ธอส.คาดดัชนีอสังหาฟื้นตัวเร็ว
วันที่ : 21 ตุลาคม 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เปิดเผยว่า REIC พบสัญญาณเชิงบวกจากปัจจัยหลายด้านทั้งการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของภาครัฐ อาทิ โครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่เม็ดเงินลงสู่ระบบการบริโภคภายในประเทศ เริ่มฟื้นตัวขึ้นและการเปิดลงทุนในกองทุนวายุภักษ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และการที่ธอส.จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วงท้ายปี
นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในภาวะปัจจุบันไตรมาส 3 ของปี 2567 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 3 มีค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 45.1 ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาส2ของปี2567 ที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 45.2 และลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่ค่าดัชนีเท่ากับ 49.7 โดยต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 ติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 นับ ตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2566 โดยปัจจัยมาจากทิศทางอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้นที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ยอดขายอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตาม REIC พบสัญญาณเชิงบวกจากปัจจัยหลายด้านทั้งการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของภาครัฐ อาทิ โครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่เม็ดเงินลงสู่ระบบการบริโภคภายในประเทศ เริ่มฟื้นตัวขึ้นและการเปิดลงทุนในกองทุนวายุภักษ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และการที่ธอส.จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วงท้ายปี ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกในหลายด้านมากขึ้น สะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นในหลายๆด้านปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ประกอบด้วยด้านผลประกอบการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 42.0 จากระดับ 39.5,ด้านการเปิดโครงการใหม่ และ/หรือเฟสใหม่ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.7 จากระดับ 49.1,ด้านต้นทุนการประกอบการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 40.4 จากระดับ 38.9 การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.6 จากระดับ 48.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการกลุ่มรายกลาง-รายย่อยมีระดับ 41.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ระดับ 34.6 จากสัญญาณดังกล่าวของ REIC ทำให้ ธอส.เชื่อมั่นว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่ากลาง 50.0 เร็วกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณความเชื่อมั่นในมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม REIC พบสัญญาณเชิงบวกจากปัจจัยหลายด้านทั้งการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของภาครัฐ อาทิ โครงการดิจิทัลวอลเล็ตที่เม็ดเงินลงสู่ระบบการบริโภคภายในประเทศ เริ่มฟื้นตัวขึ้นและการเปิดลงทุนในกองทุนวายุภักษ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน และการที่ธอส.จัดทำผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำในช่วงท้ายปี ทำให้เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกในหลายด้านมากขึ้น สะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นในหลายๆด้านปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
ประกอบด้วยด้านผลประกอบการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 42.0 จากระดับ 39.5,ด้านการเปิดโครงการใหม่ และ/หรือเฟสใหม่ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 50.7 จากระดับ 49.1,ด้านต้นทุนการประกอบการเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 40.4 จากระดับ 38.9 การจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 49.6 จากระดับ 48.7 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการกลุ่มรายกลาง-รายย่อยมีระดับ 41.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ระดับ 34.6 จากสัญญาณดังกล่าวของ REIC ทำให้ ธอส.เชื่อมั่นว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าค่ากลาง 50.0 เร็วกว่าที่คาดการณ์ เนื่องจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณความเชื่อมั่นในมุมมองเชิงบวกต่อสถานการณ์ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