กว่า 3 แสนคนต่อเที่ยววัน"
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ทางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
คู่สัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์- มีนบุรี(สุวิทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร จำนวน 29 สถานี มูลค่า1.4 แสนล้านบาท
ล่าสุดอยู่ระหว่างเริ่มต้นก่อสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) มีความก้าวหน้าในภาพรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2567 ที่ 1.9% โดยเป็นไปตามแผนงาน ขณะสายสีส้มส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ) ก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ100%
โดยทาง BEM คาดการณ์ว่า ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกจะเปิดให้บริการเป็นของขวัญปีใหม่ ปี2570 หรือเร็วกว่าแผนเดิม ที่รฟม.กำหนดไว้ที่ปี2571
จุดเด่นของรถไฟฟ้าเส้นนี้ เป็น "Heavy Rail" วิ่งเชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์และสิ้นสุดที่สถานีแยกร่มเกล้าที่จะช่วย รับส่งผู้โดยสารจากนอกเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะรับส่งผู้โดยสารได้กว่า 3 แสนคนต่อเที่ยววัน
ที่เป็นไฮไลต์ ยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น มากที่สุดถึง 8 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีแดง สายสีเขียว แอร์พอร์ตลิงก์ สายสีเทา สายสีน้ำตาล สายสีเหลืองและสายสีชมพู ไล่ตั้งแต่ ปลายทาง สายสีส้มตะวันตก สถานีบางขุนนนท์ เชื่อมต่อ 2เส้นทาง สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) และสายสีแดง ตามด้วย สถานีราชเทวีเชื่อมต่อกับสายสีเขียว (สายสุขุมวิท) ส่วนสถานีราชปรารถ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิงก์
ขณะสถานีศิริราช เชื่อมกับสายสีแดง ส่วนสายสีส้มส่วนตะวันออก เริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯเชื่อมกับ สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ศูนย์วัฒนธรรมฯหัวลำโพง) สถานีวัดพระราม 9 เชื่อมกับ สายสีเทา( วัชรพล-ทองหล่อ) ตามด้วย สถานีมีนบุรี เชื่อมกับ สายสีชมพู(ศูนย์ราชการนนทบุรี-วัดพระศรีมหาธาตุมีนบุรี) สถานีแยกลำสาลี เชื่อมกับ สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)และ สายสีน้ำตาล(แคราย-ลำสาลี) จุดพลุจุดตัดหรือจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง และเปิดพื้นที่พัฒนารอบสถานีที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่4) กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินรองรับ ความหนาแน่น ตึกสูงเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรม มิกซ์ยูส ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับสูง ส่วนการพัฒนาของภาคเอกชน เริ่มเห็นกันเนืองแน่นแล้วในหลายทำเลศักยภาพ
นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ (Property DNA) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า การที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย- บางขุนนนท์) เริ่มการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะมีความคืบหน้าเพียง 1.90% ณ สิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2567 ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพราะสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี) ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% รอเพียงการหาผู้รับผิดชอบการเดินรถไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งก็ได้แล้วหลังจากที่มีการอนุมัติการก่อสร้างฝั่งตะวันตก
ดังนั้น เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกหนึ่งเส้นทางที่ผ่านใจกลางเมืองในแนวนอนจากทิศตะวันออกไปตะวันตกอย่างแท้จริงจะมีกำหนดเปิดให้บริการที่ชัดเจนแล้ว คือ เส้นทางสายสีส้มฝั่งตะวันออกจะเปิดบริการปีพ.ศ.2571 ส่วนฝั่งตะวันตกจะเปิดบริการปีพ.ศ.2573 หรือมีความเป็นไปได้ที่ฝั่งตะวันออกจากเปิดให้บริการในปีพ.ศ.2570 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะตลอดแนวเส้นทางสายสีส้มฝั่งตะวันออกมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวถนนรามคำแหงซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่สายสีส้มฝั่งตะวันออกผ่านเกือบตลอดทั้งเส้นทาง
การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกอาจจะเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่ที่อยู่ตามแนวถนนรามคำแหง เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมากเข้าไปซื้อที่ดิน และพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมากตั้งแต่ช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ แม้ว่าจะชะลอตัวไปบ้างในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะภาวะเศรษฐกิจรวมไปถึงรอความชัดเจนในเรื่องของปีเปิดให้บริการ และรอความชัดเจนในเรื่องของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อศักยภาพการพัฒนาที่ดินพอสมควร เนื่องจากพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มบางพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของศักยภาพในการพัฒนาที่จะมากขึ้นทั้งงในพื้นที่ตามแนวถนนรามคำแหง ต่อเนื่องไปถึงถนนรามอินทรา และพื้นที่รอบๆ สถานีมีนบุรีซึ่งเป็นปลายทางของสายสีส้มและเป็นสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู
การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุด คือ เรื่องของจำนวนโครงการคอนโดมิเนียมที่มีมากขึ้นในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มโดยเฉพาะฝั่งตะวันออกที่เป็นพื้นที่ใหม่มีที่ดินที่สามารถพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้อีกมากโดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม โดยจำนวนคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ตั้งแต่ปีพ.ศ.2552 เป็นต้นมามีทั้งหมดประมาณ 37,160 ยูนิต และเกือบทั้งหมดนั้นอยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความชัดเจนมาก่อนฝั่งตะวันตก และเป็นพื้นที่ที่มีที่ดินเหลือขายหรือที่ดินที่สามารถพัฒนาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม แต่ที่น่าสนใจ คือ ก่อนหน้านี้มีการลงทุนหรือเข้าไปซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการหลายรายแต่อาจจะมีการเปิดขายหรือเห็นการพัฒนาไม่มากนัก ที่ดินบางแปลงที่ก่อนหน้านี้ยังคงรอความชัดเจนในเรื่องกำหนดเปิดให้บริการของสายสีส้มตะวันออกจึงอาจจะเริ่มเปิดเผยโครงการออกมามากขึ้นหลังจากนี้
ขณะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะการพัฒนาเต็มทุกพื้นที่แล้ว แต่ในอนาคตอาจทุบทิ้งอาคารเก่า และก่อสร้างสร้างใหม่ให้ทันสมัยขึ้นก็เป็นได้
"รถไฟฟ้าสายสีส้มเป็น "Heavy Rail" วิ่งเชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของกรุงเทพ รับส่งผู้โดยสารจากนอกเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองคาดว่าจะรับส่งผู้โดยสารได้กว่า 3 แสนคนต่อเที่ยววัน"
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) บริษัท ทางด่วน และรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM
คู่สัญญาสัมปทาน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วง บางขุนนนท์- มีนบุรี(สุวิทวงศ์) ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร จำนวน 29 สถานี มูลค่า1.4 แสนล้านบาท
ล่าสุดอยู่ระหว่างเริ่มต้นก่อสร้างงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตก (บางขุนนนท์- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย) มีระยะทาง 13.4 กิโลเมตร จำนวน 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) มีความก้าวหน้าในภาพรวม ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2567 ที่ 1.9% โดยเป็นไปตามแผนงาน ขณะสายสีส้มส่วนตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ) ก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ100%
โดยทาง BEM คาดการณ์ว่า ในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกจะเปิดให้บริการเป็นของขวัญปีใหม่ ปี2570 หรือเร็วกว่าแผนเดิม ที่รฟม.กำหนดไว้ที่ปี2571
จุดเด่นของรถไฟฟ้าเส้นนี้ เป็น "Heavy Rail" วิ่งเชื่อมโยงฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร โดยมีแนวเส้นทางเริ่มต้นที่สถานีบางขุนนนท์และสิ้นสุดที่สถานีแยกร่มเกล้าที่จะช่วย รับส่งผู้โดยสารจากนอกเมืองเข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวกรวดเร็ว คาดการณ์ว่าจะรับส่งผู้โดยสารได้กว่า 3 แสนคนต่อเที่ยววัน
ที่เป็นไฮไลต์ ยังเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายอื่น มากที่สุดถึง 8 เส้นทาง ได้แก่ สายสีน้ำเงิน สายสีแดง สายสีเขียว แอร์พอร์ตลิงก์ สายสีเทา สายสีน้ำตาล สายสีเหลืองและสายสีชมพู ไล่ตั้งแต่ ปลายทาง สายสีส้มตะวันตก สถานีบางขุนนนท์ เชื่อมต่อ 2เส้นทาง สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ท่าพระ) และสายสีแดง ตามด้วย สถานีราชเทวีเชื่อมต่อกับสายสีเขียว (สายสุขุมวิท) ส่วนสถานีราชปรารถ เชื่อมกับแอร์พอร์ตลิงก์
