อสังหาฯไทยครึ่งปีแรกยังทรงตัว "เหนือ-อีสาน" ซัปพลายปรับตัวสู่บาลานซ์
Loading

อสังหาฯไทยครึ่งปีแรกยังทรงตัว "เหนือ-อีสาน" ซัปพลายปรับตัวสู่บาลานซ์

วันที่ : 16 กันยายน 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งแรกปี 67 ของจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ และลำพูน พบว่าในภาพรวมมีที่อยู่อาศัยพร้อมขายจำนวนหน่วยลดลงร้อยละ -0.6 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4
         อานิสงส์ท่องเที่ยวปลุกตลาดใต้ "ภูเก็ต" โตแรง

         ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยที่ยังอยู่ระหว่างขายในช่วงครึ่งแรกปี 67 ของจังหวัดภาคเหนือ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ และลำพูน พบว่าในภาพรวมมีที่อยู่อาศัยพร้อมขายจำนวนหน่วยลดลงร้อยละ -0.6 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4 จำนวนหน่วยขายได้ใหม่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.5 ส่งผลให้จำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายในพื้นที่มีสัดส่วนลดลงร้อยละ -2.1 คาดการณ์ภาพรวมตลอดปี 2567 จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนประมาณ 3,148 หน่วย มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่จำนวน 3,522 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 และหน่วยเหลือขายจะลดลงร้อยละ -3.3 ทั้งหมดนี้เป็นแรงผลักจากการฟืนตัวของตลาดที่อยู่อาศัยจังหวัดเชียงใหม่เป็นหลัก

         ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า จากการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยภาคเหนือ 5 จังหวัด ซึ่ง REIC ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 57 - ปัจจุบัน พบว่าสถานการณ์ในช่วงครึ่งแรก ปี 67 ภาพรวมมีที่อยู่อาศัยพร้อมขายสะสมจำนวนทั้งสิ้น 16,882 หน่วย จำนวนหน่วยลดลงร้อยละ -0.6 มีมูลค่า 68,056 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 โดยแบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 14,436 หน่วย ลดลงร้อยละ -7.2 มูลค่า 60,540 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -4.8 และโครงการอาคารชุดจำนวน 2,446 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.1 มูลค่า 7,516 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.1 จำนวนดังกล่าวร้อยละ 62.2 เป็นที่อยู่อาศัยเสนอขายในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีจำนวน 10,507 หน่วย มูลค่ารวม 45,556 ล้านบาท ร้อยละ 16.3 อยู่ในจังหวัดเชียงราย จำนวน 2,758 หน่วย มูลค่า 10,872 ล้านบาท ร้อยละ 14.0 อยู่ในจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 2,362 หน่วย มูลค่า 7,700 ล้านบาท ร้อยละ 5.5 อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์จำนวน 933 หน่วย มูลค่า 3,014 ล้านบาท และร้อยละ 1.9 อยู่ในจังหวัดลำพูนจำนวน 322 หน่วยมูลค่า 915 ล้านบาท

         โดยโครงการที่เปิดขายใหม่ ใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ช่วงครึ่งแรกปี 67 มีจำนวน 1,472 หน่วย ลดลงร้อยละ -11.0 มูลค่า 6,255 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -1.9 ประกอบด้วยโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 701 หน่วย ลดลงร้อยละ -57.6 มูลค่า 3,702 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -42.0 โครงการอาคารชุดจำนวน 771 หน่วย มูลค่า 2,554 ล้านบาท ซึ่งเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าไม่มีโครงการอาคารชุดเปิดขายใหม่เลยแม้แต่โครงการเดียว

         สำหรับยอดที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ในภาพรวม 5 จังหวัดภาคเหนือช่วงครึ่งแรกปี 2567 พบว่ามีจำนวน 1,921 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 มูลค่า 7,319 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 1,299 หน่วย ลดลงร้อยละ -16.0 มูลค่า 5,620 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -12.0 และโครงการอาคารชุดจำนวน 622 หน่วย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 288.8 มูลค่า 1,699 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 293.0

