ผ่าบิ๊กโปรเจ็กต์คมนาคม1ล้านล.ลงทุน4มิติเร่งเมืองการบินบูมEEC
วันที่ : 5 กุมภาพันธ์ 2565
แผนลงทุนภาครัฐ การทำงานแบ่งความรับผิดชอบแต่ละหน่วยงานนั้นดีแล้ว แต่ถ้าหน่วยงานทำเองไม่ไหวหรือ มีข้อจำกัดจริง ๆ ให้พิจารณาหน่วยงานอื่น ในกระทรวงที่เขาสามารถทำได้
ผ่างบปี'65 บิ๊กโปรเจ็กต์เร่งด่วนกระทรวงคมนาคม "ศักดิ์สยาม" โยกงานกรมทางหลวง 4 โครงการให้การทางพิเศษฯ ใช้แหล่งเงินผ่านกองทุนอินฟราสตรักเจอร์ (TFF) ดันเผนลงทุนใหม่ปีเสือพุ่งเกิน 1 ล้านล้านบาท พร้อมเร่งลงทุน 4 มิติ "บก-ราง-น้ำ-อากาศ" อัพเกรดสนามบินในประเทศ 29 แห่ง เป็นสนามบินนานาชาติ เร่งรถไฟเชื่อมสามสนามบิน-เมืองการบินบูม EEC
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มูลค่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการสำคัญในปี 2565 มีเม็ดเงินรวม 1.4 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นโครงการที่ลงนามสัญญาแล้ว 5.16 แสนล้านบาท และเป็นโครงการลงทุนใหม่วงเงิน 9.74 แสน ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม พบว่ามีโครงการจำเป็นเร่งด่วนที่สามารถผลักดันการลงทุนในปีนี้ จากเดิมเป็นแผนลงทุนของกรมทางหลวง (ทล.) กับกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ซึ่งเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ทำให้มีอุปสรรคในด้านการขอจัดสรรงบประมาณในสถานการณ์โควิด ขณะที่ มีอีกหน่วยงานคือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่สามารถระดมแหล่งเงินลงทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TFF-Thailand Future Fund) ทำให้มูลค่าโครงการลงทุนใหม่ปีนี้จากเดิม 9.74 แสนล้านบาท มีแนวโน้มเกิน 1 ล้านล้านบาท
โยก 4 บิ๊กโปรเจ็กต์ให้การทางฯ
รายละเอียด 4 โครงการขนาดใหญ่ที่เป็นแผนลงทุนที่ ทล.ศึกษาโครงการไว้ และมอบหมายให้โอนภารกิจการลงทุนมาให้ กทพ. ประกอบด้วย
1.โครงการทางด่วนกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 14,470 ล้านบาท โดยมีมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ตามแผนภายในกลางปี 2565 เริ่มเปิดประมูลร่วมทุนรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP
2.โครงการก่อสร้างทางด่วนช่วง เมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ วงเงิน 30,456 ล้านบาท ซึ่งทำให้ระบบทางด่วนในภูเก็ตครบสมบูรณ์ โดยโยกแผนงานให้ กทพ.เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
3.มอเตอร์เวย์ M7 ศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงินลงทุน 29,550 ล้านบาท
4.ทางด่วนฉลองรัช ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 21,919 ล้านบาท เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อ (junction) กับมอเตอร์เวย์ M6 บางปะอินนครราชสีมา
"แผนลงทุนภาครัฐ การทำงานแบ่งความรับผิดชอบแต่ละหน่วยงานนั้นดีแล้ว แต่ถ้าหน่วยงานทำเองไม่ไหวหรือ มีข้อจำกัดจริง ๆ ให้พิจารณาหน่วยงานอื่น ในกระทรวงที่เขาสามารถทำได้ ซึ่งกรณีโอนงานมอเตอร์เวย์ไปให้ กทพ. เรื่องนี้ ไม่ใช่เฉพาะโครงการขนาดใหญ่ แต่โครงการขนาดเล็กก็มี เช่น ตอนไปประชุม ครม.สัญจรที่กระบี่ เราไปดูโครงการสร้างสะพานกระบี่-ลันตา ลงทุนไม่เยอะ 1,600 ล้านบาท เดิม เสนอเข้าแผนงบประมาณปี 2565 แต่ถูกตัดงบฯ ผมสั่งการยกมาให้ กทพ. เมื่อสร้างเสร็จใช้วิธีเก็บค่าผ่านทาง เพราะปกติคนข้ามไปลันตาต้องเสีย ค่าแพขนานยนต์อยู่แล้ว พอไล่ดู EIRR ปรากฏว่ากำไร แค่มอเตอร์ไซค์วิ่งก็กำไรแล้ว ไม่รวมรถยนต์" นายศักดิ์สยาม กล่าว
ลงทุน 4 มิติเชื่อมขนส่งไร้รอยต่อ
สำหรับแผนลงทุนใหม่จัดระเบียบโครงการเป็น 4 มิติ ครอบคลุมโหมดการขนส่งคนและสินค้าทางบก-รางน้ำ-อากาศ มีรายละเอียดดังนี้
