ธุรกิจสร้างบ้านรับอานิสงส์เลี่ยงภาษี
วันที่ : 25 ตุลาคม 2565
เราเริ่มเห็นสัญญาณตั้งแต่ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางวาขึ้นไป เพราะราคาที่ดินในกรุงเทพฯค่อนข้างแพง หากนำมาสร้างบ้านอยู่อาศัยจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินแพง
ทายาทแห่สร้างใหม่บนที่ดินมรดก
ส.อสังหาฯรุกตื๊อ 'ปลดล็อกต่างชาติ'
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านเผยคนแห่นำที่ดินมรดก แลนด์แบงก์ สร้างบ้านราคา 10 ล้าน หนีภาษีแพง ดันตลาดโต 5% ด้านสมาคมอสังหาฯชงรัฐบาลปลดล็อกต่างชาติซื้อโครงการแนวราบได้ 49% ดูดกำลังซื้อ บูมเศรษฐกิจ ชี้บ้านจัดสรรอุดรธานีราคา 3-5 ล้าน ขายดี คนลาวทุ่มซื้อ
นายวรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผยว่า ผลจากการที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2565 เริ่มเก็บในอัตรา 100% และในปี 2566 จะเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าอีก 0.3% หากไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินในเวลาที่กำหนด 3 ปี ส่งผลบวกต่อธุรกิจรับสร้างบ้านในปี 2565 ต่อเนื่องถึงปี 2566 เริ่มเห็นสัญญาณเจ้าของที่ดินทั้งเป็นที่ดินมรดกและถือครองไว้นานแล้ว นำที่ดินออกมาก่อสร้างบ้านอยู่อาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ที่มียอดสั่งสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 5% จากเดิมมีสัดส่วนอยู่ที่ 30% ของตลาดบ้านสร้างเองในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล
"เราเริ่มเห็นสัญญาณตั้งแต่ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางวาขึ้นไป เพราะราคาที่ดินในกรุงเทพฯค่อนข้างแพง หากนำมาสร้างบ้านอยู่อาศัยจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินแพง" นายวรวุฒิกล่าว
นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมกำลังรวบรวมรายละเอียดเพื่อทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐบาลให้ออกมาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยขอให้ปลดล็อกให้สิทธิต่างชาติซื้อบ้านจัดสรรได้ 49% ของจำนวนยูนิตในโครงการ เหมือนกับโครงการคอนโดมิเนียมที่ซื้อได้ 49% ของพื้นที่โครงการ ทั้งนี้ หากรัฐบาลยังมีข้อกังวลจะมีผลกระทบต่อผู้ซื้อในประเทศก็กำหนดเป็นเฉพาะพื้นที่ที่ต่างชาติอาศัยอยู่จำนวนมากก็ได้ เช่น พัทยา ภูเก็ต พร้อมกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการไว้ เช่น 5 ปี นอกจากนี้ สมาคมจะขอให้ขยายระยะเวลาการเช่าที่ดินจาก 30 ปี เป็น 50 ปีด้วย
"มาตรการดังกล่าวเป็นคนละมาตรการของกระทรวงมหาดไทยที่ดึงต่างชาติกลุ่มมั่งคั่งที่ลงทุน 40 ล้านบาท ซื้อบ้านพร้อมที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ และเป็นมาตรการเพิ่มเติมจากขยายเวลาลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง และมาตรการ LTV จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่ง 3 สมาคมอสังหาฯขอให้ขยายเวลาอีก 1 ปี เพราะมองว่าการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองจะได้ผลในแง่ด้านจิตวิทยา ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อได้ระดับหนึ่ง แต่การให้ต่างชาติ สามารถซื้ออสังหาฯได้จะสร้างเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่า เพราะมีต่างชาติต้องการจะซื้อบ้านที่ไทยอยู่มาก" นายมีศักดิ์กล่าว
นายมีศักดิ์กล่าวว่า ในปัจจุบันมีต่างชาติที่ซื้อที่อยู่อาศัยในไทยในหลายรูปแบบ เช่น ตั้งบริษัทไทย หรือนิติบุคคล โดยมีคนไทยถือหุ้น 51% โดยล่าสุดเห็นปรากฏการณ์ที่ จ.อุดรธานี มีคนจาก สปป.ลาว เข้ามาซื้อโครงการบ้านจัดสรรระดับราคา 3-5 ล้านบาท เพื่ออยู่อาศัยจำนวนมาก และหากรัฐปลดล็อกให้ซื้อบ้านแนวราบได้จะเพิ่มแรงซื้อได้มากยิ่งขึ้น
