10 ปี ลงทุน 3แสนล. ดันจีดีพี 5.8%ต่อปี
วันที่ : 27 พฤษภาคม 2565
ที่ผ่านมาภาครัฐ ได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้การคมนาคม ขนส่งมีความพร้อม ทั้งในด้านทางบก ทางทะเล และทางอากาศ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จัดประชุมระดมความคิดเห็นระดับประเทศโครงการ "ศึกษาจัดทำแผนแม่บทและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่" โดย นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ชี้แจงข้อมูลแผนแม่บท กับตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการ เพื่อได้รับรู้ถึงแนวทางของรัฐบาลในการขับเคลื่อนพื้นที่เศรษฐกิจทั่วประเทศ
กางแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
"จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้ทุกประเทศทั่วโลกมีการปรับตัวและวางแผนพัฒนาประเทศให้ครอบคลุมในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ในปัจจุบัน เรื่องของการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพและโอกาสของพื้นที่นั้น มีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงหลายทศวรรษ ก็ได้มีการดำเนินการเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเอง ก็มีความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์หรือที่ตั้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถพัฒนาให้เชื่อมโยงไปยังประเทศในภูมิภาคและในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้
ที่ผ่านมาภาครัฐ ได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้การคมนาคม ขนส่งมีความพร้อม ทั้งในด้านทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ทำขึ้นมาก็จะมีส่วนสนับสนุนให้มีการขยายตัว ทั้งในด้าน การค้า การลงทุน การขนส่งและโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว รวมถึงประเทศไทยยังมีจุดเด่นในเรื่องของวัฒนธรรมที่ดี และภูมิปัญญา ที่ทรงคุณค่า มีการสืบทอดต่อกันมา อย่างยาวนาน ทำให้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ และ ช่วยเสริมสร้างเรื่องของ ซอฟต์ เพาเวอร์ ของไทยให้แพร่หลายไปสู่นานาชาติ
นอกจากนี้ ประเทศไทยก็มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ค่อนข้างมาก ในส่วนนี้ ประเทศไทยก็สามารถนำมาใช้ ในการเพิ่มมูลค่า ให้กับทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่และเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่ง ที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ ในระยะต่อไป
ดังนั้น สศช. จึงได้มีการศึกษาแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ภายใต้โครงการ "ศึกษาจัดทำแผนแม่บทและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่" ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท อินฟินิตี้ แพลน เมเนจเม้นท์ จำกัด โดยการศึกษาจัดทำแผนแม่บทในครั้งนี้ ได้มุ่งศึกษาศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ การวางยุทธศาสตร์การพัฒนา และการออกแบบฉากทัศน์เศรษฐกิจเชิงพื้นที่ของจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจ ตามจุดเด่นของแต่ละภาค ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การผลิต การจ้างงาน การบริโภคสินค้าและบริการ ในศูนย์กลางของระเบียงเศรษฐกิจที่เป็นจังหวัดหลัก และกระจายความเจริญไปยังพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจเชิงพื้นให้ฟื้นตัวภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
การดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เป็นไปเพื่อการกำหนดประเด็นการพัฒนาและแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ และเพื่อแนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ทั้งในระยะเร่งด่วน และเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และช่วงปี พ.ศ.2565-2575 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแล้ว ทำให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของแต่ละพื้นที่ และสอดประสานกับนโยบายและเป้าหมายการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้ได้แนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่เกิดความสำเร็จและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและกระจายความเจริญก้าวหน้าไปสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาในพื้นที่ภูมิภาคกับเขตเมือง และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้อีกทาง
นโยบายของทางรัฐบาลเอง ในขณะนี้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ กพศ. โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และมีสำนักงานเป็นเลขานุการ และกรรมการก็ได้จัดตั้งขึ้น ตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วนเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.2564 ซึ่งจะทำให้การทำงานมีความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เพราะว่า ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับการทำงาน และผลการศึกษาฯ จะเป็นกรอบการพัฒนาที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.)
