ตลาดคอนโดฯหรูไทยซึม เมียนมาปราบผู้ซื้อในต่างแดน
Loading

ตลาดคอนโดฯหรูไทยซึม เมียนมาปราบผู้ซื้อในต่างแดน

วันที่ : 12 มิถุนายน 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ระบุว่า ชาวเมียนมาก้าวขึ้นมาติด 1 ใน 10 อันดับ ชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดมิเนียมมากที่สุด ในไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2565 หรือ 1 ปีถัดจาก การรัฐประหารในเมียนมา
    รัฐบาลทหารเมียนมา ซึ่งจับกุมชาวเมียนมาที่มาซื้อและผู้ขายคอนโดมิเนียมในไทย เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายปราบปรามการนำเงินออกนอกประเทศ และจับกุมผู้ค้าในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา-ตลาดทองคำ ในฐานะที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนและราคาทองคำไม่มีเสถียรภาพกำลังสร้างผลกระทบโดยตรงแก่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทย โดยลูกค้าชาวเมียนมาเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่สุด อันดับสองรองจากลูกค้าชาวจีน ที่นิยมเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทย

   สำนักข่าวอิระวดีของเมียนมารายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 4 ราย และกำลังติดตามอีก 1 ราย จากทั้งหมด 5 รายที่ถูกตั้งข้อหาเกี่ยวกับการซื้อขายคอนโดฯไทยอย่างผิดกฎหมาย โดยผู้ต้องหา 2 คน เป็นผู้บริหารบริษัทมินตู (Min Thu Co.) นายหน้าซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจัดงานมหกรรมซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ในย่างกุ้ง 2 ครั้งโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง และทั้งสองคนโอนเงินค่าคอนโดฯ จากผู้ซื้อในเมียนมามาประเทศไทย ผ่านช่องทางที่ผิดกฎหมาย

   1 ใน 2 คนนี้ถูกจับกุมแล้ว ขณะที่ อีก 1 คนหลบหนีการจับกุม ส่วนอีก 3 ราย ถูกจับกุมเนื่องจากเป็นผู้ซื้อคอนโดฯ ในประเทศไทยจากบริษัทดังกล่าว และพวกเขาเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางเมียนมา ทั้งยังมีการโอนเงินค่าคอนโดฯ ผ่านบัญชีดังกล่าว

   ชาวเมียนมาทั้ง 5 คนยังถูกตั้งข้อหาว่า สร้างความไม่มีเสถียรภาพในตลาด แลกเปลี่ยนเงินตราเมียนมา โดยค่าเงินจ๊าต ดิ่งสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และราคาทองคำในเมียนมาพุ่งขึ้นสู่จุดสูง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

   ค่าเงินจ๊าตแตะระดับต่ำสุดที่ 5,020 จ๊าตต่อดอลลาร์ ในวันที่ 30 พ.ค. ขณะที่ ราคาทองคำ 24 กะรัตแตะจุดสูงสุดใหม่ที่ 5.8 ล้านจ๊าตต่อดอลลาร์

   ปัญหาการสู้รบระหว่างทหารเมียนมาและฝ่ายต่อต้านกลุ่มต่างๆที่ยังคงยืดเยื้อ ย่างเข้าสู่ปีที่สาม เป็นตัวผลักดันให้ ชาวเมียนมาเข้ามาซื้อคอนโดฯในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะไตรมาสแรกเพียง ไตรมาสเดียวมีมูลค่าถึง 2.2 พันล้านบาท (60 ล้านดอลลาร์) เป็นรองก็แต่ผู้ซื้อชาวจีน เท่านั้น ทำให้สัดส่วนการถือครองคอนโดฯของชาวเมียนมาในไทยเพิ่มเป็น 13.4% ในไตรมาสดังกล่าว เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว เมื่อเทียบกับ 5.4% ในปี 2566

   เมื่อคิดรวมทั้งปี 2566 มูลค่าการซื้อคอนโดฯของชาวเมียนมาในไทยอยู่ที่ 3.7 พันล้านบาท เป็นอันดับสามรองจากชาวจีนและชาวรัสเซีย

