5 ประเด็นหลักต้องรู้ขายห้องชุดให้ต่างชาติ
วันที่ : 7 กันยายน 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ระบุว่า พื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ของชาวต่างชาติทั่วประเทศในปัจจุบันยังอยู่เพียง 21.13% เท่านั้นจึงมีช่องว่างและโอกาสในการขยายการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ จาก ชาวต่างชาติ ทดแทนกับกำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง
"แอล ดับเบิลยูเอสฯ" ระบุ 5 ประเด็นหลัก ผู้ประกอบการ ต้องให้ความสำคัญขายห้องชุดให้ชาวต่างชาติ หลังรัฐบาล เปิดโอกาสต่างชาติ ถือครองอาคารชุดเพิ่ม
นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล โดยเฉพาะประเด็นที่จะเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ สามารถถือครองทรัพย์สินประเภทอาคารชุดพักอาศัยได้เพิ่มขึ้นจาก 49% เป็น 75% ของพื้นที่อาคารชุด ทั้งหมด โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของนิติบุคคลอาคารชุด เช่นการจำกัด สิทธิการออกเสียงของคนต่างด้าวและนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้เข้ามาถือกรรมสิทธิ์ในภายหลังจากที่เกินอัตราส่วน 49%
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท วิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในเครือ บริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพื่อที่จะไม่กระทบกับผู้ถือกรรมสิทธิของคนไทย เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มกำลังซื้อที่อยู่อาศัยภายในประเทศ หลังจากกำลังซื้อภายในประเทศชะลอตัวลง
จากข้อมูล ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระบุว่าพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ของชาวต่างชาติทั่วประเทศในปัจจุบันยังอยู่เพียง 21.13% เท่านั้นจึงมีช่องว่างและโอกาสในการขยายการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ จาก ชาวต่างชาติ ทดแทนกับกำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง โดยมี 5 ประเด็นหลักที่ต้องให้ความสำคัญได้แก่
1. ข้อจำกัดในการถือครอง วัตถุประสงค์เพื่อรักษาสัดส่วนการถือครองอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศให้อยู่ในมือของคนไทยส่วนใหญ่
2. แหล่งที่มาของเงินทุน คนต่างด้าวต้องใช้เงินทุนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศในการซื้ออาคารชุด และเงินดังกล่าวจะต้องถูก แปลงเป็นเงินบาทผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยสถาบันการเงินต้องออกหนังสือรับรอง
3. ภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ การโอนกรรมสิทธิ์จะต้องดำเนินการที่สำนักงานที่ดินซึ่งต้องมีเอกสารครบถ้วน ได้แก่หนังสือเดินทาง ของคนต่างด้าว, หนังสือรับรองการนำเงินเข้าประเทศ, สัญญาซื้อขาย ฯลฯ
4. การขอใบรับรองการถือครอง คนต่างด้าวจำเป็นต้องขอใบรับรองการถือครองจากสำนักงานที่ดิน
5. กฎหมายและข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 นอกจากพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ที่กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือครองอาคารชุดโดย คนต่างด้าวแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542แม้ว่าอาคารชุดไม่ถือเป็น ธุรกิจที่ถูกควบคุมโดยตรงภายใต้กฎหมายนี้ แต่ในบางกรณี ที่คนต่างด้าวเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ในไทย กฎหมายนี้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจเพื่อป้องกันไม่ให้คนต่าง ด้าวเข้ามาครอบครองทรัพย์สินในประเทศอย่างไม่เป็นธรรม
นโยบายกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล โดยเฉพาะประเด็นที่จะเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติ สามารถถือครองทรัพย์สินประเภทอาคารชุดพักอาศัยได้เพิ่มขึ้นจาก 49% เป็น 75% ของพื้นที่อาคารชุด ทั้งหมด โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของนิติบุคคลอาคารชุด เช่นการจำกัด สิทธิการออกเสียงของคนต่างด้าวและนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้เข้ามาถือกรรมสิทธิ์ในภายหลังจากที่เกินอัตราส่วน 49%
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท วิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ในเครือ บริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เพื่อที่จะไม่กระทบกับผู้ถือกรรมสิทธิของคนไทย เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มกำลังซื้อที่อยู่อาศัยภายในประเทศ หลังจากกำลังซื้อภายในประเทศชะลอตัวลง
จากข้อมูล ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระบุว่าพื้นที่การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ของชาวต่างชาติทั่วประเทศในปัจจุบันยังอยู่เพียง 21.13% เท่านั้นจึงมีช่องว่างและโอกาสในการขยายการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ จาก ชาวต่างชาติ ทดแทนกับกำลังซื้อภายในประเทศที่ลดลง โดยมี 5 ประเด็นหลักที่ต้องให้ความสำคัญได้แก่
1. ข้อจำกัดในการถือครอง วัตถุประสงค์เพื่อรักษาสัดส่วนการถือครองอสังหาริมทรัพย์ภายในประเทศให้อยู่ในมือของคนไทยส่วนใหญ่
2. แหล่งที่มาของเงินทุน คนต่างด้าวต้องใช้เงินทุนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศในการซื้ออาคารชุด และเงินดังกล่าวจะต้องถูก แปลงเป็นเงินบาทผ่านธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยสถาบันการเงินต้องออกหนังสือรับรอง
3. ภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ การโอนกรรมสิทธิ์จะต้องดำเนินการที่สำนักงานที่ดินซึ่งต้องมีเอกสารครบถ้วน ได้แก่หนังสือเดินทาง ของคนต่างด้าว, หนังสือรับรองการนำเงินเข้าประเทศ, สัญญาซื้อขาย ฯลฯ
4. การขอใบรับรองการถือครอง คนต่างด้าวจำเป็นต้องขอใบรับรองการถือครองจากสำนักงานที่ดิน
5. กฎหมายและข้อบังคับอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 นอกจากพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ที่กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือครองอาคารชุดโดย คนต่างด้าวแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวพ.ศ.2542แม้ว่าอาคารชุดไม่ถือเป็น ธุรกิจที่ถูกควบคุมโดยตรงภายใต้กฎหมายนี้ แต่ในบางกรณี ที่คนต่างด้าวเข้ามาทำธุรกิจเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ในไทย กฎหมายนี้กำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจเพื่อป้องกันไม่ให้คนต่าง ด้าวเข้ามาครอบครองทรัพย์สินในประเทศอย่างไม่เป็นธรรม
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