การทำงานของคณะกรรมการ คพส. จะครอบคลุมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจำนวน 10 พื้นที่ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4 ภาค ซึ่งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ถือเป็นนโยบายที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยสร้างพื้นที่เศราฐกิจใหม่ในแต่ละภาค ซึ่งจะกลายเป็นแหล่ง จ้างงาน และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หล้งจากที่ไทยได้ประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และอีกประการหนึ่ง คือ การพัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกโฉมการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปให้บรรลุเป้าหมายได้
ขับเคลื่อน4ภาครวม16จังหวัด
ในการประชุมที่ผ่านมา กพศ. มีมติสำคัญในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของระเบียงฯ ใน 4 ภาค รวม 16 จังหวัด และได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนระเบียงฯ ทั้งในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ การพัฒนาแรงงานและสนับสนุน ผู้ประกอบการ และการวิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งได้กำหนดกลไก ที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพให้ประสานการดำเนินงานได้ ดังนั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่ เหมาะสมในการนำข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ และความเห็นจากการระดมความคิดเห็นภายใต้การศึกษาฯ มาใช้ประกอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ดังกล่าว
ดังนั้น รัฐบาล โดยสภาพัฒน์ ทำการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท อินฟินิตี้ แพลน เมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการ เริ่มตั้งแต่ปี มีนาคม 2564 เพื่อจัดทำประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ และขณะนี้ สศช.ก็กำลังจัดทำ รายงานสรุปผลการศึกษาภายในเดือนพฤษาคมนี้
สำหรับ โครงการศึกษาฯ มีการกำหนดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ไว้ 4 ภาค รวม 16 จังหวัด ประกอบด้วย
1.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC-Creative LANNA) ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน แนวทางสำหรับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ นั้น เพื่อพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักอย่างยั่งยืนโดยจะดำเนินการ พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมและบริการดั้งเดิมที่มีศักยภาพ การสร้างฐานอุตสาหกรรมและบริการใหม่ รวมไปถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ล้านนา
2.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC - Bioeconomy) ได้แก่ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น และ นครราชสีมา ทั้ง 4 จังหวัดถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคที่มีศักยภาพด้านการเกษตร เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากอ้อยและมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (โปรตีนแทนเนื้อสัตว์จากพืช และโปรตีนจากแมลง)
3.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor: CWEC) ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา ทั้ง 4 จังหวัดถือว่าเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของภาค ทั้งด้านอุตสาหกรรมเกษตร อาหารแปรรูป การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง และมีศักยภาพในการเชื่อมโยง กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ดังนั้น แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ จึงมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม งานวิจัยเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต รวมไปถึงการเพิ่มศักยภาพด้านระบบขนส่งโลจิสติกส์เพื่อให้ภาคกลาง- ตะวันตกเป็นศูนย์กลางในการขนส่งและกระจายสินค้า
4.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีบทบาทสำคัญในการเป็นจุดศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและระบบโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศในฝั่งอันดามัน (BIMSTEC) เป็นประตูการค้าสู่ช่องทางตะวันตก (Western gateway) และเป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง รวมทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ
10 ปี ลงทุน 3แสนล.ดันจีดีพี 5.8%ต่อปี
จากการคาดการณ์แนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ จะส่งผลดีต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยในระดับมหภาค การปรับโครงสร้างและการขยายตัวในแต่ละระเบียงจากศูนย์กลางระเบียงสู่พื้นที่พัฒนารอบ สำหรับโครงการทั้งหมดที่จะดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.2565-2575 ของแต่ละภาค มีการคาดการณ์ว่าจะช่วยให้เกิดการลงทุนในพื้นที่รวมประมาณ 300,000 ล้านบาท หากดำเนินการสำเร็จคาดว่าจะส่งผลให้ GDP ของประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 5.8% ต่อปี ตอบสนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มุ่งสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ และกระจายความเจริญสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยสำหรับการฟื้นตัวหลังจากที่สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงในอนาคต
กล่าวสรุปว่า ผลการศึกษาฯ จะเป็นกรอบการพัฒนาที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยในการประชุมที่ผ่านมา กพศ. ได้มีมติสำคัญในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของระเบียงฯ ใน 4 ภาค รวม 16 จังหวัด และได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนระเบียงฯ ทั้งในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ และการวิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งได้กำหนดกลไกที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพให้ประสานการดำเนินงานได้ ดังนั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ และความเห็นจากการระดมความคิดเห็นภายใต้การศึกษาฯ มาใช้ประกอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว
กางแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่
"จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้ทุกประเทศทั่วโลกมีการปรับตัวและวางแผนพัฒนาประเทศให้ครอบคลุมในทุกๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ในปัจจุบัน เรื่องของการพัฒนาพื้นที่โดยใช้ประโยชน์จากศักยภาพและโอกาสของพื้นที่นั้น มีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในช่วงหลายทศวรรษ ก็ได้มีการดำเนินการเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยเอง ก็มีความได้เปรียบในด้านภูมิศาสตร์หรือที่ตั้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสามารถพัฒนาให้เชื่อมโยงไปยังประเทศในภูมิภาคและในภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้
ที่ผ่านมาภาครัฐ ได้ลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทำให้การคมนาคม ขนส่งมีความพร้อม ทั้งในด้านทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานที่ทำขึ้นมาก็จะมีส่วนสนับสนุนให้มีการขยายตัว ทั้งในด้าน การค้า การลงทุน การขนส่งและโลจิสติกส์ และการท่องเที่ยว รวมถึงประเทศไทยยังมีจุดเด่นในเรื่องของวัฒนธรรมที่ดี และภูมิปัญญา ที่ทรงคุณค่า มีการสืบทอดต่อกันมา อย่างยาวนาน ทำให้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับประเทศ และ ช่วยเสริมสร้างเรื่องของ ซอฟต์ เพาเวอร์ ของไทยให้แพร่หลายไปสู่นานาชาติ
นอกจากนี้ ประเทศไทยก็มีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพอยู่ค่อนข้างมาก ในส่วนนี้ ประเทศไทยก็สามารถนำมาใช้ ในการเพิ่มมูลค่า ให้กับทั้งระบบห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่และเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่ง ที่ใช้ในการพัฒนาประเทศ ในระยะต่อไป
ดังนั้น สศช. จึงได้มีการศึกษาแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ภายใต้โครงการ "ศึกษาจัดทำแผนแม่บทและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่" ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท อินฟินิตี้ แพลน เมเนจเม้นท์ จำกัด โดยการศึกษาจัดทำแผนแม่บทในครั้งนี้ ได้มุ่งศึกษาศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ การวางยุทธศาสตร์การพัฒนา และการออกแบบฉากทัศน์เศรษฐกิจเชิงพื้นที่ของจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจ ตามจุดเด่นของแต่ละภาค ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การผลิต การจ้างงาน การบริโภคสินค้าและบริการ ในศูนย์กลางของระเบียงเศรษฐกิจที่เป็นจังหวัดหลัก และกระจายความเจริญไปยังพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจเชิงพื้นให้ฟื้นตัวภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
การดำเนินโครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เป็นไปเพื่อการกำหนดประเด็นการพัฒนาและแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ และเพื่อแนวทางการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ทั้งในระยะเร่งด่วน และเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และช่วงปี พ.ศ.2565-2575 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบแล้ว ทำให้เกิดการส่งเสริมและพัฒนาให้สอดคล้องกับศักยภาพและโอกาสของแต่ละพื้นที่ และสอดประสานกับนโยบายและเป้าหมายการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้ได้แนวทางการขับเคลื่อนและพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่เกิดความสำเร็จและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและกระจายความเจริญก้าวหน้าไปสู่ภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาในพื้นที่ภูมิภาคกับเขตเมือง และช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยได้อีกทาง
นโยบายของทางรัฐบาลเอง ในขณะนี้มีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ กพศ. โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และมีสำนักงานเป็นเลขานุการ และกรรมการก็ได้จัดตั้งขึ้น ตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วนเรื่อง เขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ.2564 ซึ่งจะทำให้การทำงานมีความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เพราะว่า ระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีรองรับการทำงาน และผลการศึกษาฯ จะเป็นกรอบการพัฒนาที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.)
