HBA ลุยตลาดรับสร้างบ้านดันปี 66 เติบโตก้าวกระโดด
Loading

HBA ลุยตลาดรับสร้างบ้านดันปี 66 เติบโตก้าวกระโดด

วันที่ : 13 ธันวาคม 2565
HBA โชว์ผลงานปี 2565 ทุบสถิติยอดจองสร้างบ้านทั่วประเทศกว่า 8 พันล้าน เปิดแผนปี 2566 ลุยขยายตลาดรับสร้างบ้านทั่วไทยแสนล้าน ดันเติบโตก้าวกระโดด เผยบ้านสร้างเองระดับ 100 ล้านมาแรง
          
          นายวรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน (HBA) เปิดเผยว่า แม้ปีนี้นับเป็นการทำงานท่ามกลางความท้าทายและความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ได้แก่ การระบาดของโควิด-19 ต้นทุนจากวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูง ต้นทุนค่าแรง รวมถึงภาพรวมเศรษฐกิจโดยรวม แต่ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดใด สมาคมสามารถสร้างการเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ จากกลยุทธ์การทำงานของสมาคมเอง และการผนึกกำลังกับพันธมิตรในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ส่งผลให้ตลาดรับสร้างบ้านรวมปี 2565 เฉพาะสมาชิกของ HBA มีมูลค่า 12,500 ล้านบาท จากการทำกิจกรรมทางการตลาดที่ช่วยสร้างยอดขาย 2 งาน ได้แก่ งานรับสร้างบ้านและวัสดุ Focus 2022 มียอดจอง 4,000 ล้านบาท งานรับสร้างบ้านและวัสดุ Expo 2022 สร้าง-เปลี่ยน-โลก ยอดจอง 4,800 ล้านบาท ขณะที่อีกปัจจัยหนึ่งมาจากการขยายตัวจากกลุ่มเรียลดีมานด์บ้านระดับ 100-200 ล้านบาทขึ้นไป หันมาสร้างบ้านกันมากขึ้น

          สำหรับปี 2566 HBA วางแผนเชิงรุกขยายจำนวนสมาชิกสมาคมในต่างจังหวัดมากขึ้นทั่วประเทศ ตลาดรับสร้างบ้านในพื้นที่ต่างจังหวัดมีความน่าสนใจ ด้วยมูลค่าที่สูงกว่า 1 แสนล้านบาท มีขนาดใหญ่มากกว่าตลาดรับสร้างบ้านในกรุงเทพฯ 1 เท่าตัว ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท ประกอบกับในจังหวัดใหญ่ๆ มีประชากรกำลังซื้อสูงอยู่จำนวนมาก จึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก ส่วนแนวโน้มตลาดรับสร้างบ้านปี 2566 แม้มีปัจจัยลบดอกเบี้ยขาขึ้น ค่าเงินบาทอ่อน ค่าพลังงานสูง ดันวัสดุก่อสร้างแพง แต่โชคดีที่การท่องเที่ยวในไทยฟื้นตัว น่าจะเป็นแรงส่งทางเศรษฐกิจที่ดี ขณะที่กลุ่มเรียลดีมานด์คาดว่ายังคงมีอยู่ จึงน่าจะทำให้ตลาดรับสร้างบ้านยังไปต่อได้ในปีหน้า โจทย์ใหญ่ตลาดรับสร้างบ้าน ปี 2566 คือการเผชิญปัจจัยลบรอบด้าน ตั้งแต่เศรษฐกิจหลายประเทศถดถอย เงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยในไทยปีหน้าคาดขยับตัวตามโลก ส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อบ้านระดับราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท

          ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทสร้างบ้านร่วมเป็นสมาชิกสมาคม รวม 135 บริษัท แบ่งออกเป็นบริษัทรับสร้างบ้าน 72 บริษัท และวัสดุก่อสร้าง 63 บริษัท ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด และปริมณฑล วิด-19 เนื่องจากช่วยให้คนที่ต้องการมีการซื้อบ้านสัญญาที่ 2 และ 3 สำหรับการอยู่อาศัย และการลงทุนเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น การกลับมาใช้หลักเกณฑ์ LTV เดิม ที่บังคับใช้การซื้อบ้านราคามากกว่า 10 ล้านบาท และ สัญญาที่ 2 ผู้ซื้อต้องมีเงินดาวน์ บางส่วน อาจทำให้ภาพการฟื้นตัวของอสังหาฯ ช้าออกไปอย่างน้อย 1-2 ปี เนื่องจาก ตลาดยังมีปัจจัยลบรุมเร้า ทั้งภาวะหนี้ครัวเรือนการที่สถาบันการเงินคงพิจารณาให้สินเชื่อที่เข้มงวด กดดันผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง อีกทั้ง ทิศทางดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น และเศรษฐกิจไทยยังไม่แข็งแรงเพียงพอ ทำให้กำลังซื้อยังอ่อนแอต่อเนื่อง

          ทั้งนี้ มองว่าควรผ่อนปรน LTV ต่อเพื่อเป็นแรงส่งให้ตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้นอย่างน้อยอีก 1 ปี พร้อมกับต่ออายุมาตรการกระตุ้นตลาดที่สำคัญอย่างการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ 0.01% ที่จะหมดในวันที่ 31 ธ.ค. 65 ออกไปอีก 1 ปี เพื่อเป็นจูงใจการซื้อที่อยู่อาศัยของคนไทยในปี 2566 พร้อมทั้งขยายเพดานราคา จากครอบคลุมไม่เกิน 3 ล้านบาท เป็นไม่เกิน 5 ล้านบาท ทั้งบ้านใหม่ และบ้านมือสอง

          สำหรับดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ไตรมาส 3 ปี 2565 มีค่าดัชนีเท่ากับ 93.0 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 30.4% ทั้งนี้ การปรับตัวเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีเป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย อัตราดูดซับบ้านจัดสรร และอาคารชุด ข้อมูลที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน จำนวนพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย และดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ

          คาดการณ์ว่าภาพรวมในปี 2565 ดัชนีรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ (หมวดที่อยู่อาศัย) น่าจะมีโอกาสขึ้นมาไม่ต่ำกว่าที่ 90.5 จุด หรือขยายตัว 19.6% จากปีก่อน และอาจปรับตัวสูงขึ้นได้สูงสุดถึง 99.6 จุด (กรณี Best Case) ขยายตัว 31.5% แต่หากมีการพลิกผันก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 81.5 จุด หรือ ขยายตัว 7.6% (กรณี Worst Case) ความเคลื่อนไหวด้านอุปทานมีการขยายตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2565 โดยมีการเปิดตัวโครงการใหม่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในขณะที่การขอออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงไตรมาส 3 โดยมีจำนวนสูงสุดในรอบ 10 ไตรมาส ขณะที่การขอออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโดยภาพรวมยังคงทรงตัว ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยทั่วประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย