ดัชนีค่าก่อสร้างQ2/67ขยับเพิ่ม1.2% ปรับขึ้นค่าแรงดันต้นทุนแรงงานพุ่ง5.5%
Loading

ดัชนีค่าก่อสร้างQ2/67 ขยับเพิ่ม1.2% ปรับขึ้นค่าแรงดันต้นทุนแรงงานพุ่ง5.5%

วันที่ : 17 กรกฎาคม 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในภาพรวมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลไตรมาส 2/2567 มีค่าดัชนีมีค่าเท่ากับ 131.6 เพิ่มขึ้น 1.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 129.7 โดยเป็นการเพิ่มติดต่อกัน 6 ไตรมาส
         
       ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยรายงานดัชนีราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐาน ไตรมาส 2 ปี 67 ราคาค่าก่อสร้างบ้านมาตรฐานยังมีทิศทางปรับขึ้นสูงต่อเนื่อง หลังพบไตรมาส 2/67 ค่าดัชนีเท่ากับ 139.1 เพิ่มขึ้น 1.2% จากไตรมาสแรก และปรับตัวขึ้น 3.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เผยประกาศปรับค่าแรงดันต้นทุนแรงงานขยับ 5.5%

       ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่อยู่ระหว่างการขายในภาพรวมในกรุงเทพฯ และปริมณฑลไตรมาส 2/2567 มีค่าดัชนีมีค่าเท่ากับ 131.6 เพิ่มขึ้น 1.5% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่มีค่าดัชนีเท่ากับ 129.7 โดยเป็นการเพิ่มติดต่อกัน 6 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 1/2566 ถึงไตรมาส 2/2567 และเมื่อเทียบไตรมาส 1/2567 พบว่า ดัชนีราคาบ้านจัดสรรมีการเพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าราคาบ้านจัดสรรไตรมาส 2/2567 ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และในช่วงไตรมาสก่อนหน้า

         โดยดัชนีราคาบ้านจัดสรรใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลัก ๆ มาจาก ต้นทุนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจากปัจจัยหลายประการ เช่น ราคาที่ดิน ค่าวัสดุก่อสร้าง และค่าแรงงานที่เพิ่มขึ้นล้วนมีผลโดยตรงต่อต้นทุนการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ส่งผลให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ออกมาสู่ตลาดที่เปิดตัวโครงการในปี 2565–2566 มีราคาเสนอขายเพิ่มขึ้นตามต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อกระตุ้นยอดขายของบ้านจัดสรร พบว่าในไตรมาสนี้ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการใช้กลยุทธ์โปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดขายโดยการให้ของแถมมากที่สุดถึง 42.3% โดยมีให้ของแถม ได้แก่ ฟรีแอร์ ปั๊มน้ำ แท็งก์น้ำ มิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า ปูพื้นหญ้า รองลงมาเป็นการช่วยค่าใช้จ่าย ณ วันโอน 41% เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ซื้อ

         ทั้งนี้ เมื่อจำแนกดัชนีราคาบ้านจัดสรรตามพื้นที่ พบว่า กรุงเทพฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 129.3 เพิ่มขึ้น 1.1% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.8% จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่ 3 จังหวัดปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี และ สมุทรปราการ) มีค่าดัชนีเท่ากับ 132.1 เพิ่มขึ้น 1.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน  แต่ลดลง 1.4% จากไตรมาสก่อนหน้า

         ส่วนดัชนีราคาบ้านเดี่ยวที่อยู่ระหว่างการขายในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ไตรมาส 2/2567 มีค่าดัชนี 131.7 เพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกัน 8 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3/2565 ถึงไตรมาส 2/2567 แต่ลดลง 0.2% จากไตรมาสก่อน ขณะที่กรุงเทพฯ มีค่าดัชนี 126.9 เพิ่มขึ้น 0.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.2% จากไตรมาสก่อน นอกจากนี้ ในการกระตุ้นยอดขายบ้านเดี่ยวในไตรมาส 2/2567 พบว่า บ้านเดี่ยวที่ลดราคาส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวที่มีราคาแพงอยู่ในระดับราคามากกว่า 10 ล้านบาทขึ้นไป และเพื่อเป็นการกระตุ้นตลาดและเร่งระบายสต๊อก โดยในไตรมาส 2/2567 มีการลดราคาลงจากไตรมาสก่อนหน้า ส่วนใหญ่อยู่ในโซนมีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง  รองลงมาในโซนลาดพร้าว-บางกะปิ-วังทองหลาง-บึงกุ่ม-สะพานสูง-คันนายาว และโซนพระโขนง-บางนา-สวนหลวง-ประเวศ

         ส่วน 3 จังหวัดปริมณฑล (นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ) มีค่าดัชนีเท่ากับ 133.9 เพิ่มขึ้น 2.9% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แต่ลดลง 0.4% จากไตรมาสก่อน ทั้งนี้ ได้พบการเปลี่ยนแปลงของราคาบ้านเดี่ยวที่มีการปรับตัวขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องกันถึง 9 ไตรมาสตั้งแต่ไตรมาส 2/2565 ถึงไตรมาส 2/2567 โดยเป็นผลมาจากโครงการที่เปิดตัวใหม่ในปี 2565-2566 ที่มีต้นทุนที่สูงขึ้นจากราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า โซนที่ปรับราคาเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ โซนลำลูกกา-คลองหลวง-ธัญบุรี-หนองเสือ ในระดับราคา 3.01–5 ล้านบาท รองลงมาในโซนบางพลี-บางบ่อ-บางเสาธง ในระดับราคา 5.01–7.50 ล้านบาท และโซนบางกรวย-บางใหญ่-บางบัวทอง-ไทรน้อย ในระดับราคา 5.01-7.50 ล้านบาท
 
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