         ทั้งนี้หากพิจารณารายละเอียดตามประเภทที่อยู่อาศัยจะพบว่า อัตราดูดซับต่อเดือนทุกประเภท ทุกระดับราคา ปรับขึ้นจากร้อยละ 1. ในครึ่งหลังปี 66 มาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในครึ่งแรกปี 67 แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ปี 63- ปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 โดยอัตราดูดซับต่อเดือนประเภทโครงการบ้านจัดสรร มีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยโดยเพิ่มจาก ร้อยละ 1.4 ในครึ่งหลังปี 66 เป็นร้อยละ 1.5 ในครึ่งแรกปี 67 แต่ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ระหว่างปี 63 ถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ในช่วงร้อยละ 1.8 ขณะที่อัตราดูดซับโครงการอาคารชุดมีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปรับเพิ่มจากร้อยละ 1.8 ในครึ่งหลังปี 66 เป็นร้อยละ 4.2 ในครึ่งแรกปี 67 โดยสูงกว่าอัตราเฉลี่ยในช่วงปี 63 ถึงปัจจุบันโดยมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.6

         จากการที่ภาคเหนือที่ยอดขายได้ใหม่เพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกปี 67 ได้ทำให้ที่อยู่อาศัยเหลือขายใน 5 จังหวัดภาคเหนือมีจำนวนทั้งสิ้น 14,961 หน่วย ลดลงร้อยละ -2.1 มูลค่า 60,737 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -0.4 แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 13,137 หน่วย ลดลงร้อยละ -6.3 มูลค่า 54,920 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -3.9 ขณะที่โครงการอาคารชุดจำนวน 1,824 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.6 มูลค่า 5,817 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.5

         จำนวนดังกล่าวร้อยละ 62.3 เป็นที่อยู่อาศัยเหลือขายในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 9,316 หน่วย มูลค่ารวม 40,476 ล้านบาท ร้อยละ 17.8 อยู่ในจังหวัดเชียงรายจำนวน 2,656 หน่วย มูลค่า 10,499 ล้านบาท ร้อยละ 15.0 อยู่ในจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 2,243 หน่วย มูลค่า 7,311 ล้านบาท ร้อยละ 3.3 อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 496 หน่วย มูลค่า 1,786 ล้านบาท และร้อยละ 1.7 อยู่ในจังหวัดลำพูน จำนวน 250 หน่วย มูลค่า 665 ล้านบาท

         สำหรับตลาดที่อยู่อาศัยในจังหวัดเชียงใหม่ สรุปโดยแล้วภาพรวมพบว่าในครึ่งแรกปี 2567 มีที่อยู่อาศัยเสนอขายทั้งสิ้น 10,507 หน่วยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5.9 มูลค่ารวม 45,556 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 โดยมีจำนวนหน่วยเป็นโครงการบ้านจัดสรร จำนวน 8,588 หน่วยลดลงร้อยละ -0.1 มูลค่า 39,378 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เป็นโครงการอาคารชุดจำนวน 1,919 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.6 มูลค่า 6,178 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

         โดยมีโครงการเปิดตัวใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน 861 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.6 มูลค่าโครงการรวม 4,535 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.0 ซึ่งเป็นการลดลงของโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 532 หน่วย หรือร้อยละ -6.3 มูลค่าโครงการรวม 3,211 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 และเป็นโครงการอาคารชุดจำนวน 329 หน่วย มูลค่าโครงการรวม 1,324 ล้านบาท ซึ่งเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าไม่มีการเปิดขายโครงการอาคารชุดเลย

         ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่จำนวนทั้งสิ้น 1,191 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.4 มูลค่ารวม 5,080 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.5 เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 962 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.3 มูลค่า 4,483 ล้านบาท มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.4 เป็นโครงการอาคารชุดจำนวน 229 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.7มูลค่า 597 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.0

         อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำนวนโครงการเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดมากกว่าหน่วยขายได้ใหม่ ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยคงค้างเหลือขายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ยังคงมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 9,316 หน่วย จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 มูลค่าโครงการ 40,476 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 7,626 หน่วย มูลค่า 34,895 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลงร้อยละ -4.0 มูลค่าลดลงร้อยละ - 1.1 เป็นโครงการอาคารชุดจำนวน 1,690 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.3 มูลค่า 5,581 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.6

         ทั้งนี้ REIC คาดการณ์ว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือในปี 67 นี้ จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวนทั้งสิ้น 3,148 หน่วย เป็นโครงการบ้านจัดสรร 2,638 หน่วย โครงการอาคารชุด 510 หน่วย ขณะที่คาดว่าจะมีโครงการขายได้ใหม่จำนวน 3,522 หน่วย เป็นโครงการบ้านจัดสรร 3,059 หน่วย และโครงการอาคารชุด 463 หน่วย รวมถึงคาดว่าอัตราดูดซับต่อเดือนทุกประเภท จะยังคงทรงตัวเช่นเดียวกับปี 2566 โดยอยู่ในระดับ 1.6 ส่งผลให้มีที่อยู่อาศัยรอการขายโครงการค้างมีจำนวนรวม 15,067 หน่วย แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรร 13,476 หน่วย และโครงการอาคารชุด 1,590 หน่วย ลดลงร้อยละ -3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับของปี 66

         อสังหาฯอีสานรับอานิสงส์ท่องเที่ยว

         ดร.วิชัย กล่าวว่า ผลการสำรวจตลาดอสังหาฯ 5 ในภาคอีสาน พบว่าจังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น ยังคงเป็นตลาดหลักของอสังหาฯในภาคอีสาน โดย ตลาดบ้านจัดในภาคอีสาน มีหน่วยเสนอขายรวม 11,000 หนาวย มูลค่ารวมกว่า 42,300 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 50% หรือประมาณ 5,077 หน่วยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา คิดเป็นมูลค่ารวม 20,000 ล้านบาท ขณะที่ตลาดขอนแก่นมีหน่วยเสนอขาย 3,000 หน่วย มูลค่า 12,500 ล้านบาท ส่วนที่เหลือกระจายตัวอยู่ในจังหวัดอุดรธานี 1,260 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 4,500 ล้านบาท อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี 1,100 หน่วย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,500 ล้านบาท ขณะที่ในจังหวัดมหาสารคามมีหน่วยเสนอขายอยู่ที่ 615 หน่วยคิดคิดเป็นมูลค่า 1,900 ล้านบาท

         ในส่วนของคอนโดฯจะกระจายตัวอยู่ในจังหวัดขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดหลัก มีจำนวนหน่วยเสนอขายรวม 2,527 หน่วยมูลค่า 7,670 ล้านบาท โดยกระจายอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา 1,033 หน่วย มูลค่า 5,200 ล้านบาท อยู่ในจังหวัดขอนแก่น 1,443 หน่วย มูลค่า 2,470 ล้านบาท จากจำนวนและมูลค่า หน่วยเสนอขายที่อยู่อาศัยในตลาด อสังหาฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 67 พบว่า โครงการ ที่อยู่อาศัยในตลาดอสังหาฯ ภาคอีสานที่มีการพัฒนามากที่สุด ยังคงเป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว รองลงมาเป็นบ้านแฝด และทาวน์เฮาส์ โดยทาวน์เฮาส์ จะกระจุกตัวอยู่ในจังหวัดขอนแก่นมากที่สุด ขณะที่คอนโดฯจะกระจุกตัวอยู่ใน 2 จังหวัดหลัก คือ นครราชสีมาและขอนแก่น