"มิติทางราง" มี 5 โครงการ วงเงินรวม 624,879 ล้านบาท จำนวน 12 โครงการ แบ่งเป็น รถไฟทางคู่สายใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท, เส้นทางบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 67,965 ล้านบาท
อีก 3 รถไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯปริมณฑล 3 โครงการ ได้แก่ สายสีส้มตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงิน 122,067 ล้านบาท, สายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,958 ล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท
"มิติทางถนน" มี 5 โครงการ วงเงินรวม 28,205 ล้านบาท จำนวน 12 โครงการ ได้แก่
1.มอเตอร์เวย์ M9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียนบางบัวทอง วงเงิน 56,035 ล้านบาท
2.มอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน 27,800 ล้านบาท
3.โครงข่ายเชื่อมต่อ M6 สายบางปะอิน-นครราชสีมมา กับ ทล. 32 วงเงิน 4,700 ล้านบาท
4.มอเตอร์เวย์ M7 ทางยกระดับช่วงศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงิน 29,550 ล้านบาท
5.มอเตอร์เวย์ M8 สายนครปฐม-ชะอำ ช่วงนครปฐม-ปากท่อ วงเงิน 51,760 ล้านบาท
6.ทางพิเศษขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 และ N2 วงเงิน 37,870 ล้านบาท
7.ทางพิเศษ ส่วนต่อขยายสายฉลองรัช ช่วงจตุโชติถนนวงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 21,919 ล้านบาท
8.โครงการทางพิเศษกะทู้-ป่ตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 14,470 ล้านบาท
9.โครงการทางพิเศษช่วงเมืองใหม่เกาะแก้ว-กะทู้ จ.ภูเก็ต วงเงิน 30,456 ล้านบาท
10.ถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 จ.นครพนม 1,600 ล้านบาท
11.สะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) จ.อุบลราชธานี วงเงิน 4,765 ล้านบาท
12.นโยบายแต่งแต้ม สีสันทางหลวง ส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงิน 280 ล้านบาท
"มิติทางน้ำ" จำนวน 5 โครงการ อาทิ เขื่อนป้องกันตลิ่งช่วง อ.พระนครศรีอยุธยา วงเงิน 6,115 ล้านบาท และ "มิติทางอากาศ" วงเงินลงทุนรวม 59,488 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 1.ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818 ล้านบาท 2.ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 36,829 ล้านบาท 3.ท่าอากาศยานชุมพร 3,250 ล้านบาท และ 4.ท่าอากาศยานระนอง 3,550 ล้านบาท
เคลียร์มรดกโลก รถไฟไทย-จีน
สำหรับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ที่กำลังก่อสร้างเฟสแรกช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2560 ตามแผนก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2569 มีความคืบหน้าการก่อสร้างมากกว่า 60% โดยก่อนหน้านี้ ติดปัญหาช่วงสถานีอยุธยา ซึ่งการออกแบบสถานีเดิมมีความสูง ทำให้คณะทำงานตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะไม่สามารถก่อสร้างได้เพราะอยู่ในเขตมรดกโลก
"ตั้งแต่เข้ามานั่งว่าการที่คมนาคม ผมก็พยายามไล่ถามนะว่า เขตมรดกโลกอยู่ตรงไหน มีกฎหมายข้อไหน มีระเบียบข้อใด ที่เราต้องแก้ไขบ้าง ไม่มีใครตอบผมได้สักที จนในที่สุดก็มาเจอเอง ปรากฏว่าเพิ่งมาเห็นว่า ไฮสปีดไทย-จีนไม่ได้อยู่ในเขตมรดกโลกเลย โครงการอยู่นอกเขตห่างออกมา 1.5 กิโลเมตร และไม่มีกฎหมายห้ามด้วย เพราะฉะนั้น ปมติดขัดเรื่องมรดกโลกเพิ่งเคลียร์จบเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ที่เหลือเป็นการเดินหน้าก่อสร้างตามกำหนด"
โดยรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เตรียมเสนอขออนุมัติจากที่ประชุม ครม.ภายในกลางปี 2565 นี้ มีระยะทาง 351 กิโลเมตร วางแผนก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2571-2572