    อย่างไรก็ตาม เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินจ๊าตในตลาดมืดของเมียนมาให้อัตราสูงกว่าอัตราอ้างอิงของธนาคารกลางเมียนมา ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 2,100 จ๊าตต่อ 1 ดอลลาร์ ขณะที่ธนาคารเพื่อการ พัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี)คาดการณ์ว่า เงินเฟ้อเมียนมาจะอยู่ที่ 15.5% ในปี 2567 ขณะที่เศรษฐกิจจะขยายตัวแค่ 1.2%

    "สถานการณ์การเงินและเศรษฐกิจตอนนี้ถือว่าไม่ปลอดภัยแม้คุณจะทำตามกฎระเบียบ แล้วก็ตาม แถมอุตสาหกรรมธนาคารในเมียนมา ตอนนี้ไม่ต่างจากซอมบี้ เพราะฉะนั้น อย่างน้อย ถ้าคุณเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ในต่างแดน คุณก็จะปลอดภัย"มา แซนดาร์ ผู้บริหารด้านการตลาดชาวเมียนมา ซึ่งพำนักในประเทศไทยสองปี ให้ความเห็น

     ข้อมูลของ World Food Program แสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าบริโภคที่สำคัญ 6 รายการ ในเมียนมา ซึ่งได้แก่ ข้าว ถั่ว น้ำมันพืช หัวหอม ไข่ และ มะเขือเทศ เพิ่มขึ้น กว่า 16.6 %ในช่วงที่ผ่านมา

     ขณะเดียวกัน การผ่อนปรนมาตรการควบคุมเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศของทางการเมียนมา ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

     เมียนมาซึ่งมีประชากรประมาณ 55 ล้านคน เผชิญกับความโกลาหลทางการเมืองและเศรษฐกิจนับตั้งแต่การรัฐประหารในปี 2564 เมื่อกองทัพโค่นล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง

     เศรษฐกิจของเมียนมา ซึ่งมีความเปราะบาง อยู่เป็นทุนเดิมแล้วหลังถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารมานานหลายสิบปีและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ถดถอยลงนับตั้งแต่ที่เกิดการรัฐประหาร การลงทุนจากต่างชาติเริ่มลดจนไม่เหลือ และสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงเรื่อย ๆ จากการคว่ำบาตรของชาติตะวันต

      ขณะที่คอนโดฯในประเทศไทยที่ชาวเมียนมา เข้ามาซื้อเพราะต้องการลี้ภัยสงครามส่วนใหญ่ เป็นการซื้อเพื่ออยู่อาศัย,ซื้อและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ หรือไม่ก็ซื้อเพื่อปล่อยเช่า โดยกรุงเทพฯ เป็นจุดหมายปลายทางที่เศรษฐีชาวเมียนมานิยมเข้ามาถือครองคอนโดฯมากที่สุด ทำให้ ในปี 2566 ยอดขายคอนโดฯมีมูลค่าถึง 3.3 พันล้านบาท ตามมาด้วยคอนโดฯในจังหวัดภูเก็ต ในภาคใต้ของไทยที่มีมูลค่าการถือครองคอนโดฯ ของชาวเมียนมาที่ 121 ล้านบาท

      "กรุงเทพฯเป็นเหมือนย่างกุ้งแห่งที่สอง ที่ชาวเมียนมาแห่เข้ามาซื้อแฟลต หรือ คอนโดฯ ถือเป็นไอเดียที่ไม่เลวเลย" มา กล่าว

       บรรดานายหน้าขายคอนโดฯในกรุงเทพฯ กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลเมียนมาดำเนินการ ปราบปรามผู้ซื้อคอนโดฯในย่างกุ้ง ธุรกิจคอนโดฯ ก็ชะลอตัวลงสองสามวัน แต่ "โก ตัน" นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า การจับกุมของทางการเมียนมาเกี่ยวกับ เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผล

       ขณะที่ข้อมูลของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ระบุว่า ชาวเมียนมาก้าวขึ้นมาติด 1 ใน 10 อันดับ ชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดมิเนียมมากที่สุด ในไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2565 หรือ 1 ปีถัดจาก การรัฐประหารในเมียนมา

      สัดส่วนการถือครองคอนโดฯของชาวเมียนมาในไทยเพิ่มเป็น 13.4% ในไตรมาสดังกล่าว เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวเมื่อเทียบกับ 5.4% ในปี 2566