การทำงานของคณะกรรมการ คพส. จะครอบคลุมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจำนวน 10 พื้นที่ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษใน 4 ภาค ซึ่งการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ถือเป็นนโยบายที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยสร้างพื้นที่เศราฐกิจใหม่ในแต่ละภาค ซึ่งจะกลายเป็นแหล่ง จ้างงาน และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หล้งจากที่ไทยได้ประสบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และอีกประการหนึ่ง คือ การพัฒนาพื้นที่ โดยเฉพาะการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการพลิกโฉมการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปให้บรรลุเป้าหมายได้
ขับเคลื่อน4ภาครวม16จังหวัด
ในการประชุมที่ผ่านมา กพศ. มีมติสำคัญในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของระเบียงฯ ใน 4 ภาค รวม 16 จังหวัด และได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนระเบียงฯ ทั้งในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ การพัฒนาแรงงานและสนับสนุน ผู้ประกอบการ และการวิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งได้กำหนดกลไก ที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพให้ประสานการดำเนินงานได้ ดังนั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่ เหมาะสมในการนำข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ และความเห็นจากการระดมความคิดเห็นภายใต้การศึกษาฯ มาใช้ประกอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ดังกล่าว
ดังนั้น รัฐบาล โดยสภาพัฒน์ ทำการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และบริษัท อินฟินิตี้ แพลน เมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาโครงการ เริ่มตั้งแต่ปี มีนาคม 2564 เพื่อจัดทำประเด็นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ และขณะนี้ สศช.ก็กำลังจัดทำ รายงานสรุปผลการศึกษาภายในเดือนพฤษาคมนี้
สำหรับ โครงการศึกษาฯ มีการกำหนดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ไว้ 4 ภาค รวม 16 จังหวัด ประกอบด้วย
1.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC-Creative LANNA) ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน แนวทางสำหรับการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ภาคเหนือ นั้น เพื่อพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักอย่างยั่งยืนโดยจะดำเนินการ พัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมและบริการดั้งเดิมที่มีศักยภาพ การสร้างฐานอุตสาหกรรมและบริการใหม่ รวมไปถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ล้านนา
2.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC - Bioeconomy) ได้แก่ หนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น และ นครราชสีมา ทั้ง 4 จังหวัดถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคที่มีศักยภาพด้านการเกษตร เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากอ้อยและมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (โปรตีนแทนเนื้อสัตว์จากพืช และโปรตีนจากแมลง)
3.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor: CWEC) ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา ทั้ง 4 จังหวัดถือว่าเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของภาค ทั้งด้านอุตสาหกรรมเกษตร อาหารแปรรูป การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง และมีศักยภาพในการเชื่อมโยง กับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ดังนั้น แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ จึงมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม งานวิจัยเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต รวมไปถึงการเพิ่มศักยภาพด้านระบบขนส่งโลจิสติกส์เพื่อให้ภาคกลาง- ตะวันตกเป็นศูนย์กลางในการขนส่งและกระจายสินค้า
4.ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช มีบทบาทสำคัญในการเป็นจุดศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและระบบโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศในฝั่งอันดามัน (BIMSTEC) เป็นประตูการค้าสู่ช่องทางตะวันตก (Western gateway) และเป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง รวมทั้งเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ
10 ปี ลงทุน 3แสนล.ดันจีดีพี 5.8%ต่อปี
จากการคาดการณ์แนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ จะส่งผลดีต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยในระดับมหภาค การปรับโครงสร้างและการขยายตัวในแต่ละระเบียงจากศูนย์กลางระเบียงสู่พื้นที่พัฒนารอบ สำหรับโครงการทั้งหมดที่จะดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.2565-2575 ของแต่ละภาค มีการคาดการณ์ว่าจะช่วยให้เกิดการลงทุนในพื้นที่รวมประมาณ 300,000 ล้านบาท หากดำเนินการสำเร็จคาดว่าจะส่งผลให้ GDP ของประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 5.8% ต่อปี ตอบสนองนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ มุ่งสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการและประชาชนในพื้นที่ และกระจายความเจริญสู่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยสำหรับการฟื้นตัวหลังจากที่สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงในอนาคต
กล่าวสรุปว่า ผลการศึกษาฯ จะเป็นกรอบการพัฒนาที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยในการประชุมที่ผ่านมา กพศ. ได้มีมติสำคัญในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของระเบียงฯ ใน 4 ภาค รวม 16 จังหวัด และได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนระเบียงฯ ทั้งในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาห่วงโซ่การผลิตและบริการ การพัฒนาแรงงานและสนับสนุนผู้ประกอบการ และการวิจัยและพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งได้กำหนดกลไกที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานทั้งในส่วนกลางและในระดับพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพให้ประสานการดำเนินงานได้ ดังนั้น จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำข้อมูลและข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ และความเห็นจากการระดมความคิดเห็นภายใต้การศึกษาฯ มาใช้ประกอบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษดังกล่าว
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