ตั้ง กก.ร่วมเชื่อมรถไฟจีน-ลาว
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า การเชื่อมต่อรถไฟจีน-ลาว ที่เปิดบริการช่วง คุนหมิง-เวียงจันทน์ เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ฝั่งไทยมีโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายที่จะมาเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งตามแผนมี 3 เฟส คือ เฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย และเฟส 3 ก่อสร้างทางข้ามรถไฟหนองคายเวียงจันทน์ ลงทุนอีก 2,000 กว่าล้านบาท
"คำว่าเฟสที่ 3 ไม่ได้หมายถึงจะต้องรอทำหลังจากเฟสที่ 2 สร้างเสร็จ แต่เราทำไปได้เลย ตอนนี้เสนอเข้า ครม. ของบฯมาสำรวจออกแบบเพราะหลักการทำสะพานเชื่อมระหว่างประเทศต้องเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่ลาวกับไทย แต่มีจีนด้วย เพราะจีนเป็นเจ้าของโครงการ วิ่งจากคุนหมิงมาเวียงจันทน์"
ประเด็นอยู่ที่มีข้อเรียกร้องจากผู้ประกอบการไทยกรณีเสียโอกาสการค้าขาย โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าจากไทยสู่ตลาดจีนผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ขณะที่ข้อเท็จจริงมีเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งทางถนนผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่หนองคาย กับขนส่งทางรถไฟจากหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งได้เตรียมความพร้อมเพิ่มขบวนรถจาก 4 ขบวน เป็น 14 ขบวน แต่เนื่องจากการใช้ระวางบรรทุกยังไม่เต็ม ทุกวันนี้จึงวิ่งบริการขนส่ง 4 ขบวนเท่าเดิม โดยเพิ่มแคร่จาก 12 แคร่ เป็น 25 แคร่เรียบร้อยแล้ว
สภาพปัญหาคือมีขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจากหนองคายไปถึงเวียงจันทน์ที่มีระวางบรรทุกเหลือ แต่ภาคเอกชนอาจไม่ได้รับทราบ ดังนั้นจึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน 6 กระทรวง เพื่อบูรณาการร่วมกันในการผลักดันขนส่งสินค้าไทยเชื่อมกับรถไฟจีน-ลาว ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุข โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน เพิ่งจัดประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
"สำหรับการประชุมครั้งที่ 2/2565 เดือนกุมภาพันธ์ ผมเสนอให้คณะทำงานประชุมผ่านระบบ zoom ร่วมกับผู้ประกอบการไทยใน 19 จังหวัดภาคอีสาน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับทราบว่า สามารถมาใช้การขนส่งได้ หลังจากนั้น จะทยอยประชุมร่วมกับเอกชนในภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป ในอนาคตถ้าหากความต้องการขนส่งเพิ่มสูงขึ้น สามารถมาหารือว่าจะเพิ่มขบวนรถไฟอย่างไร"
อัพเกรดสนามบินใน ปท. 29 แห่ง
นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงแผนยกระดับสนามบินในประเทศภายใต้การกำกับดูแลของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) จำนวน 29 แห่งทั่วประเทศด้วยว่า ในอนาคตแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ 4 มิติของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะระบบรางซึ่งจะมีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ จะมีผลกระทบต่อจำนวนการใช้บริการสนามบินในประเทศ ดังนั้น แนวทางปรับตัวจำเป็นต้องอัพเกรดเป็นสนามบิน นานาชาติ เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถบินไดเร็กต์มาได้เลย
"เบื้องต้นจะโอนย้ายสนามบิน ทย. มาให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. 3 สนามบิน เพื่ออัพเกรดเป็นสนามบินนานาชาติ ได้แก่ สนามบินกระบี่ อุดรธานี และบุรีรัมย์ โดยแนวโน้ม อนาคตที่จะเกิดขึ้น ทาง ทย.ต้องวางแผนรองรับล่วงหน้าว่าสนามบิน 29 แห่งจะต้องทำยังไง อาจปรับเป็นสนามบินอินเตอร์ หรือทำศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือศูนย์ขนถ่ายสินค้า เน่าเสียง่าย" นายศักดิ์สยามกล่าว
เร่งไฮสปีด-เมืองการบินบูม EEC
สำหรับความคืบหน้าการลงทุน โครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ EEC (เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ไฮไลต์อยู่ที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยส่งมอบพื้นที่เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างเอกชนผู้รับสัมปทานเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่ต้องเจรจากันบ้าง เช่น ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่ทำให้แผนงาน ต้องปรับเปลี่ยนไทม์ไลน์การทำงาน เป็นต้น
เรื่องที่ 2 ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟไทย-จีน ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาหาข้อยุติ เนื่องจากขั้นตอนการออกแบบทำแยกโปรเจ็กต์ ในขณะที่นโยบายใหญ่ต้องนำมารวมกัน แต่การออกแบบขนาดรางไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นปัญหาทางเทคนิค
"พื้นที่ทับซ้อนดอนเมือง-บางซื่อ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยเคยประเมินไว้ว่า ต้องลงทุนเพิ่ม 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทรับสัมปทานรถไฟฟ้าเชื่อมสามสนามบินประเมินไปอีกทางว่า ต้องลงทุนเพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท แบ่งกัน รับผิดชอบลงทุนคนละครึ่ง ระหว่างกลุ่ม ซี.พี. กับการรถไฟฯ เท่ากับการรถไฟฯต้องลงทุนเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท ซึ่งผมได้สั่งการให้ตรวจสอบ BOQ (ใบแสดงรายการปริมาณการใช้วัสดุ) เพื่อความถูกต้องแม่นยำต่อไป กำหนดการแล้วเสร็จโครงการนี้ในปี 2568 ยังคงไว้ตามเดิม"
ส่วนเมืองการบินอู่ตะเภาที่มีการลงนาม สัญญาเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา เหลือเพียงการเดินหน้าก่อสร้างให้ทันกำหนดเปิดบริการในปี 2568 ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าเชื่อมสามสนามบิน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มูลค่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นโครงการสำคัญในปี 2565 มีเม็ดเงินรวม 1.4 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นโครงการที่ลงนามสัญญาแล้ว 5.16 แสนล้านบาท และเป็นโครงการลงทุนใหม่วงเงิน 9.74 แสน ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม พบว่ามีโครงการจำเป็นเร่งด่วนที่สามารถผลักดันการลงทุนในปีนี้ จากเดิมเป็นแผนลงทุนของกรมทางหลวง (ทล.) กับกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ซึ่งเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ทำให้มีอุปสรรคในด้านการขอจัดสรรงบประมาณในสถานการณ์โควิด ขณะที่ มีอีกหน่วยงานคือ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่สามารถระดมแหล่งเงินลงทุนผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TFF-Thailand Future Fund) ทำให้มูลค่าโครงการลงทุนใหม่ปีนี้จากเดิม 9.74 แสนล้านบาท มีแนวโน้มเกิน 1 ล้านล้านบาท
โยก 4 บิ๊กโปรเจ็กต์ให้การทางฯ
รายละเอียด 4 โครงการขนาดใหญ่ที่เป็นแผนลงทุนที่ ทล.ศึกษาโครงการไว้ และมอบหมายให้โอนภารกิจการลงทุนมาให้ กทพ. ประกอบด้วย
1.โครงการทางด่วนกะทู้-ป่าตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 14,470 ล้านบาท โดยมีมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ตามแผนภายในกลางปี 2565 เริ่มเปิดประมูลร่วมทุนรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP
2.โครงการก่อสร้างทางด่วนช่วง เมืองใหม่-เกาะแก้ว-กะทู้ วงเงิน 30,456 ล้านบาท ซึ่งทำให้ระบบทางด่วนในภูเก็ตครบสมบูรณ์ โดยโยกแผนงานให้ กทพ.เป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด
3.มอเตอร์เวย์ M7 ศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงินลงทุน 29,550 ล้านบาท
4.ทางด่วนฉลองรัช ช่วงจตุโชติ-วงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 21,919 ล้านบาท เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อ (junction) กับมอเตอร์เวย์ M6 บางปะอินนครราชสีมา
"แผนลงทุนภาครัฐ การทำงานแบ่งความรับผิดชอบแต่ละหน่วยงานนั้นดีแล้ว แต่ถ้าหน่วยงานทำเองไม่ไหวหรือ มีข้อจำกัดจริง ๆ ให้พิจารณาหน่วยงานอื่น ในกระทรวงที่เขาสามารถทำได้ ซึ่งกรณีโอนงานมอเตอร์เวย์ไปให้ กทพ. เรื่องนี้ ไม่ใช่เฉพาะโครงการขนาดใหญ่ แต่โครงการขนาดเล็กก็มี เช่น ตอนไปประชุม ครม.สัญจรที่กระบี่ เราไปดูโครงการสร้างสะพานกระบี่-ลันตา ลงทุนไม่เยอะ 1,600 ล้านบาท เดิม เสนอเข้าแผนงบประมาณปี 2565 แต่ถูกตัดงบฯ ผมสั่งการยกมาให้ กทพ. เมื่อสร้างเสร็จใช้วิธีเก็บค่าผ่านทาง เพราะปกติคนข้ามไปลันตาต้องเสีย ค่าแพขนานยนต์อยู่แล้ว พอไล่ดู EIRR ปรากฏว่ากำไร แค่มอเตอร์ไซค์วิ่งก็กำไรแล้ว ไม่รวมรถยนต์" นายศักดิ์สยาม กล่าว
ลงทุน 4 มิติเชื่อมขนส่งไร้รอยต่อ
สำหรับแผนลงทุนใหม่จัดระเบียบโครงการเป็น 4 มิติ ครอบคลุมโหมดการขนส่งคนและสินค้าทางบก-รางน้ำ-อากาศ มีรายละเอียดดังนี้
"มิติทางราง" มี 5 โครงการ วงเงินรวม 624,879 ล้านบาท จำนวน 12 โครงการ แบ่งเป็น รถไฟทางคู่สายใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงรายเชียงของ วงเงิน 85,345 ล้านบาท, เส้นทางบ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 67,965 ล้านบาท
อีก 3 รถไฟฟ้าอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯปริมณฑล 3 โครงการ ได้แก่ สายสีส้มตะวันตก ศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงิน 122,067 ล้านบาท, สายสีม่วง เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 124,958 ล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน วงเงิน 224,544 ล้านบาท
"มิติทางถนน" มี 5 โครงการ วงเงินรวม 28,205 ล้านบาท จำนวน 12 โครงการ ได้แก่
1.มอเตอร์เวย์ M9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียนบางบัวทอง วงเงิน 56,035 ล้านบาท
2.มอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน 27,800 ล้านบาท
3.โครงข่ายเชื่อมต่อ M6 สายบางปะอิน-นครราชสีมมา กับ ทล. 32 วงเงิน 4,700 ล้านบาท
4.มอเตอร์เวย์ M7 ทางยกระดับช่วงศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงิน 29,550 ล้านบาท
5.มอเตอร์เวย์ M8 สายนครปฐม-ชะอำ ช่วงนครปฐม-ปากท่อ วงเงิน 51,760 ล้านบาท
6.ทางพิเศษขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N1 และ N2 วงเงิน 37,870 ล้านบาท
7.ทางพิเศษ ส่วนต่อขยายสายฉลองรัช ช่วงจตุโชติถนนวงแหวนรอบที่ 3 วงเงิน 21,919 ล้านบาท
8.โครงการทางพิเศษกะทู้-ป่ตอง จ.ภูเก็ต วงเงิน 14,470 ล้านบาท
9.โครงการทางพิเศษช่วงเมืองใหม่เกาะแก้ว-กะทู้ จ.ภูเก็ต วงเงิน 30,456 ล้านบาท
10.ถนนเชื่อมศูนย์ซ่อมอากาศยาน-สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 จ.นครพนม 1,600 ล้านบาท
11.สะพานมิตรภาพไทยลาว แห่งที่ 6 (อุบลราชธานี-สาละวัน) จ.อุบลราชธานี วงเงิน 4,765 ล้านบาท
12.นโยบายแต่งแต้ม สีสันทางหลวง ส่งเสริมการท่องเที่ยว วงเงิน 280 ล้านบาท
"มิติทางน้ำ" จำนวน 5 โครงการ อาทิ เขื่อนป้องกันตลิ่งช่วง อ.พระนครศรีอยุธยา วงเงิน 6,115 ล้านบาท และ "มิติทางอากาศ" วงเงินลงทุนรวม 59,488 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 1.ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,818 ล้านบาท 2.ท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 36,829 ล้านบาท 3.ท่าอากาศยานชุมพร 3,250 ล้านบาท และ 4.ท่าอากาศยานระนอง 3,550 ล้านบาท
เคลียร์มรดกโลก รถไฟไทย-จีน
สำหรับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ที่กำลังก่อสร้างเฟสแรกช่วงกรุงเทพฯนครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2560 ตามแผนก่อสร้างแล้วเสร็จปี 2569 มีความคืบหน้าการก่อสร้างมากกว่า 60% โดยก่อนหน้านี้ ติดปัญหาช่วงสถานีอยุธยา ซึ่งการออกแบบสถานีเดิมมีความสูง ทำให้คณะทำงานตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะไม่สามารถก่อสร้างได้เพราะอยู่ในเขตมรดกโลก
"ตั้งแต่เข้ามานั่งว่าการที่คมนาคม ผมก็พยายามไล่ถามนะว่า เขตมรดกโลกอยู่ตรงไหน มีกฎหมายข้อไหน มีระเบียบข้อใด ที่เราต้องแก้ไขบ้าง ไม่มีใครตอบผมได้สักที จนในที่สุดก็มาเจอเอง ปรากฏว่าเพิ่งมาเห็นว่า ไฮสปีดไทย-จีนไม่ได้อยู่ในเขตมรดกโลกเลย โครงการอยู่นอกเขตห่างออกมา 1.5 กิโลเมตร และไม่มีกฎหมายห้ามด้วย เพราะฉะนั้น ปมติดขัดเรื่องมรดกโลกเพิ่งเคลียร์จบเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ที่เหลือเป็นการเดินหน้าก่อสร้างตามกำหนด"
โดยรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เตรียมเสนอขออนุมัติจากที่ประชุม ครม.ภายในกลางปี 2565 นี้ มีระยะทาง 351 กิโลเมตร วางแผนก่อสร้างแล้วเสร็จ ปี 2571-2572
ตั้ง กก.ร่วมเชื่อมรถไฟจีน-ลาว
นายศักดิ์สยามกล่าวว่า การเชื่อมต่อรถไฟจีน-ลาว ที่เปิดบริการช่วง คุนหมิง-เวียงจันทน์ เมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา ฝั่งไทยมีโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคายที่จะมาเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ซึ่งตามแผนมี 3 เฟส คือ เฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา, เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย และเฟส 3 ก่อสร้างทางข้ามรถไฟหนองคายเวียงจันทน์ ลงทุนอีก 2,000 กว่าล้านบาท
"คำว่าเฟสที่ 3 ไม่ได้หมายถึงจะต้องรอทำหลังจากเฟสที่ 2 สร้างเสร็จ แต่เราทำไปได้เลย ตอนนี้เสนอเข้า ครม. ของบฯมาสำรวจออกแบบเพราะหลักการทำสะพานเชื่อมระหว่างประเทศต้องเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่ลาวกับไทย แต่มีจีนด้วย เพราะจีนเป็นเจ้าของโครงการ วิ่งจากคุนหมิงมาเวียงจันทน์"
ประเด็นอยู่ที่มีข้อเรียกร้องจากผู้ประกอบการไทยกรณีเสียโอกาสการค้าขาย โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าจากไทยสู่ตลาดจีนผ่านเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ขณะที่ข้อเท็จจริงมีเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งทางถนนผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ที่หนองคาย กับขนส่งทางรถไฟจากหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งได้เตรียมความพร้อมเพิ่มขบวนรถจาก 4 ขบวน เป็น 14 ขบวน แต่เนื่องจากการใช้ระวางบรรทุกยังไม่เต็ม ทุกวันนี้จึงวิ่งบริการขนส่ง 4 ขบวนเท่าเดิม โดยเพิ่มแคร่จาก 12 แคร่ เป็น 25 แคร่เรียบร้อยแล้ว
สภาพปัญหาคือมีขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจากหนองคายไปถึงเวียงจันทน์ที่มีระวางบรรทุกเหลือ แต่ภาคเอกชนอาจไม่ได้รับทราบ ดังนั้นจึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน 6 กระทรวง เพื่อบูรณาการร่วมกันในการผลักดันขนส่งสินค้าไทยเชื่อมกับรถไฟจีน-ลาว ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง และกระทรวงสาธารณสุข โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข เป็นประธาน เพิ่งจัดประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