         ส่วนสถานการณ์ด้านยอดขายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มีโครงการบ้านจัดสรรที่ขายได้ใหม่ 1,748 หน่วย โดย นครราชสีมา มีหน่วยขายได้มากที่สุด 767 หน่วย มูลค่า 3,000 ล้านบาท คิดเป็น 43% ของบ้านจัดสรรที่เสนอขายใน 5 จังหวัดหลักของภาคอีสาน ขณะที่จังหวัดขอนแก่นขายได้ 444 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 1,700 ล้านบาท อุดรธานีขายได้ 200 หน่วย คิดเป็น 1,000 ล้านบาท อุบลราชธานี ขายได้ 170 หน่วย คิดเป็น 650 ล้านบาท มหาสารคามขายได้ 116 หน่วย มูลค่า 400 ล้านบาท ส่วนคอนโดฯ จังหวัดขอนแก่นขายได้ 236 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 400 ล้านบาท ในจังหวัดโคราชขายได้ 227 หน่วย มูลค่าใกล้เคียงกับขอนแก่น

         สำหรับทำในเมือง และอำเภอรอบนอก จังหวัดนครราชสีมาผู้พัฒนาโครงการหลักๆ ยังคงเป็นบริษัทอสังหาฯ ในพื้นที่ โดยมีสัดส่วนกว่า 84% ส่วนที่เหลือเป็นผู้พัฒนาโครงการจากส่วนกลาง โดยผู้ประกอบการจากส่วนกลาง ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมากจะพัฒนาโครงการประเภททาวน์เฮาส์และบ้านเดี่ยวเป็นหลัก โดยมีซัปพลายรวมที่เปิดขายอยู่ในพื้นที่ประมาณ 5,077 หน่วย คิดเป็นมูลค่าประมาณ 19,948 ล้านบาท

         ดร.วิชัยกล่าวว่า ทิศทางตลาดอสังหาฯ ภาคอีสาน โดยสรุปแล้ว ตลาดในหัวเมืองหลักเช่นนครราชสีมาและขอนแก่นจะมีความเหมือนกันแต่อาจจะมีความแตกต่างเล็กน้อย โดยเฉพาะโคราชนั้นในส่วนของตลาดที่อยู่ในเมืองมีการขยายตัวได้ดีขึ้นขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยในโซนเขาใหญ่มีความคึกคักมากขึ้นหลังจากที่การท่องเที่ยวได้กลับมาฟื้นตัวอย่างเต็มที่ ทำให้โครงการที่อยู่อาศัยประเภทบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมถูกระบายออกไปค่อนข้างมาก ขณะเดียวกันโครงการที่มีการเปิดตัวใหม่ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้น

         ขณะที่จังหวัดขอนแก่นคอนโดมิเนียมถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันตลาดอสังหาฯ ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดหลักยังคงเป็นกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว โดยมีบ้านแฝดเข้ามาเสริมส่วนกลุ่มทาวน์เฮาส์ยังคงขยายตัวได้ดี

         ส่วนจังหวัดอุดรธานี อุบลราชธานี และ มหาสารคาม สถานการณ์ตลาดอาจจะทรงตัวหรือหมดตัวลงเล็กน้อย ในช่วงก่อนหน้าแต่ขณะนี้เริ่มมีสัญญาณของการฟื้นตัวให้เห็นบ้างแล้ว สังเกตได้จากยอดการ ซื้อขายที่อยู่อาศัยที่มีความต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตาม ตลาดอสังหาฯ ภาคอีสานจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของหน่วย เหลือขายที่ยังไม่สามารถระบายออกไปได้ ซึ่งจะกลายเป็นต้นทุนของ ผู้ประกอบการ ดังนั้นในการเติมซัปพลายใหม่ควรมีการระมัดระวังในแต่ละเซกเมนต์