ส.อสังหาฯรุกตื๊อ 'ปลดล็อกต่างชาติ'
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านเผยคนแห่นำที่ดินมรดก แลนด์แบงก์ สร้างบ้านราคา 10 ล้าน หนีภาษีแพง ดันตลาดโต 5% ด้านสมาคมอสังหาฯชงรัฐบาลปลดล็อกต่างชาติซื้อโครงการแนวราบได้ 49% ดูดกำลังซื้อ บูมเศรษฐกิจ ชี้บ้านจัดสรรอุดรธานีราคา 3-5 ล้าน ขายดี คนลาวทุ่มซื้อ
นายวรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน เปิดเผยว่า ผลจากการที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2565 เริ่มเก็บในอัตรา 100% และในปี 2566 จะเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าอีก 0.3% หากไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินในเวลาที่กำหนด 3 ปี ส่งผลบวกต่อธุรกิจรับสร้างบ้านในปี 2565 ต่อเนื่องถึงปี 2566 เริ่มเห็นสัญญาณเจ้าของที่ดินทั้งเป็นที่ดินมรดกและถือครองไว้นานแล้ว นำที่ดินออกมาก่อสร้างบ้านอยู่อาศัยมากขึ้น โดยเฉพาะบ้านราคา 10 ล้านบาทขึ้นไป ที่มียอดสั่งสร้างเพิ่มขึ้นกว่า 5% จากเดิมมีสัดส่วนอยู่ที่ 30% ของตลาดบ้านสร้างเองในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล
"เราเริ่มเห็นสัญญาณตั้งแต่ไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางวาขึ้นไป เพราะราคาที่ดินในกรุงเทพฯค่อนข้างแพง หากนำมาสร้างบ้านอยู่อาศัยจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษีที่ดินแพง" นายวรวุฒิกล่าว
นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคมกำลังรวบรวมรายละเอียดเพื่อทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐบาลให้ออกมาตรการสนับสนุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยขอให้ปลดล็อกให้สิทธิต่างชาติซื้อบ้านจัดสรรได้ 49% ของจำนวนยูนิตในโครงการ เหมือนกับโครงการคอนโดมิเนียมที่ซื้อได้ 49% ของพื้นที่โครงการ ทั้งนี้ หากรัฐบาลยังมีข้อกังวลจะมีผลกระทบต่อผู้ซื้อในประเทศก็กำหนดเป็นเฉพาะพื้นที่ที่ต่างชาติอาศัยอยู่จำนวนมากก็ได้ เช่น พัทยา ภูเก็ต พร้อมกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการไว้ เช่น 5 ปี นอกจากนี้ สมาคมจะขอให้ขยายระยะเวลาการเช่าที่ดินจาก 30 ปี เป็น 50 ปีด้วย
"มาตรการดังกล่าวเป็นคนละมาตรการของกระทรวงมหาดไทยที่ดึงต่างชาติกลุ่มมั่งคั่งที่ลงทุน 40 ล้านบาท ซื้อบ้านพร้อมที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ และเป็นมาตรการเพิ่มเติมจากขยายเวลาลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง และมาตรการ LTV จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่ง 3 สมาคมอสังหาฯขอให้ขยายเวลาอีก 1 ปี เพราะมองว่าการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองจะได้ผลในแง่ด้านจิตวิทยา ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อได้ระดับหนึ่ง แต่การให้ต่างชาติ สามารถซื้ออสังหาฯได้จะสร้างเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากกว่า เพราะมีต่างชาติต้องการจะซื้อบ้านที่ไทยอยู่มาก" นายมีศักดิ์กล่าว
นายมีศักดิ์กล่าวว่า ในปัจจุบันมีต่างชาติที่ซื้อที่อยู่อาศัยในไทยในหลายรูปแบบ เช่น ตั้งบริษัทไทย หรือนิติบุคคล โดยมีคนไทยถือหุ้น 51% โดยล่าสุดเห็นปรากฏการณ์ที่ จ.อุดรธานี มีคนจาก สปป.ลาว เข้ามาซื้อโครงการบ้านจัดสรรระดับราคา 3-5 ล้านบาท เพื่ออยู่อาศัยจำนวนมาก และหากรัฐปลดล็อกให้ซื้อบ้านแนวราบได้จะเพิ่มแรงซื้อได้มากยิ่งขึ้น
ข่าววัสดุก่อสร้าง-เฟอร์นิเจอร์ อื่นๆ