"สำหรับการประชุมครั้งที่ 2/2565 เดือนกุมภาพันธ์ ผมเสนอให้คณะทำงานประชุมผ่านระบบ zoom ร่วมกับผู้ประกอบการไทยใน 19 จังหวัดภาคอีสาน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้รับทราบว่า สามารถมาใช้การขนส่งได้ หลังจากนั้น จะทยอยประชุมร่วมกับเอกชนในภูมิภาคอื่น ๆ ต่อไป ในอนาคตถ้าหากความต้องการขนส่งเพิ่มสูงขึ้น สามารถมาหารือว่าจะเพิ่มขบวนรถไฟอย่างไร"
อัพเกรดสนามบินใน ปท. 29 แห่ง
นายศักดิ์สยาม กล่าวถึงแผนยกระดับสนามบินในประเทศภายใต้การกำกับดูแลของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) จำนวน 29 แห่งทั่วประเทศด้วยว่า ในอนาคตแผนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ 4 มิติของกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะระบบรางซึ่งจะมีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ จะมีผลกระทบต่อจำนวนการใช้บริการสนามบินในประเทศ ดังนั้น แนวทางปรับตัวจำเป็นต้องอัพเกรดเป็นสนามบิน นานาชาติ เพื่อให้ผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวสามารถบินไดเร็กต์มาได้เลย
"เบื้องต้นจะโอนย้ายสนามบิน ทย. มาให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย หรือ ทอท. 3 สนามบิน เพื่ออัพเกรดเป็นสนามบินนานาชาติ ได้แก่ สนามบินกระบี่ อุดรธานี และบุรีรัมย์ โดยแนวโน้ม อนาคตที่จะเกิดขึ้น ทาง ทย.ต้องวางแผนรองรับล่วงหน้าว่าสนามบิน 29 แห่งจะต้องทำยังไง อาจปรับเป็นสนามบินอินเตอร์ หรือทำศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน หรือศูนย์ขนถ่ายสินค้า เน่าเสียง่าย" นายศักดิ์สยามกล่าว
เร่งไฮสปีด-เมืองการบินบูม EEC
สำหรับความคืบหน้าการลงทุน โครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ EEC (เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก) นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ไฮไลต์อยู่ที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน โดยส่งมอบพื้นที่เสร็จแล้ว อยู่ระหว่างเอกชนผู้รับสัมปทานเข้ามาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งอาจมีรายละเอียดที่ต้องเจรจากันบ้าง เช่น ผลกระทบจากสถานการณ์โควิดที่ทำให้แผนงาน ต้องปรับเปลี่ยนไทม์ไลน์การทำงาน เป็นต้น
เรื่องที่ 2 ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟไทย-จีน ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาหาข้อยุติ เนื่องจากขั้นตอนการออกแบบทำแยกโปรเจ็กต์ ในขณะที่นโยบายใหญ่ต้องนำมารวมกัน แต่การออกแบบขนาดรางไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นปัญหาทางเทคนิค
"พื้นที่ทับซ้อนดอนเมือง-บางซื่อ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทยเคยประเมินไว้ว่า ต้องลงทุนเพิ่ม 3,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทรับสัมปทานรถไฟฟ้าเชื่อมสามสนามบินประเมินไปอีกทางว่า ต้องลงทุนเพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท แบ่งกัน รับผิดชอบลงทุนคนละครึ่ง ระหว่างกลุ่ม ซี.พี. กับการรถไฟฯ เท่ากับการรถไฟฯต้องลงทุนเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท ซึ่งผมได้สั่งการให้ตรวจสอบ BOQ (ใบแสดงรายการปริมาณการใช้วัสดุ) เพื่อความถูกต้องแม่นยำต่อไป กำหนดการแล้วเสร็จโครงการนี้ในปี 2568 ยังคงไว้ตามเดิม"
ส่วนเมืองการบินอู่ตะเภาที่มีการลงนาม สัญญาเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา เหลือเพียงการเดินหน้าก่อสร้างให้ทันกำหนดเปิดบริการในปี 2568 ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าเชื่อมสามสนามบิน
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