         "อย่างไรก็ตามในปีนี้ถือว่าเป็นปีแห่งโอกาสของบ้านสร้างเสร็จ ที่ยังไม่สามารถระบายออกไปได้เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้น อสังหาฯซึ่งครอบคลุมไปถึงกลุ่มบ้าน 3-7 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการสามารถหยิบนำเอามาตรการตรงนี้มาช่วยเสริมในด้านการตลาด และการขายได้ ซึ่งในขณะนี้ก็ยังเหลือเวลาจะทำตลาดได้อีกกว่า 6 เดือนด้วยกัน"

         นายนราทร ธานีพิทักษ์ ที่ปรึกษานายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตลาดที่อยู่อาศัยในโคราชปัจจุบันการระบายออกของซัปพลายเริ่มดีขึ้นขณะที่ผู้ประกอบการในพื้นที่เองก็มีการชะลอการลงทุนโครงการใหม่เพื่อบาลานซ์ระหว่างซัปพลายและดีมานด์ของตลาดทำให้สถานการณ์ตลาด ณ ปัจจุบันเริ่มปรับตัวดีขึ้น

         โดยภาพรวมของเศรษฐกิจโคราชแล้วกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีสัดส่วนในการผลักดันจีดีพีในพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 29% ขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยก็มีการขยายตัวล้อไปกับ ภาคอุตสาหกรรม และ การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรม แต่นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมาตลาดที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรมลงไปค่อนข้างมาก ขณะที่รายได้ภาคเกษตรกรรมก็ยังทรงตัว ทำให้ตลาด ไม่ดีเท่าที่ควรแต่หลังจากได้รับปัจจัยบวกภาคการท่องเที่ยวฟื้นทำให้ตลาดในบางพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ท่องเที่ยวเช่นเขาใหญ่กลับมาครึกครื้นมากขึ้น

         "สัญญาณการชะลอตัวที่ชัดเจนในตลาดนครราชสีมาเริ่มมีการชะลอตัว เห็นตั้งแต่ในปี 2565 นครราชสีมามีโรงงานดำเนินการอยู่ 1760 62 แห่งมีคนงาน 146,147 คนและเงินทุนหมุนเวียน 362,574.2 ล้านบาทแต่ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมามีโรงงาน เปิดให้บริการเหลืออยู่ 1,673 แห่ง จำนวนคนงานลดลงเหลือ 103,376 คน ขณะที่เงินทุน หมุนเวียนลดลงมาอยู่ที่ 212,953.57 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าเงินทุนหมุน เวียนในระบบหายไปกว่า 100,000 ล้านบาท ขณะที่จำนวนแรงงานในพื้นที่หายไปถึง 40,000 คนซึ่งสะท้อนถึงดีมานด์ในตลาดที่หายไป เป็นสัญญาณเตือนให้ผู้ประกอบการในจังหวัดนครราชสีมาชะลอการพัฒนาโครงการใหม่ และหันมาเน้นระบายสต๊อกสินค้าที่สร้างเสร็จแล้วจึงมีผลให้ ณ ปัจจุบันตลาด สามารถปรับสมดุลได้ดีมากขึ้น นี่คือเหตุผลที่ทำให้ตลาดอสังหาฯในครึ่งแรกของปีนี้มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น"

         อย่างไรก็ตามเราคาดการณ์ว่าปีนี้อุตสาหกรรมในภาคการเกษตรน่าจะขยายตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 4.4 ตามปริมาณการผลิตพืชเศรษฐกิจ

         และปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้นภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะขยายตัวอยู่ที่

         ประมาณร้อยละ 0.6 ตามปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากดีมานด์

         ในประเทศและต่างประเทศส่วนภาคการบริการคาดว่าจะ

         ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ตามยอดขายปลีกและขายส่งรวมถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยว ทำให้คาดการณ์

         ว่าจะมีการขยายตัวในฝั่งของดีมานด์และซัปพลายที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การเติบโตของประชากรและความต้องการที่อยู่อาศัยในจังหวัดนครราชสีมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนให้ตลาดที่อยู่อาศัยอาศัยประชากรในจังหวัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งจากการเกิดและการย้ายถิ่นฐานจากจังหวัดใกล้เคียงทำให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการขยายพื้นที่อยู่อาศัยจากตัวเมืองไปยังพื้นที่ชานเมือง