ขณะสถานีศิริราช เชื่อมกับสายสีแดง ส่วนสายสีส้มส่วนตะวันออก เริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯเชื่อมกับ สายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-ศูนย์วัฒนธรรมฯหัวลำโพง) สถานีวัดพระราม 9 เชื่อมกับ สายสีเทา( วัชรพล-ทองหล่อ) ตามด้วย สถานีมีนบุรี เชื่อมกับ สายสีชมพู(ศูนย์ราชการนนทบุรี-วัดพระศรีมหาธาตุมีนบุรี) สถานีแยกลำสาลี เชื่อมกับ สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)และ สายสีน้ำตาล(แคราย-ลำสาลี) จุดพลุจุดตัดหรือจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง และเปิดพื้นที่พัฒนารอบสถานีที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่4) กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินรองรับ ความหนาแน่น ตึกสูงเพื่อการอยู่อาศัย พาณิชยกรรม มิกซ์ยูส ส่งผลให้ราคาที่ดินขยับสูง ส่วนการพัฒนาของภาคเอกชน เริ่มเห็นกันเนืองแน่นแล้วในหลายทำเลศักยภาพ
นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ (Property DNA) เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า การที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันตก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย- บางขุนนนท์) เริ่มการก่อสร้างอย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะมีความคืบหน้าเพียง 1.90% ณ สิ้นเดือนตุลาคม พ.ศ.2567 ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีของเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม เพราะสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี) ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% รอเพียงการหาผู้รับผิดชอบการเดินรถไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งก็ได้แล้วหลังจากที่มีการอนุมัติการก่อสร้างฝั่งตะวันตก
ดังนั้น เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกหนึ่งเส้นทางที่ผ่านใจกลางเมืองในแนวนอนจากทิศตะวันออกไปตะวันตกอย่างแท้จริงจะมีกำหนดเปิดให้บริการที่ชัดเจนแล้ว คือ เส้นทางสายสีส้มฝั่งตะวันออกจะเปิดบริการปีพ.ศ.2571 ส่วนฝั่งตะวันตกจะเปิดบริการปีพ.ศ.2573 หรือมีความเป็นไปได้ที่ฝั่งตะวันออกจากเปิดให้บริการในปีพ.ศ.2570 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะตลอดแนวเส้นทางสายสีส้มฝั่งตะวันออกมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลงมาก่อนหน้านี้หลายปีแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวถนนรามคำแหงซึ่งเป็นพื้นที่หลักที่สายสีส้มฝั่งตะวันออกผ่านเกือบตลอดทั้งเส้นทาง
การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกอาจจะเห็นได้ชัดเจนในพื้นที่ที่อยู่ตามแนวถนนรามคำแหง เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมากเข้าไปซื้อที่ดิน และพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมากตั้งแต่ช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ แม้ว่าจะชะลอตัวไปบ้างในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะภาวะเศรษฐกิจรวมไปถึงรอความชัดเจนในเรื่องของปีเปิดให้บริการ และรอความชัดเจนในเรื่องของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อศักยภาพการพัฒนาที่ดินพอสมควร เนื่องจากพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มบางพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของศักยภาพในการพัฒนาที่จะมากขึ้นทั้งงในพื้นที่ตามแนวถนนรามคำแหง ต่อเนื่องไปถึงถนนรามอินทรา และพื้นที่รอบๆ สถานีมีนบุรีซึ่งเป็นปลายทางของสายสีส้มและเป็นสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู
การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนที่สุด คือ เรื่องของจำนวนโครงการคอนโดมิเนียมที่มีมากขึ้นในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มโดยเฉพาะฝั่งตะวันออกที่เป็นพื้นที่ใหม่มีที่ดินที่สามารถพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้อีกมากโดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม โดยจำนวนคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ตั้งแต่ปีพ.ศ.2552 เป็นต้นมามีทั้งหมดประมาณ 37,160 ยูนิต และเกือบทั้งหมดนั้นอยู่ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความชัดเจนมาก่อนฝั่งตะวันตก และเป็นพื้นที่ที่มีที่ดินเหลือขายหรือที่ดินที่สามารถพัฒนาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ได้ โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม แต่ที่น่าสนใจ คือ ก่อนหน้านี้มีการลงทุนหรือเข้าไปซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการหลายรายแต่อาจจะมีการเปิดขายหรือเห็นการพัฒนาไม่มากนัก ที่ดินบางแปลงที่ก่อนหน้านี้ยังคงรอความชัดเจนในเรื่องกำหนดเปิดให้บริการของสายสีส้มตะวันออกจึงอาจจะเริ่มเปิดเผยโครงการออกมามากขึ้นหลังจากนี้
ขณะเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะการพัฒนาเต็มทุกพื้นที่แล้ว แต่ในอนาคตอาจทุบทิ้งอาคารเก่า และก่อสร้างสร้างใหม่ให้ทันสมัยขึ้นก็เป็นได้
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