อสังหาฯไทยงานหนักแบกสต๊อกอื้อ
วันที่ : 20 กันยายน 2567
"REIC" ชี้อสังหาริมทรัพย์ไทยงานหนัก แบกสต๊อกเหลือขายมหาศาล ระบุมาตรการอุ้มจากภาครัฐไม่ตรงจุด โชว์ยอดโอน Q2 ยังติดลบ มองเอื้อแค่คอนโดฯ-บ้านมือสอง ผงะ!! ภูเขาหนี้กระจุกกลุ่มเจน Y พบ 80% กู้บ้านไม่ผ่าน ห่วงหนี้จ่อตกชั้นขยับเป็นหนี้เน่ากระหึ่ม
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยถึงชุดข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัย 10 ปีย้อนหลังของประเทศไทย และมุมมองความท้าทายของตลาดในอนาคต ว่า หากพิจารณา 10 ปีย้อนหลัง (ปี 2557-2567) บ้านจดทะเบียนใหม่ทั่วประเทศเฉลี่ยต่อปีกลับมายืนที่ระดับสูง 1.3-1.4 แสนหน่วย ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะ มีเพียงหลุมดำที่จำนวนหดตัวลงไปบ้าง ท่ามกลางคนไทยเจอทั้งสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา, การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกฎเหล็ก ธปท.กำกับการปล่อยสินเชื่อด้วยมาตรการ LTV (เพดานสินเชื่อตามมูลค่าบ้าน)
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ อสังหาริมทรัพย์ไทยยังแบกสต๊อกเหลือขายจำนวนมหาศาล และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต่ำกว่า 3.5 แสนหน่วย โดยที่มูลค่าไต่ระดับขึ้นมา จาก 8.3 แสนล้านเมื่อ 10 ปีก่อน มาอยู่ที่ 1.57 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจากต้นทุนราคาที่ดินที่สูงขึ้น การพัฒนา และราคาซื้อขายที่สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด บางส่วนผู้พัฒนาก็ยอมเฉือนเนื้อตัวเอง ลดกำไร เนื่องจากข้อจำกัดในการเพิ่มราคาทำได้ยากในบางตลาด เพราะกำลังซื้อคนไทยไปไม่ถึง
"ราคาที่อยู่ในกรุงเทพฯ เฉลี่ยโตขึ้น 5.4% ต่อปี แต่การเติบโตของรายได้เฉลี่ยคนไทยต่อหัวรายปีอยู่ที่ 1.4% เท่านั้น ถ้ามีเงินเดือนไม่ถึง 3 หมื่นบาท อยากซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท โอกาสในการกู้ยากมาก แม้รัฐจะออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ผ่านการลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ/การจดจำนอง แต่พบว่าไม่ได้มีผลมากนัก ยอดโอนของไตรมาส 2/2567 ตลาดก็ยังติดลบ 4.5% โดยเฉพาะในกลุ่มที่รัฐสนับสนุนบ้านไม่เกิน 7 ล้านบาท สถิติติดลบทุกโปรดักต์ มาตรการดังกล่าวให้ผลเชิงบวกแค่ในตลาดคอนโดฯ กับบ้านมือสองเท่านั้น" นายวิชัยกล่าว
นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวว่า ขณะนี้คนไทยกำลังเผชิญกับปัญหารายได้กับรายจ่ายไม่สอดคล้องกัน แต่ที่น่ากังวลกว่าคือ มีคนไทยจำนวนมากที่มีหนี้มากกว่ารายได้ ซึ่งก็ล้วนแล้วมาจากปัญหาเศรษฐกิจแทบทั้งสิ้น ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีภาระหนี้สูงมากเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยกว่า 6 แสนบาทต่อครัวเรือน
"สิ่งที่ต้องติดตามคือ ในอนาคตคนไทยจะขอสินเชื่อบ้านได้ยากขึ้น เพราะปัจจุบันคนมักเลือกเป็นหนี้ส่วนบุคคลและซื้อรถก่อนซื้อบ้าน ด้วยจำนวนมูลหนี้ที่เยอะ ขณะที่คุณภาพของลูกหนี้ค่อยๆ แย่ลง" นายเผด็จกล่าว
อย่างไรก็ดี เครดิตบูโรพบ ข้อมูลว่า หนี้กลุ่ม SM (ค้างชำระหนี้เกิน 30 วัน แต่ไม่ถึง 90 วัน) แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอันดับ 1 สินเชื่อส่วนบุคคล/บัตรเครดิต, อันดับ 2 สินเชื่อบ้าน และอันดับ 3 สินเชื่อรถ ซึ่งพบอีกว่าภูเขาหนี้กระจุกตัวในคนกลุ่มเจน Y โดยพบด้วยว่าการขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่านการอนุมัติสูงถึง 80% มากกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว และสิ่งที่น่า กังวลคือ ในอนาคตแนวโน้มของหนี้กลุ่ม SM จะลดลง แต่จะเปลี่ยนเป็นหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น.
ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ อสังหาริมทรัพย์ไทยยังแบกสต๊อกเหลือขายจำนวนมหาศาล และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่ต่ำกว่า 3.5 แสนหน่วย โดยที่มูลค่าไต่ระดับขึ้นมา จาก 8.3 แสนล้านเมื่อ 10 ปีก่อน มาอยู่ที่ 1.57 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจากต้นทุนราคาที่ดินที่สูงขึ้น การพัฒนา และราคาซื้อขายที่สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด บางส่วนผู้พัฒนาก็ยอมเฉือนเนื้อตัวเอง ลดกำไร เนื่องจากข้อจำกัดในการเพิ่มราคาทำได้ยากในบางตลาด เพราะกำลังซื้อคนไทยไปไม่ถึง
"ราคาที่อยู่ในกรุงเทพฯ เฉลี่ยโตขึ้น 5.4% ต่อปี แต่การเติบโตของรายได้เฉลี่ยคนไทยต่อหัวรายปีอยู่ที่ 1.4% เท่านั้น ถ้ามีเงินเดือนไม่ถึง 3 หมื่นบาท อยากซื้อบ้านราคา 7 ล้านบาท โอกาสในการกู้ยากมาก แม้รัฐจะออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ผ่านการลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ/การจดจำนอง แต่พบว่าไม่ได้มีผลมากนัก ยอดโอนของไตรมาส 2/2567 ตลาดก็ยังติดลบ 4.5% โดยเฉพาะในกลุ่มที่รัฐสนับสนุนบ้านไม่เกิน 7 ล้านบาท สถิติติดลบทุกโปรดักต์ มาตรการดังกล่าวให้ผลเชิงบวกแค่ในตลาดคอนโดฯ กับบ้านมือสองเท่านั้น" นายวิชัยกล่าว
นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) กล่าวว่า ขณะนี้คนไทยกำลังเผชิญกับปัญหารายได้กับรายจ่ายไม่สอดคล้องกัน แต่ที่น่ากังวลกว่าคือ มีคนไทยจำนวนมากที่มีหนี้มากกว่ารายได้ ซึ่งก็ล้วนแล้วมาจากปัญหาเศรษฐกิจแทบทั้งสิ้น ทำให้ปัจจุบันคนไทยมีภาระหนี้สูงมากเป็นประวัติการณ์ เฉลี่ยกว่า 6 แสนบาทต่อครัวเรือน
"สิ่งที่ต้องติดตามคือ ในอนาคตคนไทยจะขอสินเชื่อบ้านได้ยากขึ้น เพราะปัจจุบันคนมักเลือกเป็นหนี้ส่วนบุคคลและซื้อรถก่อนซื้อบ้าน ด้วยจำนวนมูลหนี้ที่เยอะ ขณะที่คุณภาพของลูกหนี้ค่อยๆ แย่ลง" นายเผด็จกล่าว
อย่างไรก็ดี เครดิตบูโรพบ ข้อมูลว่า หนี้กลุ่ม SM (ค้างชำระหนี้เกิน 30 วัน แต่ไม่ถึง 90 วัน) แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอันดับ 1 สินเชื่อส่วนบุคคล/บัตรเครดิต, อันดับ 2 สินเชื่อบ้าน และอันดับ 3 สินเชื่อรถ ซึ่งพบอีกว่าภูเขาหนี้กระจุกตัวในคนกลุ่มเจน Y โดยพบด้วยว่าการขอสินเชื่อบ้านไม่ผ่านการอนุมัติสูงถึง 80% มากกว่าปีที่แล้วเกือบเท่าตัว และสิ่งที่น่า กังวลคือ ในอนาคตแนวโน้มของหนี้กลุ่ม SM จะลดลง แต่จะเปลี่ยนเป็นหนี้เสียเพิ่มมากขึ้น.
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