         อสังหาฯใต้ขยายตัวแรงรับดีมานด์ท่องเที่ยว

         ดร.วิชัยกล่าว ผลการสำรวจตลาดอสังหาฯภาคใตใน 4 จังหวัดหลัก พบว่าคอนโดฯยังเป็นประเภทที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญในการ ขับเคลื่อนตลาดอสังหาฯ โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 67 พบว่าอสังหาฯภาคใต้ มีคอนโดฯที่อยู่ระหว่างการขาย 12,104 หน่วย มูลค่ากว่า 98,000 ล้านบาท ซึ่งภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาคอนโดฯมากที่สุด โดยมีคอนโดฯที่พัฒนาอยู่ใน ภูเก็ต 10,544 หน่วยคิดเป็นมูลค่า 94,582 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออยู่ในสงขลา 1,200 หน่วย และอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 290 หน่วย

         ขณะที่กลุ่มที่โครงการบ้านจัดสรร มีจำนวนรวม 10,380 หน่วย มูลค่ารวม 49,300 ล้านบาท เป็นโครงการที่พัฒนาอยู่ในจังหวัดภูเก็ต 2,674 หน่วย อยู่ในจังหวัดสงขลา 3,655 หน่วย อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ ธานี 2,697 หน่วย และอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 1,356 หน่วย โดย 4 จังหวัดภาคใต้มี โครงการบ้านเดี่ยวที่อยู่ระหว่างการขาย 5,771 หน่วย ในจำนวนนี้เป็นการขายในจังหวัดภูเก็ต 1,099 หน่วย อยู่ใน สงขลา 1,836 หน่วย อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1,901 หน่วย และในจังหวัดนครศรีธรรมราช 935 หน่วย

         ส่วนบ้านแฝด ที่เปิดตัวและอยู่ระหว่างการขายในครึ่งแรกของ ปี 67 พบว่ามีจำนวนหน่วยเสนอขายรวม 1,767 หน่วย เป็นหน่วย ที่อยู่ระหว่างการขายในจังหวัดภูเก็ต 506 หน่วยสงขลา 957 หน่วยสุราษฎร์ธานี 170 หน่วย นครศรีธรรมราช 134 หน่วย ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยประเภททาวน์เฮาส์ ที่อยู่ระหว่างการขายรวม 2,555 หน่วย แบ่งเป็นอยู่ในภูเก็ต 1,040 หน่วย อยู่ในสงขลา 724 หน่วย อยู่ในสุราษฎร์ธานี 609 หน่วยอยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช 182 หน่วย สำหรับอัตราการดูดซับ หรือการระบายออกของซัปพลายในตลาด อสังหาฯ ทั้ง 4 จังหวัดในภาคใต้ คือ จังหวัดภูเก็ต โดยในส่วนของ คอนโดฯกว่า 90% เป็นยอดขายมาจากภูเก็ต เช่นเดียวกับโครงการ แนวราบซึ่งมาจากภูเก็ตถึง 90% เช่นกัน

         ดร.วิชัยกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โดยรวม ของโครงการจัดสรรในภาคใต้ นับตั้งแต่ในช่วงปลายปี 66 ต่อเนื่องมาจนถึงครึ่งปีแรกของปี 67 บ้านเดี่ยวเป็นกลุ่มที่มีการเปิดตัวมากที่สุดโดยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 66 มีการเปิดตัวโครงการบ้านเดี่ยว 194 หน่วย ขณะที่ในครึ่งปีแรกของปี 67 มีการเปิดตัวบ้านเดี่ยวเพิ่ม 156 หน่วย ในขณะที่ยอดขายในช่วงครึ่งแรกของปี 67 มียอดขาย 260 หน่วย ทำให้หน่วยเหลือขายสะสมในตลาดมีจำนวนที่ลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปัจจุบันมีซัปพลายสะสมในตลาดเหลืออยู่เพียง 1,096 หน่วย

         โดยสรุปแล้วภาพรวมของตลาดภาคใต้ทั้ง 4 จังหวัด มีพัฒนาการที่ดีมากหลังจากได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ส่งผลให้อุตสาหกรรมและธุรกิจในทุกๆ ด้านเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยซึ่งมียอดขาย และซัปพลายที่มีความสมดุลโดยมีกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมเป็นเครื่องจักรหลักที่ ผลักดันตลาดให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการ ขยายตัวของกลุ่มที่อยู่อาศัยประเภทวิลล่าหรือกลุ่มบ้านหรู ซึ่งมียอดขายที่มาก

         "แต่อย่างไรก็ตามต้องเฝ้าระวังในเรื่องของซัพพลายที่ไม่สามารถระบายออกไปได้ เนื่องจากในปัจจุบันทุกคนต่างหันมาให้ความสนใจและลงทุนพัฒนาโครงการวิลล่าขายเช่นเดียวกัน"

         นายพัทธนันท์ พิสุทธิ์วิมล กรรมการ บริษัท ชาโต้ ภูเก็ต จำกัดอดีตนายกอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต กล่าวว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดอสังหาฯในจังหวัดภูเก็ต ถ้าเทียบช่วงเดียวกันระหว่างปี 66 กับ ปี 67 ในช่วงครึ่งปีแรกมีการเติบโตอย่างเห็นได้ชัดโดยเฉพาะในตลาดระดับล่าง หลังจากฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 หากธุรกิจโรงแรมก็กลับมาฟื้นตัวและเปิดให้บริการเพิ่มขึ้น ทำให้กลุ่มแรงงานที่เข้ามาในตลาดภูเก็ตใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะเจน Y เจน z ส่งผลให้ดีมานด์ที่อยู่อาศัยในตลาดภูเก็ตขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
 
         อย่างไรก็ตามปัญหาการปฏิเสธสินเชื่อยังคงเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแต่อัตราการปฏิเสธสินเชื่อในจังหวัดภูเก็ตอาจจะต่ำกว่าในพื้นที่ตลาดจังหวัดอื่นๆ

         ขณะที่กลุ่มที่อยู่อาศัยในตลาดระดับบนเช่นบ้านหรูหราตลาดรักเชอรี่ตลาดวิลล่า ระดับราคา 60 ล้านบาทขึ้นไป มีอัตราการขยายตัว ที่ดีมาก โดยมีผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางที่มาจากกรุงเทพฯ และ ผู้ประกอบการต่างประเทศ ที่มีการลงทุนแบบจอยเวนเจอร์ส ผู้ประกอบการในพื้นที่ที่เข้ามาลงทุนในตลาดวิลล่าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้โดยรวมแล้วตลาดอสังหาฯในภูเก็ตถือว่ามีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับในช่วงปลายปีที่แล้วแต่มีการชะลอตัวในช่วงไตรมาสที่ 3 เล็กน้อยทำให้การขยายตัวอาจจะไม่มากเท่ากับปีที่ผ่านมา

         "การชะลอตัวในช่วงไตรมาสที่สามนี้เป็นผลมาจากการกลับเข้าสู่ภาวะปกติของตลาดเนื่องจากความกังวลต่างๆของกลุ่มลูกค้าคลายตัวลงเช่นภาวะสงครามรัสเซียยูเครนและตะวันออกกลางทำให้การตัดสินใจซื้อจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศไทยชะลอตัวลง ขณะที่กลุ่มลูกค้าต่างชาติเช่นรัสเซีย บางส่วน เริ่มทยอยเดินทางกลับประเทศของตัวเอง ประกอบกับในช่วงไตรมาสสามเป็นโลว์ซีซันของการท่องเที่ยวภูเก็ตทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลง"